

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) เกิดจากก้อนเนื้อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ โดยโรคสามารถพัฒนาจากก้อนเนื้อเล็ก ๆ ในลำไส้จนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ได้
อาการมะเร็งลำไส้
อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก อย่างไรก็ตามอาการของโรคนี้สามารถสังเกตุได้ชัดเจนในขณะที่เกิดเชื้อมะเร็งเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แก่
- ท้องเสียหรือท้องผูก
- อุจจาระเปลี่ยนสีและเหนี่ยวข้นขึ้น
- อุจจาระเหลวหรือร่วน
- มีเลือดปนในอุจจาระที่สามารถมองเห็นได้
- ปวดท้อง ท้องเป็นตะคริว ท้องอืดหรือมีแก๊สเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายอุจจาระ
- อ่อนล้าและหมดแรง
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- โรคลำไส้แปรปรวน
- ภาวะโลหิตจางแบบขาดแคลนธาตุเหล็ก
ถ้าหากมะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตำแหน่งอื่นของร่างกายเช่นตับ เชื้อมะเร็งสามารถทำให้เกิดอาการขึ้นกับตำแหน่งใหม่ได้
ระยะของมะเร็งลำไส้
วิธีตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลากหลายวิธีแตกต่างกันไป โดยระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กนะจายไปมากเท่าไหร่และมีก้อนเนื้อมะเร็งหรือไม่
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้
- ระยะที่ 0: เรียกว่ามะเร็งระยะเริ่มต้นคาร์ซิโนมาอินไซตูเป็นโรคมะเร็งระยะแรกเริ่มที่ยังไม่เซลล์มะเร็งภายในเนื้อเยื่อชั้นในของลำไส้ใหญ่และโดยปกติสามารถรักษาได้ง่าย
- ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่พบเชื้อมะเร็งเติบโตอยู่ที่เนื้อเยื่อชั้นนอกถัดจากออกไปจากเนื้อเยื่อในลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่เกิดการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆของร่างกาย
- ระยะที่ 2 : เชื้อมะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อชั้นนอกแต่ยังไม่เกิดการแพร่กระจายออกจากลำไส้ใหญ่
- ระยะที่ 3 : โรคมะเร็งเกิดการเจริญเติบโตเเละแพร่กระจายออกสู่เนื้อเยื่อชั้นนอกของลำไส้ใหญ่ รวมถึงเกิดการเเพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองจำนวน 1-3 ต่อม แต่อย่างไรก็ตามยังไม่แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆของร่างกาย
- ระยะที่ 4 : มะเร็งลุกลามถึงเนื้อเยื่อด้านนอกของผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งในระยะนี้เชื้อมะเร็งในลำไส้ใหญ่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้
ทางเลือกในการรักษา
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับประเภทและระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้แพทย์จะพิจารณาถึงอายุ สุขภาพโดยรวมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลด้วย เพื่อตัดสินใจเลือกใช้วิธีรักษาที่ดีที่สุด
การผ่าตัด
การผ่าตัดสามารถนำลำไส้บางส่วนหรือทั้งหมดออกเรียกว่าการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะนำลำไส้ส่วนที่มีเชื้อมะเร็งรวมถึงเนื้อเยื่อรอบๆออก
ตัวอย่างเช่นโดยปกติเเพทย์จะทำการผ่าตัดนำต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ออกเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จากนั้นศัลยแพทย์จะทำการเย็บเนื้อเยื่อที่สุขภาพดีติดกันอีกครั้งหรือการนำส่วนของลำไส้มาเปิดช่องท้องขนาดเล็ก (stoma) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการผ่าตัดลำไส้ใหญ่
การนำส่วนของลำไส้มาเปิดช่องท้องขนาดเล็ก (stoma) เป็นวิธีเปิดช่องท้องขนาดเล็กด้วยลำไส้ใหญ่เพื่อระบายของเสียเข้าไปเก็บในถุงเป็นวิธีที่จำเป็นต้องทำที่บริเวณลำไส้ส่วนล่างซึ่งวิธีการนี้เรียกว่าทวารเทียมหน้าท้อง
วิธีการผ่าตัดประเภทอื่นได้แก่
- การผ่าตัดผ่านกล้อง : ศัลยเเพทย์สามารถผ่าตัดนำเชื้อมะเร็งขนาดเล็กเฉพาะที่ออก ด้วยวิธีการใช้หลอดที่บางและยืดหยุ่นได้พร้อมกล้องสอดเข้าไปในบริเวณที่เกิดก้อนเนื้อมะเร็งเพื่อกำจัดก้อนเนื้อมะเร็งออกไป
- การผ่าตัดผ่ากล้อง : ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดช่องท้องที่มีแผลขนาดเล็ก โดยวิธีนี้เป็นทางเลือกสำหรับกำจัดก้อนริดสีดวงที่มีขนาดใหญ่มากกว่า
- การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ: จุดประสงค์ของการผ่าตัดประเภทนี้คือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งระยะรุนเเรงได้ โดยศัลยแพทย์จะพยายามบรรเทาภาวะอุดตันที่เกิดขึ้นภายในลำไส้ใหญ่และรักษาอาการเจ็บปวดและมีเลือดออกรวมถึงอาการอื่นๆ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดด้วยการใช้กล้องที่นี่
การทำเคมีบำบัด
ในระหว่างการทำเคมีบำบัด ทีมแพทย์ผู้รักษาโรคมะเร็งจะใช้ยาเพื่อเข้าไปขัดขวางกระบวนการแบ่งเซลล์มะเร็ง ด้วยการรบกวนการสร้างโปรตีนหรือการทำงานของ DNA เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
การรักษาประเภทนี้มีเป้าหมายกำจัดเซลล์ที่เกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วรวมถึงเซลล์ที่สุขภาพดีด้วย โดยปกติการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์เท่านั้นแต่ไม่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้
โดยปกติผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกแนะนำรักษาโรคมะเร็งลำไส้ด้วยวิธีเคมีบำบัด ถ้าหากเชื้อมะเร็งเกิดการแพร่กระจาย โดยยาที่ใช้ทำเคมีบำบัดจะเข้าสู่ร่างกายทั้งหมดและเป็นการรักษาที่มีวงจรเพื่อให้ร่างกายได้มีช่วงเวลาให้ร่างกายได้พักระหว่างใช้ยาเคมีบำบัด
การฉายแสงบำบัด
การฉายแสงบำบัดสามารถฆ่าเชื้อมะเร็งได้ด้วยลำแสงแกรมม่าแรงสูงฉายลงบนเซลล์มะเร็งโดยตรง ซึ่งนักฉายแสงจะใช้วิธีการฉายแสงภายนอกร่างกายด้วยเครื่องฉายเเสง
สำหรับการฉายเเสงภายในร่างกาย แพทย์จะทำการฝั่งแร่ธาตุกัมมันตรังสีไวใกล้บริเวณที่เกิดก้อนเนื้อมะเร็ง
สาเหตุมะเร็งลำไส้
โดยปกติเซลล์มะเร็งมีกระบวนการเจริญเติบโต แบ่งเซลล์และตายไปตามลำดับ อย่างไรก็ตามเชื้อมะเร็งสามารถเชิญเติบโตและเกิดการแบ่งเซลล์อย่างควบคุมไม่ได้ รวมถึงเมื่อเซลล์มะเร็งไม่ตายในช่วงเวลาที่ถูกต้องในวงจรชีวิต
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนมากมีจุดเริ่มต้นเกิดจากก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็งที่เรียกว่าติ่งเนื้อแอดดิโนมาตัส ซึ่งติ่งเนื้อชนิดนี้เกิดขึ้นในผนังชั้นในของลำไส้ใหญ่
เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายออกไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายผ่านเลือดและระบบต่อมน้ำเหลือง
เซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถเติบโตและทำลายเนื้อเยื่อที่สุขภาพดีที่อยู่รอบๆและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายด้วยวิธีแบ่งเซลล์ ส่งผลทำให้เป็นโรคมะเร็งอย่างรุนเเรงและไม่สามารถรักษาได้
ปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่โรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นจากสาเหตุดัต่อไปนี้
ติ่งเนื้องอกในลำไส้
โดยปกติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากก้อนติ่งเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็งที่เจริญเติบโตในลำไส้ใหญ่
ประเภทของติ่งเนื้อส่วนใหญ่ได้แก่
- เนื้องอกจากต่อม : เนื้องอกชนิดนี้เกิดขึ้นจากเยื่อบุที่รวมตัวกันภายในลำไส้ แต่อย่างไรก็ตามก้อนเนื้อชนิดนี้ปรากฎขึ้นให้เห็นด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์โดยมีรูปร่างที่แตกต่างกันและสามารถกลายเป็นก้อนเนื้อมะเร็งได้
- การเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์จนเกิดเป็นก้อนเนื้อ : มะเร็งลำไส้ใหญ่นี้พบได้น้อยมาก โดยปกติก้อนเนื้อชนิดนี้กลายไปเป็นเนื้องอก
ติ่งเนื้อส่วนใหญ่อาจกลายเป็นเนื้องอกร้ายได้ ถ้าหากแพทย์ไม่ทำการผ่าตัดก้อนเนื้อชนิดนี้ออกในช่วงที่ตรวจพบในระยะเเรก
สารพันธุกรรม
การเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมหรือสาร DNA เปลี่ยนแปลง
ซึ่งความผิดปกติของสารพันธุกรรมนี้ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งเนื่องจากเชื้อมะเร็งจะเกิดการพัฒนาขึ้นก็ต่อเมื่ออยู่ในสิ่งเเวดล้อมที่มีปัจจัยกระตุ้นเท่านั้น
การใช้ชีวิตและพฤติกรรมรวมถึงการทานอาหาร
อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยประมาณ 91% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีได้เช่นกัน
บทสรุป
ในการคำนวณอัตรารอดชีวิตผู้ป่วยให้ใช้อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี
ถ้าหากเชื้อมะเร็งไม่เกิดการแพร่กระจายออกนอกลำไส้ใหญ่หรือช่องถาวรหนัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 5 ปีหลังจากตรวจพบโรคมะเร็ง
ถ้าหากเชื้อมะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆและต่อมน้ำเหลือ อัตราการรอดชีวิต 5 ปีจะลดลง 71% แต่ถ้าหากเชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายเเล้วอัตราการรอดชีวิตจะลดลง 14%
การตรวจมะเร็งลำไส้พบในระยะเริ่มต้นและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆเป็นวิธีที่ช่วยทำให้การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/symptoms-causes/syc-20353669
- https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal-cancer/about/what-is-colorectal-cancer.html
- https://www.healthline.com/health/colon-cancer
- https://www.nhs.uk/conditions/bowel-cancer/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก