Escherichia coli หรืออีโค ไล คือแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่น
หลายสายพันธุ์ของเชื้ออีโคไลไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ประจำอยู่เป็นส่วนหนึ่งในลำไส้ของมนุษย์ แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บป่วยในคนได้ เช่นอาการท้องร่วง ปวดท้อง มีไข้และอาจมีอาเจียนในบางครั้ง
เชื้อ E. coli O157:H7 คือหนึ่งในสายพันธุ์ที่ผลิตสารพิษชื่อว่า Shiga เป็นหนึ่งในสารพิษที่มีความรุนแรงมากตัวหนึ่งและเป็นสาเหตุของภาวะการติดเชื้อในลำไส้
คนทั่วไปใช้เวลาหายจากภาวะติดเชื้อภายใน 6ถึง8 วัน แต่สำหรับเด็กแรกเกิดและผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานอ่อนแออาจทำให้เสียชีวิตได้
การติดเชื้ออีโคไลบางสายพันธุ์สามารถนำไปสู่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม,และโรคอื่นๆเช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สาเหตุเชื้ออีโคไล
สายพันธุ์ของเชื้ออีโคไลส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย แต่บางสายพันธุ์จะผลิตสารพิษที่ทำให้มนุษย์ป่วยได้
ในกลุ่มของเชื้ออีโคไลชนิด 0157:H7 จะผลิตสารพิษที่ชื่อว่าซิกก้าขึ้น เป็นสารพิษที่สามารถทำอันตรายให้กับเนื้อเยื่อของลำไส้เล็กได้
มนุษย์สามารถติดเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้:
การดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน: น้ำก็อกในสหรัฐอเมริกาจะได้รับการดุแลรักษาและใส่คลอรีนอยู่แล้ว แต่ก็ยังพบว่าการระบาดของเชื้ออีโคไลก็ยังมีสาเหตุมาจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนอยู่ดี
บ่อน้ำส่วนตัวสามารถเป็นแหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อได้ รวมไปถึงน้ำในทะเลสาบบางแห่งและสระว่ายน้ำ
การเดินทางไปยังที่ๆแหล่งน้ำยังไม่ได้รับการดูแล ควรระมัดระวังเมื่อต้องบริโภคน้ำ หรือการใช้น้ำแข็งหรือรับประทานผักที่ล้างในน้ำที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดดีพอหรือไม่
จากการรับประทานอาหาร อาจมาจากการทำอาหารไม่สุก ดื่มนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ จากน้ำผลไม้ ไซเดอร์หรือชีส หรือการรับประทานผักดิบ
เกิดจากคนที่ติดเชื้อที่ทำงานในร้านอาหาร และไม่ล้างมือให้สะอาดเพียงพอหลังจากไปเข้าห้องน้ำก็สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ลูกค้าและพนักงานคนอื่นๆได้
การติดต่อจากคนสู่คน: การรักษาความสะอาดมือเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการหยุดยั้งการแพร่เชื้อ
การสัมผัสกับสัตว์: เชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายอยู่ในฟาร์ม สวนสัตว์หรือตามงานแฟร์
อาการการติดเชื้ออีโคไล
อาการติดเชื้ออีโคไลจะแสดงอาการประมาณ 3-4 วันหลังจากสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย อาการอาจจะเป็นอยู่ประมาณ 24 ชั่วโมงหรืออาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ได้เช่นกัน
อาการต่างที่เกิดขึ้นเช่น:
-
ปวดท้องหรือเกิดอาการปวดท้องบิดรุนแรง มักเริ่มมีอาการแบบฉับพลัน
-
ถ่ายเหลว ตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดท้องไปประมาณสองสามชั่วโมง
-
อาจมีถ่ายอุจจาระเป็นเลือดในวันถัดมา เป็นผลมาจากสารพิษไปทำให้ลำไส้เสียหาย
-
คลื่นไส้ ในบางรายอาจมีการอาเจียนร่วมด้วย
-
ในบางรายอาจมีไข้สูง
-
อ่อนเพลีย เนื่องจากภาวะขาดน้ำและสูญเสียน้ำและเกลือแร่
ในบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แต่สามารถเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อต่อผู้อื่นได้
การรักษาอีโคไล
เชื้อ E. coli O157:H7.ยังไม่มีการรักษา สามารถหายได้เอง ไม่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะอาจเป็นการไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตก
ผู้ป่วยควรพักผ่อนเยอะๆและดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
ไม่แนะนำให้หาชื้อยารับประทานเองเพื่อรักษาอาการท้องเสีย เพราะนั้นเท่ากับว่าไปทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง เป็นผลทำให้ความสามารถในการกำจัดสารพิษของร่างกายทำงานได้น้อยลงไปด้วย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เชื้อแบคทีเรียอีโคไล มักเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทางออกของท่อปัสสาวะจะอยู่ใกล้กับทวารหนัก ดังนั้นเชื้อแบคทีเรียจึงสามารถแพร่กระจายจากส่วนล่างของทางเดินอาหารไปยังท่อปัสสาวะได้
การเช็ดทำความสะอาดโดยการเช็ดจากด้านหน้าไปทางด้านหลังสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
สาเหตุของการติดเชื้ออีโคไล
สายพันธุ์ของเชื้ออีโคไลส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย แต่บางสายพันธุ์จะผลิตสารพิษที่ทำให้มนุษย์ป่วยได้
ในกลุ่มของเชื้ออีโคไลชนิด 0157:H7 จะผลิตสารพิษที่ชื่อว่าซิกก้าขึ้น เป็นสารพิษที่สามารถทำอันตรายให้กับเนื้อเยื่อของลำไส้เล็กได้
มนุษย์สามารถติดเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้:
การดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน: น้ำก็อกในสหรัฐอเมริกาจะได้รับการดุแลรักษาและใส่คลอรีนอยู่แล้ว แต่ก็ยังพบว่าการระบาดของเชื้ออีโคไลก็ยังมีสาเหตุมาจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนอยู่ดี
บ่อน้ำส่วนตัวสามารถเป็นแหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อได้ รวมไปถึงน้ำในทะเลสาบบางแห่งและสระว่ายน้ำ
การเดินทางไปยังที่ๆแหล่งน้ำยังไม่ได้รับการดูแล ควรระมัดระวังเมื่อต้องบริโภคน้ำ หรือการใช้น้ำแข็งหรือรับประทานผักที่ล้างในน้ำที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดดีพอหรือไม่
จากการรับประทานอาหาร อาจมาจากการทำอาหารไม่สุก ดื่มนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ จากน้ำผลไม้ ไซเดอร์หรือชีส หรือการรับประทานผักดิบ
เกิดจากคนที่ติดเชื้อที่ทำงานในร้านอาหาร และไม่ล้างมือให้สะอาดเพียงพอหลังจากไปเข้าห้องน้ำก็สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ลูกค้าและพนักงานคนอื่นๆได้
การติดต่อจากคนสู่คน: การรักษาความสะอาดมือเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการหยุดยั้งการแพร่เชื้อ
การสัมผัสกับสัตว์: เชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายอยู่ในฟาร์ม สวนสัตว์หรือตามงานแฟร์
ปัจจัยเสี่ยง
คนที่มีภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอมีแนวโน้มจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ รวมถึวผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน และคนที่เพิ่งได้รับเคมีบำบัด
ผู้ป่วยที่มีกรดในกระเพาะลดน้อยลง เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะหรือรับประทานยาลดกรดในกระเพาะ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อกว่าคนทั่วไป
เด็กเล็กและคนสูงอายุอาจมีความเสี่ยงสูงที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยอื่นๆและเกิดภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อน
คนทั่วไปสามารถหายดีได้ภายในหนึ่งสัปดาห์
แต่อย่างไรก็ตามพบว่าราวๆ 10 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีความเสี่ยงโรคสามารถพัฒนาไปสู่ภาวะอาการเม็ดเลือดแดงแตกได้ ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กและคนสูงอายุ
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกคือโรคซึ่งทำให้มีการแตกของเม็ดเลือดแดง เป็นสาเหตุของโรคโลหิตจาง จำนวนเกล็ดเลือดต่ำและไตวาย
เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ให้เลือดแข็งตัว เกิดก้อนขึ้นภายในเส้นเลือดเล็กๆในไต ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดลดลงหรือเรียกว่าภาวะขาดเลือด
สามารถนำไปสู่ภาวะไตวาย เกล็ดเลือดที่ลดลงเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาเรื่องเลือดไหลไม่หยุด
ภาวะไตวายเฉียบพลันในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กมักมีสาเหตุมาจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
การเกิดเม็ดเลือดแดงแตกมักจะเริ่มมีอาการหลังจากถ่ายท้อง 5-8 วัน ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
การวินิจฉัย
แพทย์จะสอบถามอาการที่เกิดขึ้นและนำอุจจาระไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างอุจจาระต้องถูกนำมาตรวจหลังจากเริ่มมีอาการถ่ายเป็นเลือดภายใน 48 ชั่วโมง
การป้องกัน
ต่อไปนี้คือข้อแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีโคไลและเชื้อโรคอื่นๆ
ดังต่อไปนี้:
-
ทำอาหารให้สุก โดยเฉพาะเนื้อวัว
-
ดื่มนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
-
ล้างผักโดยเฉพาะผักเขียวชนิดใบ
-
ให้แน่ใจว่าช้อนส้อมและเครื่องชามจานผ่านการล้างสะอาดด้วยน้ำร้อน
-
แยกเก็บเนื้อออกจากอาหารที่ไม่ใช่เนื้อ และใช้เขียงแยกกันด้วย
-
ล้างมือตามหลักสุขอนามัยที่ดี
การล้างมือที่ถูกสุขอนามัยคือการล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำ หลังจากการเปลี่ยนผ้าอ้อม ล้างมือทั้งก่อนและหลังเตรียมอาหาร รวมถึงหลังจากสัมผัสกับสัตว์ต่างๆ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเชื้ออีโคไล
-
เชื้ออีโคไลเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย รวมไปถึงโรคปอดบวม โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและท้องร่วง
-
สายพันธุ์ส่วนใหญ่ของเชื้ออีโคไลไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
-
การติดเชื้ออีโคไลบางสายพันธ์ุอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและมีไข้ได้
-
ในรายที่มีร่างกายอ่อนแอ การติดเชื้ออีโคไลบางชนิดสามารถทำให้เกิดภาวะไตวายได้
-
การปฏิบัติตามกฏการรักษาสุขอนามัยจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/e-coli/symptoms-causes/syc-20372058
-
https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/what-is-e-coli
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก