เท้าแบน (Flat Feet) หรือเรียกว่ารูปเท้าผิดปกติหมายถึงผู้ที่อุ้งระหว่างฝ่าเท้าและพื้นน้อยหรือมากเกินไป
เท้าแบนคืออะไร
ผู้ที่มีเท้าแบนหมายถึงผู้ที่มีอุ้งเท้ามีมุมต่ำหรือสูงมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ฝ่าเท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
คนเรามีข้อต่อเท้าจำนวน 33 จุด ซึ่งทำหน้าที่ยึดกระดูกชนิดต่างๆ 26 ชนิดเข้าด้วยกัน นอกจากนี้เท้ายังประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ 100 มัดที่มีเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดกระดูกเข้าด้วยกัน
อุ้งใต้ฝ่าเท้าทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและการดีดตัวของร่างกายรวมถึงรักษาสมดุลของเท้าเเละขา ซึ่งโครงสร้างของอุ้งเท้าบ่งบอกถึงลักษณะการเดินของแต่ละคน โดยอุ้งเท้าต้องมีความแข็งเเรงและยืดหยุ่นเพื่อความสามารถใช้การรองรับเเรงเครียดขณะเดินและทำให้สามารถเดินบนพื้นผิวที่มีความแตกต่างกันได้
อาการเท้าแบน
สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเท้าแบนคืออาการเจ็บปวดที่ฝ่าเท้า ซึ่งเกิดขึ้นจากความตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดกระดูก
แรงตึงเครียดที่ผิดปกติบริเวณหัวเข่าและสะโพกทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อเหล่านี้ ซึ่งแรงเครียดเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อข้อเท้าบิดเข้าด้านใน
โดยส่วนใหญ่อาการเจ็บปวดมักเกิดขึ้นบริเวณเหล่านี้ได้แก่
ในข้อเท้าหรือมีอาการข้อเท้าบวมเกิดขึ้น
- อุ้งเท้าหรือมุมโค้งของฝ่าเท้า
- น่อง
- หัวเข่า
- สะโพก
- หลังด้านล่าง
- ขาส่วนล่าง
โดยเท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือเท้าทั้งสองข้างสามารถเกิดอาการปวดตึงได้
นอกจากนี้โรคเท้าแบนยังสามารถเกิดจากการลงน้ำหนักที่เท้าไม่เท่ากัน ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการสวมใส่รองเท้าที่มีพื้นไม่เท่ากันหรือรองเท้าที่มีพื้นชำรุดผิดปกติ โดยเฉพาะรองเท้าข้างใดข้างหนึ่งจึงส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคตได้
สาเหตุเท้าแบน
สาเหตุทั่วไปของลักษณะเท้าแบนได้แก่
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ยีนโรคเท้าแบนเป็นยีนที่สามารถส่งต่อผ่านยีนรุ่นพ่อเเม่ไปยังรุ่นลูกได้
- อุ้งเท้าอ่อนแอ่หมายถึงคนที่มีอุ้งเท้าชิดติดพื้นในขณะยืน
- อาการเจ็บปวดที่เท้าหรือข้อเท้า
- โรคข้ออักเสบหรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- เอ็นตาตุ่มเท้าด้านในอักเสบ บวมหรือฉีกขาด
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ เช่นกล้ามเนื้อลีบ ภาวะสมองพิการหรือความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดอาการเท้าแบนคือภาวะเท้าแบนติดแข็ง โดยอาการนี้เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่เชื่อมต่อกันบริเวณเท้าจึงทำให้เกิดอาการเท้าแบนได้
โดยปกติกุมารแพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดดังกล่าวได้ในผู้ป่วยตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคเท้าแบนได้มากขึ้นได้แก่ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน นอกจากนี้โรคเท้าแบนยังสามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ได้เป็นปกติเช่นกัน
โรคเท้าแบนสามารถเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากการใช้เส้นเอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างเป็นประจำทุกวันเป็นสาเหตุทำให้เส้นเอ็นบริเวณดังกล่าวเสื่อมลง ซึ่งเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่พยุงโครงสร้างของอุ้งเท้าเป็นหลัก
เมื่อเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและติดเชื้อหรือที่เรียกว่าอาการเส้นเอ็นอักเสบเนื่องจากเส้นเอ็นฉีกขาดจากการใช้งานมากเกินไป ดังนั้นการฉีกขาดของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อสามารถทำให้อุ้งเท้าเเบนได้เช่นกัน
นอกจากนี้อาการเท้าแบนยังเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กหรือเกิดได้กับเด็กทารกหลังคลอด
โรคเท้าแบนในเด็ก
เด็กหรือเด็กทารกมักมีลักษณะเท้าแบบนปรากฎขึ้น
โดยปกติอาการอุ้งเท้าแบนในเด็กยังคงเกิดขึ้นในขณะที่เด็กมีอายุมากขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอุ้งเท้าควรมีลักษณะโค้งเป็นปกติ แต่อาการเท้าบวมของเด็กทารกทำให้อุ้งเท้ามีลักษณะแบนได้
โรคเท้าแบนสามารถเกิดขึ้นในวัยเด็กช่วงต้น แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอาการเท้าเเบนตั้งแต่เด็กจะต้องมีลักษณะเท้าแบนตลอดไป
อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีลักษณะเท้าแบนมีสาเหตุเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกผิดปกติหรือสาเหตุอื่นๆ อย่างเช่นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง ซึ่งแพทย์สามารถทำการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
การรักษาเท้าแบน
ผู้ที่เป็นโรคเท้าแบนบางคนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเดินด้วยตนเองเพื่อป้องกันการเกิดเท้าแบบ โดยปกติผู้ที่ไม่เคยมีอาการเจ็บปวดขณะเดินไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
ถ้าหากเกิดอาการเจ็บปวดจากโรคเท้าแบน การสวมใส่รองเท้าสำหรับคนเท้าแบนสามารถช่วยได้ รวมถึงการใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีไม่รัดเกินไปสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคเท้าแบนได้เช่นกัน
การใส่แผ่นรองเท้าเต็มแผ่นและอุปกรณ์เสริมเท้าหรือรองเท้าที่ออกแบบสำหรับคนเท้าแบนโยเฉพาะสามารถช่วยบรรเทาแรงกดทับบนอุ้งเท้าและลดอาการเจ็บปวดได้ ถ้าหากเท้าบิดเข้าหากัน อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เสริมเหล่านี้สามารถใช้ช่วยรักษาอาการเบื้องตันได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถรักษาอาการเท้าแบนในระยะยาวได้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเอ็นยึดขาส่วนล่างสามารถใช้อุปกรณ์เสริมรองเท้าหรือแผ่นเสริมเท้าใส่เข้าไปในรองเท้าเพื่อรักษาสมดุลน้ำหนักของร่างกาย เมื่อลงน้ำหนักที่เส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อ
นอกจากนี้การสวมใส่ที่หุ้มข้อเท้าสามารถช่วยบรรเทาอาการบวมจากการอักเสบได้
โรคเท้าแบนอาจมีสาเหตุเกิดจากการที่กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติในช่วงวัยเด็ก ซึ่งอาจเกิดจากโรคเท้าแบนตั้งแต่เกิดและมีอาการเท้าเเบนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ มีกรณีส่วนน้อยเท่านั้นที่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อแยกกระดูกที่ติดกันให้แยกออกจากกัน
โรคอ้วนทำให้เกิดลักษณะเท้าแบนได้เช่นกันและการลดน้ำหนักสามารถทำให้อาการเท้าแบนหายไปได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flatfeet/symptoms-causes/syc-20372604
- https://www.nhs.uk/conditions/flat-feet/
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17005-flatfoot
- https://medlineplus.gov/ency/article/001262.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก