ภาวะชักจากไข้ (Febrile Convulsion) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะชักจากไข้ (Febrile Convulsion) : อาการ สาเหตุ การรักษา

11.02
1524
0

เมื่อเด็กหรือทารกมีไข้สูง เนื่องจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบ อาจทำให้เกิดอาการชักได้ แต่อาการนี้จะไม่เหมือนอาการชักของลมบ้าหมู

ภาวะชักจากไข้ (Febrile Convulsion) สามารถพบได้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ภาวะชักจากไข้สูงสามารถพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี ภาวะชักจากไข้ในเด็กสามารถพบได้มากถึง 2-5%

อาการชักส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย และไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาวใดๆ เนื่องจากอาการชักนี้เกิดขึ้นจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นอย่างกระทันหัน

ประเภทของการชักจากไข้

การชักจากไข้มี 2 ประเภท :

  • อาการชักในเด็กจากไข้แบบปกติ จะมีอาการเพียง 15 นาที และไม่เกิดขึ้นซ้ำอีกตลอดการป่วย

  • อาการชักจากไข้ที่ซับซ้อน สามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง และสามารถเกิดขึ้นได้นานกว่า 15 นาที

อาการชักจากไข้คืออะไร

อาการชักจากไข้ส่วนใหญ่เกิดจากอุณหภูมิในร่างกายของเด็กสูงขึ้นอย่างกะทันหัน

โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นในวันแรกของอาการไข้ เพราะอุณหภูมิร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน

การติดเชื้อที่ทำให้มีโอกาสเกิดอาการชัก ได้แก่ กระเพาะ และลำไส้อักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้ออื่นๆ ที่พบได้น้อย แต่มีอาการรุนแรงได้แก่ การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางที่มีผลต่อสมองและไขสันหลัง โรคไข้สมองอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การฉีดวัคซีนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชักหรือไม่

โดยส่วนมาก โอกาสการเป็นไข้หลังฉีดวัคซีนมีน้อยมาก วัคซีน หัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) เป็นวัคซีนที่ทำให้มีโอกาสเป็นไข้ได้มากที่สุด

เด็กที่มีการฉีดวัคซีนไอกรน บาดทะยัก โปลิโอและไข้หวัดใหญ่ ก็มีโอกาสเป็นไข้ได้ 6-9 คน ใน 100000 คน

แต่การฉีดวัคซีนทั่วไป จะทำให้มีโอกาสเป็นไข้ได้น้อยมาก

โดยปกติแล้วอาการชักจากไข้ที่เกิดขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีน มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกาย ไม่ใช่เพราะตัววัคซีน

การฉีดวัคซีนอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เพราะร่างกายต้องต่อสู้กับเชื้อที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย

หลังจากฉีดวัคซีน DTP อาการไข้สูงจะพบได้ในวันแรกที่ฉีดยา แต่หลังจากฉีดวัคซีน MMR แล้วอาการไข้สูงจะพบได้ในวันที่ 8-14 หลังจากฉีดยา

ถ้าแม้ว่าการฉีดวัดซีนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ แต่แพทย์ยังคงสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอและครบถ้วน เนื่องจากเป็นผลดีต่อร่างกายในการป้องกันการเกิดโรคต่างๆ

สังเกตอาการชักจากไข้ได้อย่างไร

การชักจากไข้มักเกิดขึ้นเมื่อพึ่งมีอาการป่วย เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน

Febrile Convulsion

คุณอาจสังเกตการชักจากไข้ได้จากอาการต่อไปนี้:

  • เด็กมีอาการตัวแข็ง

  • แขนขาเริ่มสั่นหรือกระตุก

  • หายใจติดขัด

  • หมดสติ

  • ไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะได้

  • อาเจียน

  • น้ำลายฟูมปาก

  • ตาเหลือก

  • ร้องไห้ครวญคราง

โดยส่วนมาก อาการชักทั่วไปจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่จะทำให้อ่อนเพลียนได้นานเป็นชั่วโมง

อาการชักจากไข้ที่ซับซ้อนอาจเกิดขึ้นนานถึง 15 นาทีและอาจเกิดขึ้นซ้ำได้หลายครั้ง โดยจะสังเกตุได้จากการที่เด็กมีอาการตัวแข็งข้างเดียว

ความรุนแรงของการชักมักไม่เกี่ยวข้องกับระดับอุณหภูมิ

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อได้จากการตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ

หากแพทย์สงสัยว่ามีการติดเชื้อในสมอง และไขสันหลัง แพทย์อาจทำการเจาะเพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจหาการติดเชื้อ

วิธีการรักษาภาวะชักจากไข้

เมื่อมีอาการชัก ควรให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง

วิธีนี้จะป้องกันไม่ให้มีการกลืนอาเจียนเข้าไป ช่วยเปิดทางเดินหายใจ และป้องกันการบาดเจ็บได้

หากอาการชัดเกิดขึ้นมากกว่า 5 นาที ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยทันที

ในบางครั้งอาการชักอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ยาระงับการชัก

หากอาการชักกินเวลานาน หรือดูมีแนวโน้มที่ร้ายแรง แพทย์อาจสั่งให้มีการพักฟื้นในโรงพยาบาล

ขณะที่เด็กมีอาการชัก ไม่ควรใส่อะไรเข้าไปในปาก เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้

ผู้ทีมีอาการชัด มักจะมีอาการลิ้นจุกปาก ดังนั้นหากมีการใส่อะไรเข้าไปในปาก อาจทำให้ฟันหักและหลุดเข้าไปขวางระบบทางเดินหายใจได้

วิธีรักษาอาการชักจากไข้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

1 ใน 3 ของเด็ก มักมีอาการชักเกิดขึ้นได้ใหม่ภายใน 1 ปี หากมีการติดเชื้อซ้ำ โดยมีสาเหตุดังนี้ :

  • การชักจากการเป็นไข้ครั้งแรก ที่เกิดขึ้นก่อนอายุ 18 เดือน

  • การชักครั้งแรกมีไข้ต่ำ ๆ

  • เด็กเคยมีอาการชักจากไข้ที่ซับซ้อนมาก่อน

  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก

  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมบ้าหมู

  • เด็กที่ไปสถานดูแลเด็ก เนื่องจากสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

อาการชักไข้และโรคลมบ้าหมู

อาการชักจากไข้จะแตกต่างจากอาการชักของโรคลมบ้าหมูอย่างชัดเจน

ถ้าเด็กมีอาการชักขณะที่อุณหภูมิร่างกายเป็นปกติ อาจสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากโรคลมบ้าหมู

โอกาสในการเป็นโรคลมบ้าหมูหลังจากมีไข้ต่ำสามารถเกิดขึ้นได้น้อยมาก

โอกาสของโรคลมชักที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่มีอาการชัดจากไข้ จะอยู่ที่ 2-5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับโรคลมชักในเด็กที่ไม่เคยมีอาการชักจากไข้

โอกาสในการเป็นโรคลมชักจะเกิดได้มากขึ้นถ้า :

  • มีความผิดปกติทางระบบประสาท

  • มีพัฒนาการล่าช้า ก่อนที่จะเริ่มชักจากไข้

  • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคลมบ้าหมู

  • อาการชักมีความซับซ้อน

  • อาการชักเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากเริ่มมีไข้

วิธีป้องกันภาวะชักจากไข้

แพทย์มักไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกันการชัก เนื่องจากมักจะส่งผลในระยะยาว แต่ถ้าหากมีอาการชักจากไข้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน แพทย์จะทำการสั่งยาเพื่อรักษา หากเด็กมีไข้สูง ควรรีบให้รับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *