บาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) : อาการ สาเหตุ การรักษา

บาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.05
1045
0

การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) มีได้ตั้งแต่หัวโนไปจนถึงกะโหลกร้าว การบาดเจ็บที่ศีรษะบางชนิดอาจร้ายแรงมากทำให้สมองเสียหายและอาจถึงแก่ชีวิต

หากรู้อาการของสมองที่ถูกกระทบกระเทือนและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยทำให้รับมือกับการบาดเจ็บที่ศีรษะได้อย่างรวดเร็วและลดโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อน

ประเภทของการบาดเจ็บที่ศรีษะ

บาดเจ็บที่ศีรษะมีหลายประเภทและมีความร้ายแรงแตกต่างกันไป

ภาวะสมองบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) 

เกิดเมื่อสมองเสียหาย ส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุ อาจเกิดจากถูกตีที่ศีรษะ หรือมีวัตถุเจาะทะลุผ่านกะโหลกเข้าไปในสมอง รวมทั้งการที่ลูกบอลถูกศีรษะด้วยความเร็ว ตกลงมาจากที่สูงศีรษะโหม่งพื้น หรือ​ แผลถูกยิง

หากศีรษะถูกโยกอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน เพราะสมองจะเด้งไปมาหรือบิดอยู่ในกะโหลก ส่วนใหญ่เกิดจากอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณต้นคอจากการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลัน (Whiplash)

ภาวะนี้ทำให้สมองเกิดความเสียหาย มักจะเกิดลิ่มเลือดหรือฟกช้ำ การเกิดลิ่มเลือดในสมองเรียกว่า  ภาวะที่มีก้อนเลือดคั่งในสมองหรือโพรงน้ำสมอง หรือ intracranial hematoma (ICH) ความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งที่เลือดออกในสมอง

 อาการสมองกระทบกระเทือน 

เป็นภาวะสมองบาดเจ็บที่ทำให้สมองทำงานผิดปกติชั่วคราว อาการของสมองกระทบกระเทือนส่วนใหญ่ไม่รุนแรงหรือเกิดขึ้นไม่นานแต่อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้

กะโหลกถูกสร้างมาให้มีความแข็งแรงมาก เป็นกระดูกมีความหนาเพื่อที่จะปกป้องสมองจากการบาดเจ็บ แต่กะโหลกก็สามารถหักหรือแตกได้เมื่อได้รับแรงกระทบกระเทือนมากๆ

หากกะโหลกแตกและมีเศษกระดูกหรือสิ่งอื่นเจาะทะลุเข้าไปในสมอง เรียกว่า บาดเจ็บกะโหลกศีรษะแตก หรือทะลุ

อาการบาดเจ็บที่สมอง

อาการอาจแตกต่างไปตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ

หากอาการไม่รุนแรง

  • เลือดออกเล็กน้อย
  • ฟกช้ำ
  • ปวดศีรษะเล็กน้อย
  • รู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้
  • วิงเวียนศีรษะเล็กน้อย
  • หัวโน

อาการปานกลาง

  • หมดสติชั่วขณะ
  • สับสน งุนงง 
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะเป็นเวลานาน
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไปชั่วขณะ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ
  • สูญเสียการทรงตัว เซ

Head Injury

อาการรุนแรง

  • เลือดออกมาก
  • หมดสติไปและไม่ฟื้น
  • ชัก
  • มีปัญหาสายตา การรับรส กลิ่น
  • ไม่สามารถตื่น หรือมีสติได้
  • มีน้ำใสหรือเลือดไหลออกมาจากหูหรือจมูก
  • ฟกช้ำบริเวณหลังหู
  • อ่อนเพลียหรือ ชา
  • พูดไม่ได้ พูดลำบาก

อาการที่สำคัญของสมองกระทบกระเทือน มีดังนี้

  • สับสน
  • ปวดศีรษะ
  • ตาแพ้แสงและไวต่อเสียง
  • คลื่นไส้
  • สูญเสียการทรงตัว
  • ตาพร่ามัว
  • รู้สึกวิงเวียน โซซัดโซเซ
  • ไม่สามารถจดจ่อต่อสิ่งใดได้

การบาดเจ็บที่ศีรษะ กับการถูกกระแทก

การกระแทกที่ศีรษะเกิดขึ้นได้บ่อยและไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่แพทย์ยังไม่มีสิ่งที่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นการกระแทกหรือเป็นอาการบาดเจ็บ

อาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการสามารถรักษาได้ที่บ้าน แต่ก็ควรจะรู้สัญญาณของอาการสมองกระทบกระเทือนและรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการ

ควรพบแพทย์เมื่อใด

หากอาการบาดเจ็บปานกลางและรุนแรงต้องรักษาโดยด่วน แม้อาการไม่รุนแรงแต่เป็นอยู่นานกว่าสองสัปดาห์ควรไปพบแพทย์

อาการสมองกระทบกระเทือนอาจไม่แสดงให้เห็นโดยทันที  บางครั้งผู้ป่วยอาจแสดงอาการหลังจากเกิดการบาดเจ็บหลายวัน หรือเป็นสัปดาห์

ควรให้ความสำคัญกับอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ ควรปรึกษาแพทย์หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ แม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม

การรักษาและการปฐมพยาบาล

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ที่บ้าน ใช้การประคบเย็นช่วยลดอาการบวมได้

รับประทานยาไทลินอลเพื่อลดอาการปวดได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน และ แอสไพริน ยกเว้นแพทย์จะสั่ง

ในช่วง 24ชั่วโมงแรกหลังจากการบาดเจ็บควรมีคนคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

จำเป็นต้องไปพบแพทย์หากผู้ป่วยหมดสติ มีอาการสับสนหรือจำความไม่ได้ 

 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดหรือแอลกอออล์  หลังจากบาดเจ็บที่ศีรษะ ไม่ควรขับรถหรือเล่นกีฬา อาจต้องพักจากงานหรือโรงเรียน

อาการบาดเจ็บรุนแรงต้องได้รับการรักษาทันที ควรเรียกรถพยาบาลหากพบเห็นผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง

ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการเลวลง และไม่ควรพยายามถอดหมวกกันน็อค

ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ได้รับการผ่าตัด และ การรักษาระยะยาว

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *