การปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches) เกิดขึ้นได้หลายครั้งต่อวัน โดยเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน เป็นช่วงเวลาหนึ่ง และเจ็บปวดเป็นอย่างมาก
อาการปวดนั้นเกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ สามารถเกิดขึ้นยาวนานเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน แล้วหลังจากนั้นก็จะมีช่วงที่ปวดน้อยลง ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีอาการปวดหัวเลย
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นไม่ได้พบได้ทั่วไป พบเพียงแค่ประมาณ 1 ใน 1000 คนเท่านั้น ผู้ป่วย 6 เคส จาก 10 เคสพบเป็นผู้ชาย และส่วนมากแล้วเป็นคนที่สูบบุหรี่ โดยมักจะเริ่มหลังจากอายุ 20 ปีแล้ว
การรักษาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดสำหรับอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ แต่ยา เช่น sumatriptan และการรักษาอื่น ๆ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจนสามารถช่วยลดอาการและความรุนแรงได้
การรักษานั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะลดอาการ เช่น การทำให้ระยะเวลาที่ปวดสั้นลง และลดความถี่บ่อยของการเกิด
ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น แอสไพริน หรือไอบูโปรเฟน นั้นไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการปวด เพราะว่าอาการปวดนั้นเกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็วก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์
ยาและการรักษานั้นมีเป้าหมายที่จะป้องกันการปวดหัวแบบคลัสเตอร์หรือออกฤทธิ์ไวขึ้น
การรักษาอย่างรวดเร็ว
การรักษารวดเร็วนั้นประกอบไปด้วย:
สูดออกซิเจน 100 เปอร์เซนต์: การหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปผ่านหน้ากากที่ประมาณ 7 ถึง 10 นาที อาจช่วยบรรเทาอาการได้ใน 15 นาที ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้พกถังออกซิเจนและเครื่องควบคุมอยู่ใกล้ ๆ ตัวตลอดเวลา แต่ว่าก็ยังมีอุปกรณ์เล็ก ๆ ที่สามารถหาซื้อได้ การบำบัดด้วยออกซิเจนอาจแค่ช่วยเลื่อนการเกิดอาการออกไปเท่านั้น ไม่สามารถระงับอาการได้
ซูมาทริปแทนส์ชนิดฉีด (Imitrex): ทริปแทนส์เป็นยาที่ใช้รักษาไมเกรน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านตัวรับ 5-hydroxytryptamine (5-HT) นอกจากจะรักษาไมเกรนได้แล้วนั้น มันยังสามารถบรรเทาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
ซอลมิทริบแทน (Zomig) เป็นสเปรย์พ่นจมูก แต่เห็นผลเฉพาะในผู้ป่วยบางคนเท่านั้น ปริมาณการพ่นสำหรับผู้ใหญ่คือ 6 มิลลิกรัม สามารถพ่นได้ 2 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ห่างกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือ โรคหัวใจขาดเลือด ไม่ควรใช้ยานี้
ยาไดไฮโดรเออร์โกตามีน: ยานี้ใช้บรรเทาอาการได้ผลในผู้ป่วยบางคน สามารถฉีดเข้าเส้นเลือดหรือสูดดมได้ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จำเป็นที่ต้องฉีดเข้าเส้นเลือด การสูดหายใจเข้าไปก็ได้ผลเช่นกันแต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า
ออกทริโอไทด์ (Sandostatin, Sandostatin LAR): เป็นฮอร์โมนโซมาโตสแททินในสมองที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา ใช้โดยการฉีด มันใช้ได้ผลกับการปวดหัวแบบคลัสเตอร์และปลอดภัยสำหรับใช้รักษาผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease)
การใช้ยาชาชนิดหยอดจมูก: Lidocaine (Xylocaine) ใช้ได้ผลกับการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกหากการรักาด้วยยาไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยไม่สามารถทนการใช้ยาได้ อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก มันสามารถทำการผ่าตัดได้ครั้งเดียวและเป็นการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวเพียงข้างเดียว
วิธีการผ่าตัด:
- การผ่าตัดแบบดั้งเดิม: ศัลยแพทย์จะตัดเส้นประสาทใบหน้าซึ่งอยู่ด้านหลังและรอบ ๆ ดวงตา มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อดวงตา
- การฉีดกลีเซอรอล (Glycerol injection): กลีเซอรอลจะถูกฉีดเข้าไปที่เส้นประสาทบนหน้า วึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบอื่น
การรักษาที่เป็นไปได้ในอนาคต
การรักษาแบบใหม่ ๆ กำลังถูกทดสอบ
การกระตุ้นเส้นประสาทที่ท้ายทอย (occipital nerve stimulation): อุปกรณ์เล็ก ๆ จะถูกฝังไปที่เส้นประสาทท้ายทอย มันส่งสัญญาณจากอิเล็กโทรต ซึ่งอุปกรณ์นี้คงทนและปลอดภัย
การกระตุ้นสมองส่วนลึก: คือการฝังเครื่องกระตุ้นในไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่กำหนดเวลาของการเกิดการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ การรักษาชนิดนี้จะเปลี่ยนแรงสัญญาณไฟฟ้าในสมอง
นักวิจัยบางคนมองว่าการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่สมองส่วนไฮโปทาลามัสนั้นมีแนวโน้มที่จะประสบผลสำเร็จ และการรักตุ้นสมองส่วนลึกนั้นเป็นวิธีที่ถูกเลือกใช้มากที่สุดในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น
อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าที่มากยิ่งขึ้นจะทำให้มั่นใจว่าการรักษาเหล่านี้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
การรักษาแบบป้องกัน
ผู้ป่วยที่ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ใช้ยารักษาทั้งแบบระยะสั้น และแบบระยะยาว เมื่อการกำเริบของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นจบลง ผู้ป่วยจะหยุดยาแบบระยะสั้น แต่ยังอาจต้องรับประทานยาแบบระยะยาว
หากการกำเริบของอาการนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรืออาการที่มีนั้นเกิดขึ้นยาวนานกว่า 3 สัปดาห์ แพทย์จะแนะนำการรักษาแบบป้องกัน ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาเมื่ออาการปวดหัวเริ่มขึ้น และรักษาไปจนถึงอาการปวดหัวนั้นหายไป
ยารักษาด้วยยาแบบระยะสั้น
ยานี้จะใช้ไปจนถึงเวลาที่ยารักษาแบบระยะยาวเริ่มออกฤทธิ์
ตัวอย่างเช่น
- ยาคอติคอสสเตียรอยด์: สเตียรอยด์เหล่านี้ เช่น prednisone ที่ยับยั้งการอักเสบ ออกฤทธิ์ไว เป็นยาที่ป้องกันสำหรับผู้ที่เพิ่งมีอาการ หรือผู้ที่มีอาการปวดนาน ๆ หรือ ผู้ที่ปวดเป็นช่วง ๆ
- ยาเออร์กอตามีน (Ergomar) ยานี้ทำให้เส้นเลือดในล่างกายตีบชั่วคราว ใช้ก่อนนอนโดยการอมไว้ใต้ลิ้นหรือสอดในทวารหนัก เออร์กอตามีน ไม่สามารถใช้ร่วมกับทริปแทนส์ได้ และไม้ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือใช้ในผู้ที่มีการไหลเวียนเลือดไม่ดี
- การใช้ยาชาที่เส้นประสาทท้ายทอย: การฉีดยาชาเข้าไปจะทำให้ประสาทส่วนนี้ชา ซึ่งทำให้การส่งกระแสประสาทถูกบล็อก การรักษานี้จะหยุดก็ตือเมื่อการรักษาด้วยยาระยะยาวเริ่มที่จะได้ผล
การรักษาด้วยยาแบบระยะยาว
ยารักษาแบบระยะยาวใช้รักษาในช่วงเวลาที่เกิดการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด
- ยาต้านแคลเซียม เช่น verapamil (Calan, Verelan): ยาเหล่านี้จะใช้ในช่วงที่มีการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณลง ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยานี้ในระยะยาว ผลข้างเคียงประกอบไปด้วย ท้องผูก คลื่นไส้ เหนื่อยล้า เข่าบวม ความดันโลหิตต่ำ และเวียนศีรษะ หากปริมาณยาที่ใช้เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการเฝ้าสังเกตุหัวใจเป็นประจำ
- ลิเทียม คาบอร์เนต เช่น lithium (Lithobid, Eskalith): ถูกใช้เพื่อรักษาโรคไบโพล่า และใช้ได้ผลกับโรดปวดหัวแบบคลัสเตอร์เรื้อรังด้วย ผลข้างเคียงคือ ปัสสาวะมากขึ้น ท้องเสีย และอาการสั่น ความรุนแรงของผลข้างเคียงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของยาที่ใช้ ซึ่งแพทย์สามารถเปลี่ยนได้ และยังต้องได้รับการตรวจไตเป็นประจำเพื่อดูว่าไตได้รับความเสียหายหรือไม่
- ยาต้านชัก เช่น divalproex (Depakote) และ topiramate (Topamax) ใช้ได้ผลกับการรักษาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ระยะยาวเช่นกัน
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการที่เกิดขึ้นเป็นการปวดรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีสัญญาณเตือน เป็นการปวดที่ต่อเนื่องไม่ใช่การปวดแบบตุบ ๆ เป็นการปวดเหมือนถูกแทง ร้อน และรุนแรง
บ่อยครั้งจะเริ่มที่ตา และกระจายออกไปยังส่วนอื่น ๆ ของศีรษะ หน้า คอ และไหล่ อาจปวดที่ขมับหรือแก้มร่วมด้วย เกิดขึ้นที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง
อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย:
- กระสับกระส่าย
- ตาแดง บวม ตาข้างที่ปวดมีน้ำตาออกมา
- คัดจมูกหรือมีน้ำมูกไหลในข้างที่ปวด
- สีผิวซีด
- เหงื่อออกที่หน้า
- รูม่านตาเล็กลง
- หนังตาตกในตาข้างที่ปวดตก
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์อาจทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นมากลางดึก และอาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันในตอนกลางคืน
ผู้ป่วยอาจเดินไปเดินมาระหว่างที่เกิดการปวด เพราะไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ กับที่ได้ หากพวกเขานั่งลง พวกเขาอาจโยกตัวไปข้างหน้าและข้างหลังเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
ในอการปวดแต่ละรอบสามารถเกิดขึ้นเป็นเวลาราว 15 นาที หรือหลายชั่วโมง แต่ปกติแล้วจะไม่เกิน 1 ชั่วโมง ใน 1 วันอาจเกิดการปวด 1 ถึง 3 รอบ
เมื่ออาการกำเริบแล้ว ความเจ็บปวดนั้นจะหายไป แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยมาก
สาเหตุของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เกิดจากอะไร
จากการวิจัยพบว่า ระหว่างที่อาการปวดกำเริบนั้นประสาทส่วนไฮโปทาลามัสนั้นตื่นตัวมากกว่าส่วนอื่น สมองส่วนนี้ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ความหิว และการกระหาย
อาจจะเป็นสมองส่วนนี้ที่ปล่อยสารเคมีทำให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น เกิดเลือดไหลเวียนในสมองมากกว่าเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว
เหตุผลที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่มีใครทราบ แต่แอลกอฮอล์ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน หรือการออกกำลังกายในขณะที่อากาศร้อนอาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้
วงจรที่เกิดขึ้นของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ทำให้เห็นว่ามันอาจมีความเชื่อมโยงกับนาฬิกาของร่างกาย ซึ่งอยู่ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส
นักวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์มีระดับของเมลาโทนินและคอร์ติซอลที่ไม่ปกติเมื่อเกิดการกำเริบ
นอกจากแอลกอฮอล์แล้ว การปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับอาหารชนิดอื่น ๆ และไม่เกี่ยวกับความเครียดหรือความวิตกกังวล แอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในช่วงที่ปวดหัวแบบคลัสเตอร์เท่านั้น
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์อาจเชื่อมโยงกับยาบางชนิด เช่น nitroglycerin ที่ใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจ
ในประเทศทางตอนเหนือ อาการกำเริบมีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม่ผลิ การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่รุนแรงสามารถกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่องเมื่ออาการกำเริบ บ่อยครั้งอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมีทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การรักษาโดยวิธีธรรมชาติ
เมื่อสาเหตุของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ยังไม่มีวิธีการใช้ชีวิตแบบใดที่ถูกพิสูจน์ว่าสามารถป้องกันการเกิดการปวดหัวแบบนี้ได้
วิธีข้างล่างนี้าอาจช่วยลดความเสี่ยงของการปวดหัวได้:
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: เมื่ออาการปปวดหัวเกิดขึ้น การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจช่วยลดอาการปวดหัวได้
- หลีกเลี่ยงยาบางชนิด: Nitroglycerin ชนิดสูดทำให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น และเชื่อมโยงกับการกำเริบของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายตอนอากาศร้อน: เพราะมันสามารถกระตุ้นอาการปวดหัว
- รักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่: อุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันกระตุ้นอาการปวดหัวในผู้ที่ไวต่อการปวดหัวได้
- หยุด หรือ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่: ผู้ที่ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ส่วนมากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ การหยุดบุหรี่อาจช่วยได้
- การนอนหลับให้เป็นเวลา: การปวดหัวแบบคลัสเตอร์เกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน
ในผู้ป่วยระหว่าง 10 และ 20 เปอร์เซนต์สร้างภูมิต้านทานต่อยาที่ใช้รักษาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
ยาเหล่านี้อาจช่วยได้:
- เมลาโทนินอาจช่วยรักษาอาการที่กำเริบระหว่างเวลากลางคืนได้
- Capsaicin ที่ใช้ทางจมูกอาจช่วยลดความรุนแรงและถามถี่ของการปวดหัวได้
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยต่าง ๆ ยังไม่รับรองประสิทธิภาพของยาเหล่านี้
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์อาจขัดขวางกิจวัตรประจำวันได้ และสามารถทำให้เกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้า การปรึกษาแพทย์อาจทำให้ได้วิธีการที่จะจัดการกับการปวดหัวชนิดนี้ การรักษาก็สามารถบรรเทาอาการได้ และบางครั้งก้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะตรวจหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ที่ทำให้เกิดการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cluster-headache/symptoms-causes/syc-20352080
- https://www.webmd.com/migraines-headaches/cluster-headaches
- https://www.nhs.uk/conditions/cluster-headaches/
- https://rarediseases.org/rare-diseases/cluster-headache/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก