ลักษณะก้อนซีสต์ (Cysts) มีรูปร่างคล้ายแคปซูลหรือมีโครงสร้างคล้ายถุง โดยปกติมักมีของเหลว ของกึ่งเเข็งหรือแก๊สอยู่ภายในคล้ายแผลพุพอง
ก้อนซีสต์มีหลายขนาดตั้งแต่ไปจนใหญ่ โดยซีสต์ขนาดใหญ่สามารถเกิดขึ้นที่อวัยวะภายในและส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอก ซึ่งก้อนซีสต์สามารุเป็นได้ทั้งเนื้องอกมะเร็งหรือเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายได้
ก้อนซีสต์เป็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดซีสต์ขึ้น
ก้อนซีสต์คืออะไร
โดยปกติก้นซีสต์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ การอุดตัน ไขมันอุดตันรูขุมขนหรือการเจาะผิวหนัง
สาเหตุทั่วไปของการเกิดซีสต์ได้แก่
- เนื้องอก
- โรคทางพันธุกรรม
- ความผิดของสร้างอวัยวะขณะเป็นตัวอ่อน
- เซลล์ผิดปกติ
- อาการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
- การอุดตันของท่อน้ำดีภายในร่างกายที่ทำให้มีของเหลวคั่งค้างเกิดขึ้น
- พยาธิ
- หลอดเลือดแตก
โดยส่วนใหญ่ก้อนซีสต์ที่ผิดปกติมักทำให้เกิดอาการเจ็บปวด นอกจากซีสต์จะแตกออกหรือเกิดการอักเสบติดเชื้อ
อาการของก้อนซีสต์
สัญญาณและอาการของซีสต์มีหลายอย่างขึ้นอยู่กับประเภทของก้อนซีสต์ ในหลายกรณีเกิดซีสต์ที่ผิดปกติขึ้นบนร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง
สำหรับการเกิดก้อนซีสต์ที่อวัยวะภายในมักเกิดขึ้นที่ตับหรือไต ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดจึงส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้สังเกตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในดังกล่าว จนกระทั่งได้รับการตรวจร่างกายโดยเเพทย์ด้วยวิธีการเช่นการทำ CT หรือ MRI สแกนรวมถึงการตรวจด้วยวิธีอัตตร้าซาวน์
ถ้าหากมีก้อนซีสต์เกิดขึ้นในสมอง อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวและมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ซีสที่เต้านมยังสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน
ประเภทของก้อนซีสต์
ประเภทของก้อนซีสทั่วไปได้แก่
ก้อนซีสต์สิวอักเสบ
สิวอักเสบหรือสิวหัวช้างเป็นสิวชนิดที่รุนเเรงมากที่สุด ซึ่งเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนจนนำไปสู่การอักเสบและติดเชื้อ
ถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน
ถุงต่อมน้ำบาร์โธลินสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหากท่อของถุงน้ำบาร์โธลินที่อยู่ด้านในช่องคลอดเกิดการอุดตัน
ซีสที่เต้านม
โดยปกติซีสที่เต้านมมักทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่จำเป็นต้องทำการรักษา
สำหรับผู้หญิงก้อนซีสต์ประเภทนี้สามารถมีขนาดที่เปลี่ยนแปลงได้ในช่วงของรอบเดือนและโดยปกติมักหายไปได้เอง อย่างไรก็ตามแพทย์สามารถรักษาด้วยการระบายของเหลวออกจากซีสต์ ถ้าหากก้อนซีสต์ที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกอึดอัด
ก้อนซีสต์คอลลอยด์
ก้อนซีสต์คอลลอยด์เกิดขึ้นภายในสมองและมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่ในก้อนซีสต์ โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดออก
ถุงน้ำเดนติเจอรัส
ถุงน้ำเดนติเจอรัสเป็นซีสต์ที่เกิดขึ้นรอบๆรากฟันคุด
เดอร์มอยด์ซีสต์
ถุงน้ำเดอร์มอยด์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ผิวหนังและเส้นผมรวมถึงกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อของต่อมไทรรอยด์ได้
ก้อนซีสต์ที่ข้อมือ
ก้อนซีสต์ชนิดนี้มีขนาดเล็กและเป็นก้อนซีสต์ที่ไม่อันตราย ซึ่งเกิดขึ้นที่บนหรือใกล้กับข้อต่อหรือเป็นก้อนเกิดขึ้นที่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ โดยปกติมักเกิดขึ้นที่ข้อมือแต่สามารถเกิดขึ้นที่บริเวณมือ เท้า ข้อเท้าหรือหัวเข่าได้เช่นกัน
ซีสต์ในไต
ถุงน้ำในไตหรือซีสต์ที่ไตมีหลากหลายชนิด ซึ่งอาจเป็นถุงน้ำธรรมดาหรืออาจมีเลือดอยู่ในก้อนซีสต์ ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดหรือมีสาเหตุจากการอุดตันของท่อในไตและสาเหตุอื่นๆ
ซีสต์รังไข่
โดยปกติซีสต์ที่รังไข่เกิดขึ้นเป็นปกติในผู้หญิงที่มีประจำเดือนเป็นปกติ ซึ่งก้อนซีสต์ในรังไข่เกิดขึ้นในช่วงตกไข่
ซีสต์ในรังไข่ส่วนใหญ่เป็นเนื้อธรรมดาที่ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ อย่างไรก็ตามก้อนซีสต์บางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นและทำให้หน้าท้องยื่นออกมา
ถุงน้ำที่ตับอ่อน
แพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุว่าถุงน้ำที่ตับเป็นก้อนซีสต์ที่แท้จริง โดยส่วนมากแพทย์มักระบุว่าเป็น “ถุงน้ำเทียมของตับอ่อน” เนื่องจากซีสต์ชนิดนี้ไม่มีเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของก้อนซีสต์จริง
ซีสต์ต่อมไขมันใต้ผิวหนัง
ก้อนซีสต์ที่ต่อมไขมันใต้ผิวหนังหรือที่รู้จักกันว่าซีสต์ที่ใต้ผิวหนังของเส้นผมเป็นซีสต์ที่มีของเหลวอยู่ภายในและโดยปกติมักเกิดขึ้นที่บริเวณหนังศีรษะ
ก้อนซีสต์ใต้ผิวหนังที่ก้น
ก้อนซีสต์ชนิดนี้เกิดขึ้นที่บริเวณใต้ผิวหนังใกล้ก้นกบหรือหลังส่วนล่าง ซึ่งบางครั้งอาจมีเส้นขนอยู่ในก้อนซีสต์
ซีสต์ชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดหลุมหรือรูขุมกว้างบนผิวหนัง
ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
คนส่วนใหญ่เรียก “ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง” เพื่อธิบายลักษณะของก้อนซีสต์ที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนังบริเวณใบหน้า แผ่นหลัง หนังศีรษะหรือถุงอัณฑะ
วิธีการรักษาก้อนซีสต์
วิธีการรักษาซีสที่นำมาใช้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ประเภทของซีสต์ ตำแหน่งที่เกิดก้อนซีสต์และระดับความเจ็บปวดหรือความอึดอัดเมื่อมีซีสต์เกิดขึ้น
โดยส่วนใหญ่เเล้วก้อนซีสต์ขนาดใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อนำก้อนซีสต์ออก หรือใช้วิธีระบายของเหลวออกจากก้อนซีสต์ด้วยการดูดของเหลวออกจากก้อนซีสต์ โดยใช้วิธีสอดเข็มหรือท่อขนาดเล็กเข้าไปในก้อนซีสต์ แต่ถ้าหากไม่สามารถมองเห็นก้อนซีสต์หรือเข้าถึงก้อนซีสต์ได้ยาก แพทย์จะใช้วิธีเอกซ์เรย์เพื่อแสดงภาพและนำทางเข็มหรือท่อไปยังก้อนซีสต์ได้ถูกต้อง
และอีกวิธีหนึ่งแพทย์สามารถตรวจร่างกายเพื่อดูดของเหลวออกด้วยวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อตรวจดูว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่ที่ก้อนซีสต์หรือไม่ ถ้าหากตรวสอบพบว่าก้อนซีสต์มีเซลล์มะเร็งอยู่ แพทย์จะเเนะนำให้คนไข้ผ่าตัดเพื่อนำก้อนเนื้อออกหรือทำการตัดเนื้อเยื่อของก้อนซีสต์ไปตรวจ
ก้อนซีสต์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ก้อนซีสต์ที่เต้านมชนิด fibrocystic หรือโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ซึ่งการรักษาก้อนซีสต์ประเภทนี้มุ่งเน้นที่การรักษาโรคมากกว่าการกำจัดก้อนซีสต์
บทสรุป
ก้อนซีสต์เป็นถุงน้ำที่ผิดปกติซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้บนเนื้อเยื่อส่วนใดก็ตามของร่างกาย โดยส่วนมากก้อนซีสต์สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติและไม่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตามก้อนซีสต์มีหลายประเภท
การอักเสบติดเชื้อ เนื้องอก พยาธิและอาการบาดเจ็บต่างๆสามารถทำให้เกิดก้อนซีสต์ได้ โดยปกติไม่ใช่ก้อนเนื้อมะเร็ง
สำหรับผู้ที่มีควรกังวลเกี่ยกับก้อนซีสต์ที่เกิดขึ้นหรือสังเกตุพบก้อนซีสต์ขึ้นมาใหม่ ควรไปพบเเพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและทำการรักษา ถ้าหากจำเป็น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/cyst
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-guide-to-cysts
- https://www.nhs.uk/conditions/skin-cyst/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก