

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola) คือโรคที่ร้ายแรง มักเป็นภาวะร้ายแรงทั้งในมนุษย์และสัตว์ อีโบล่าเป็นหนึ่งในเชื้อไวรัสไข้เลือดออก สาเหตุการติดเชื้อมาจากไวรัสตระกูล Filoviridae จีนัสอีโบล่าไวรัส
อัตราการตายของโรคอีโบล่าจะแตกต่างกันไปตามสายพันธ์ ตัวอย่าง อีโบล่า-ซาอีร์ (Ebola-Zaire) มีอัตราตายอยู่ที่ร้อยละ 90 ขณะที่อีโบล่า-เรสตอน (Ebola-Reston) ไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตในมนุษย์
การติดเชื้อดังกล่าวติดต่อกันผ่านการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง และชิ้นส่วนของสัตว์หรือมนุษย์ที่ติดเชื้อโดยตรง ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โรคไวรัสอีโบล่ามักจะมีอาการไข้เฉียบพลัน อ่อนแรงมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเจ็บคอ
อีโบล่ามีแนวโน้มการกระจายเชื้ออย่างรวดเร็วสู่คนในครอบครัวและเพื่อน หรือคนที่สัมผัสสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อเมื่อดูแลผู้ป่วย ระยะเวลาภายหลังจากการติดเชื้อสู่ระยะเริ่มแสดงอาการใช้เวลาประมาณ 2-21 วัน
อาการของอีโบล่า
ระยะเวลาภายหลังการติดเชื้อไปจนถึงเริ่มแสดงอาการมช้เวลา 2-21 วัน แม้ว่า จะพบได้บ่อยที่สุดในช่วง 8-10 วัน อาการและอาการแสดง มีดังนี้:
-
มีไข้
-
ปวดศีรษะ
-
ปวดข้อและกล้ามเนื้อ
-
อ่อนแรง
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ ดังนี้:
-
ผื่น
-
สะอึก (Hick up)
-
เจ็บคอ
-
หายใจลำบาก
-
กลืนลำบาก
-
มีเลือดออกทั้งภายในและนอกร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจแสดงผลเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ และค่าเอนไซม์ตับสูง ระหว่างที่ในเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วยยังมีเชื้อไวรัสอยู่ เขาคือผู้ติดเชื้อ ในความเป็นจริง ไวรัสอีโบล่าถูกแยกจากน้ำอสุจิของชายที่ติดเชื้อ 61 วันหลังจากเริ่มมีอาการป่วย
การรักษาอีโบล่า
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับการรับรองในการรักษาโรคไวรัสอีโบล่า วัคซีนหลายๆตัวกำลังอยู่ในขั้นการทดลอง แต่ในเวลานี้ ยังไม่มีการใช้วัคซีนในชั้นคลินิก
ในขณะนี้ การรักษาอีโบล่ายังถูกจำกัดอยู่ที่การดูแลประคับประคอง เช่น:
-
การรักษาสมดุลของสารน้ำและแร่ธาติในร่างกายของผู้ป่วย
-
คงระดับออกซิเจนและความดันโลหิต
-
รักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนของผู้ป่วย
วัคซีนอีโบล่า
ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2014 องค์การอนามัยโลกได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมิน, ทดสอบ และในที่สุดก็อนุญาตให้ใช้วัคซีนอีโลบาสองตัวที่มีแนวโน้ม:
-
cAd3-ZEBOV GlaxoSmithKlineได้พัฒนาวัคซีนนี้ขึ้นมาจากความร่วมมือของสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (the United States National Institute of Allergy and Infectious Diseases : NIH) โดยวัคซีนดังกล่าวใช้ chimpanzee-derived adenovirus vector กับยีนไวรัสอีโบล่า
-
rVSV-ZEBOV ถูกพัฒนาโดยหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศแคนาดาในเมืองวินนิเพ็กร่วมกับบริษัท NewLink Genetics เป็นบริษัทที่อยู่ในเมืองเอเมสรัฐไอโอวา ซึ่งวัคซีนดังกล่าวใช้ไวรัสที่อ่อนแอที่พบในปศุสัตว์ โดยยีนตัวหนึ่งของมันจะถูกแทนที่ด้วยยีนไวรัสอีโบล่า
เมื่อ 31 กรกฎาคม 2015 วารสาร Lancet ได้เผยแพร่ผลการทดลองวัคซีนในเบื้องต้น ได้รับทุนสันบสนุนและจัดการโดยองค์การอนามันโลก วัคซีนอีโบล่า ca Suffit มีประสิทธิภาพร้อยละ 100 ในการทดลองในประเทศกินี และมีผู้ร่วมการทดลองกว่า 4,000 คน ผลการทดลองอย่างเต็มรูปแบบดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ในวารสาร Lancet ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2017
ขั้นถัดไปคือการผลิตวัคซีนออกมาโดยเร็วที่สุด และในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานแนวหน้าที่สำคัญและเพื่อสร้างความแตกต่างในวิวัฒนาการในอนาคตของโรคระบาด
การป้องกันการติดเชื้ออีโบล่า
ตราบใดที่ยังไม่ทราบว่าคนติดเชื้อไวรัสอีโบล่ามาได้อย่างไร การที่จะหยุดการติดเชื้อจึงเป็นเรื่องยาก การป้องกันการติดต่อจะสำเร็จได้โดย:
- แน่ใจว่าบุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ชุดป้องกัน
- ใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อ เช่น การฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกชิ้น และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ
- แยกผู้ป่วยอีโบล่า เพื่อลดโอกาสในการติดต่อกับคนที่ไม่มีสิ่งป้องกันโรค

การฆ่าเชื้ออย่างทั่วถึงและการทิ้งเข็มอย่างเหมาะสมภายในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมและหยุดการแพร่ระบาด
อีโบล่ามีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางครอบครัวและเพื่อนฝูง เนื่องจากพวกเขาสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อเมื่อดูแลผู้ป่วย อีกทั้งไวรัสยังสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในสถานพยาบาลด้วยเหตุผลเดียวกัน จึงควรเน้นการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เช่น หน้ากากอนามัย, เสื้อคลุม และถุงมือ
ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (the Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางในการช่วยป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอีโบล่า
สาเหตุของอีโบล่า
อีโบล่ามีสาเหตุมาจากไวรัสอีโบล่าและไวรัสตระกูล Filoviridae อีโบล่าถือว่าเป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน หมายถึงเชื้อไวรัสเกิดในสัตว์และได้ติดต่อมาสู่คน
การแพร่เชื้อดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีการระบาดในมนุษย์อย่างไร
ในแอฟริกา ผู้คนพัฒนาอีโบล่าภายหลังจัดการกับสัตว์ที่ติดเชื้อที่พบว่าป่วยหรือตาย เช่น ลิงชิมแปนซี, กอริลล่า, ค้างคาวผลไม้, ลิง, แอนทิโลปป่า และเม่น
การติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดขึ้นภายหลังมีบางคนติดเชื้อไวรัสอีโบล่าแล้วแสดงอาการ เนื่องจากอาจใช้เวลา 2-21 วันในการพัฒนาอาการ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่าอาจเคยสัมผัสผู้คนกว่าพันคน จึงเป็นเหตุให้การแพร่ระบาดยากต่อการควบคุมและอาจแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
อีโบล่าติดต่อสู่คนได้อย่างไร
เมื่อเกิดการติดเชื้อีโบล่าในมนุษย์ ไวรัสจะสามารถแพร่กระจายไปในหลายทาง รายการด้านล่างคือช่องทางที่อีโบล่าจะสามารถติดต่อและไม่สามารถติดต่อได้
การติดต่อของอีโบล่าสู่คนสามารถเกิดขึ้นได้โดย:
-
การสัมผัสโดยตรงต่อแผลและเยื่อเมือกที่มีเลือดออก สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือสารน้ำอื่นๆในร่างกายที่ติดเชื้อ
-
การสัมผัสทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื่อนเชื้อ เช่น ของเหลว
-
การสัมผัสกับสิ่งที่ปนเปื่อนเชื้อ เช่น เข็มฉีดยา
-
การฝั่งศพที่ผู้ไว้ทุกข์สัมผัสโดยตรงกับร่างของผู้เสียชีวิต
-
การสัมผัสกับน้ำอสุจิของผู้ติดเชื้ออีโบล่าหรือผู้ที่หายจากโรคดังกล่าว โดยไวรัสยังสามารถติดต่อผ่านทางน้ำอสุจิภายหลังฟื้นหายจากโรคไปแล้วเป็นเวลา 7 สัปดาห์
-
สัมผัสกับผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคไวรัสอีโบล่า บุคลากรสุขภาพมักติดเชื้อขณะทำการรักษาผู้ป่วย
ยังไม่พบหลักฐานว่าอีโบล่าสามารถแพร่เชื้อผ่านการกัดของแมลง
ความเป็นมาของอีโบล่า
ผู้ป่วยอีโบล่ารายแรกถูกรายงานในปีค.ศ.1976 ที่เมืองยัมบูกุ ใกล้แม่น้ำอีโบล่าในประเทศซาอีร์ (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) และในเมืองนิซารา ประเทศซูดาน
ตั้งแต่นั้นมา การเกิดโรค หรือในรายที่ไม่แสดงอาการของอีโบล่าในมนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นเป็นระยะ ในสถานที่ต่อไปนี้จะมีการแพร่ระบาด, การปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ และอุบัติเหตุ:
-
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
-
ประเทศซูดาน (ซูดานทางตอนใต้)
-
ประเทศสินิโกล
-
สหราชอาณาจักร
-
ประเทศสหรัฐอเมริกา
-
ประเทศฟิลิปปินส์
-
ประเทศอิตาลี
-
ประเทศสเปน
-
ประเทศกาบอง
-
ไอวอรีโคสต์ (สาธารณรัฐโกตดิวัวร์)
-
ประเทศแอฟริกาใต้
-
ประเทศรัสเซีย
-
ประเทศยูกันดา
-
ประเทศกินี
-
ประเทศไลบีเรีย
-
สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน
ในปีค.ศ.2014 เกิดการระบาดของโรคอีโบล่าครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประเทศกินี, ทางตอนเหนือของประเทศไลบีเรีย และสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคคาดการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากกว่า 11,000 ราย ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในแอฟริกาตะวันตก
ในสหรัฐอเมริกา มีรายงานระบุว่าพบการนำเข้าเชื้อสองราย โดยรายที่หนึ่งเสียชีวิต และรายที่สองติดเชื้อภายในท้องถิ่นของบุคลากรทางการแพทย์
มีรายงานผู้ป่วยจำนวนเล็กน้อยในประเทศไนจีเรีย, มาลี และประเทศสินิโกล โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถควบคุมสถานการณ์และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มเติมได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคอีโบล่า
ความเสี่ยงในการติดเชื้ออีโบล่าค่อนข้างต่ำ แต่จะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเมื่อ:
-
ไปเที่ยวในพื้นที่แถบแอฟริกา ที่ได้รับการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้ออีโบล่า
-
ทำการวิจัยสัตว์กับลิงที่นำเข้ามาจากแอฟริกา หรือประเทศฟิลิปปินส์
-
ให้การรักษา หรือดูแลผู้ที่อาจเคยสัมผัสโรคอีโบล่า
-
การเตรียมร่างของผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้ออีโบล่าเพื่อทำพิธีศพ
การตรวจและวินิจฉัยอีโบล่า
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ตัวอย่างจากผู้ป่วยด้วยโรคอีโบล่ามีความเสี่ยงทางชีวภาพอย่างมาก การตรวจควรดำเนินภายใต้เงื่อนไขการกักกันทางชีวภาพระดับสูงสุด
ก่อนที่จะวินิจฉัยโรคอีโบล่า ควรตัดโรคอื่นๆออกไปก่อน และหากสงสัยว่าเป็นโรคอีโบล่า ควรแยกผู้ป่วยออกมาจากผู้อื่น ควรแจ้งผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขให่ทราบทันที การติดเชื้อไวรัสอีโบล่าสามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนในห้องปฏิบัติการผ่านการตรวจหลายอย่าง ได้แก่:
-
การตรวจ Antigen-capture enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) testing.
-
กาตรวจ IgM ELISA.
-
ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (Polymerase chain reaction : PCR)
-
การแยกเชื้อไวรัส.
ในระยะที่สูงขึ้นของโรค หรือหลังการฟื้นตัว การวินิจฉัยจะทำโดยใช้สารภูมิต้านทาน IgM และ IgG โรคอีโบล่าสามารถวินิจฉัยย้อนหลังในผู้ป่วยที่เสียชีวิต โดยการตรวจรูปแบบอื่นๆ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอีโบล่า:
-
อีโบล่าถือว่าเป็นไวรัสจากสัตว์ หมายความว่าจุดเริ่มต้นเกิดจากสัตว์และแพร่กระจายมาสู่คน
-
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสอีโบล่า แม้ว่าจะมีการพัฒนาหลายอย่าง
-
มีวัคซีนตัวหนึ่งมีชื่อว่า Ebola ça suffit พบว่าได้ผลร้อยละ 100 ในการทดลองในคน 4,000คนในประเทศกินี
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก