อัลมอนด์ (Almond) อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน และไฟเบอร์ และยังให้คุณประโยชน์มากมายแก่สุขภาพ อัลมอนด์เพียงหนึ่งกำมือหรือประมาณ 1 ออนซ์ มีโปรตีน 1 ใน 8 ส่วนที่ร่างกายต้องการ
เราสามารถทานอัลมอนด์ดิบหรืออบแบบขนม หรือใส่ลงในอาหารหรือขนมได้ มีทั้งแบบอัลมอนด์สไลด์ เกล็ดเล็ก หรือเศษ เป็นน้ำมัน เนย หรือนมอัลมอนด์
คนส่วนมากเรียกว่าอัลมอนด์ว่าถั่ว แต่จริงๆแล้วอัลมอนด์เป็นเมล็ด
ประโยชน์ของอัลมอนด์
1) อัลมอนด์และคลอเลสเตอรอล
อัลมอนด์มีไขมันสูงแต่เป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ไขมันชนิดนี้จะไม่เพิ่มความเสี่ยงของไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ หรือคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และอัลมอนด์ก็ไม่มีคลอเลสเตอรอลด้วย
การบริโภคอัลมอนด์จะช่วย:
- เพิ่มระดับวิตามิน อี ในพลาสมา และเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ลดคอเลสเตอรอล
จากงานวิจัย วิตามิน อี คือสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยหยุดกระบวนการออกซิเดชั่นที่จะทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดอาร์เตอรี่ได้
2) อัลมอนด์และความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
งานวิจัยในปี 2015 ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคอัลมอนด์ และความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
ผู้เขียนพิสูจน์ว่า ผู้ที่รับประทานอัลมอนด์สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้สองถึงสามเท่าของผู้ที่บริโภคถั่ว วอลนัต และอัลมอนด์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่บริโภคเลย
พวกเขาสรุปได้ว่า ถั่ว วอลนัต และอัลมอนด์ป้องกันการเกิดปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
3) อัลมอนด์และโรคหัวใจ
อัลมอนด์ ถั่ว และเมล็ดพันธ์ต่าง ๆ ช่วยให้ระดับไขมันในเลือดดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าอัลมอนด์เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือด ลดความดันในเลือด และช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
นักวิจัยเชื่อว่านี้อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจาก:
- วิตามินอี ไขมันดี และไฟเบอร์ ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่ม
- สารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อฟลาโวนอยด์
นักวิจัยแนะนำให้ทานอัลมอนด์หนึ่งกำมือในหนึ่งวันเพื่อรับประโยชน์เหล่านี้
4) อัลมอนด์และวิตามินอี
อัลมอนด์มีวิตามินอีสูง ซึ่งวิตามินอีนั้นประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างโทโคฟีรอล อัลมอนด์หนึ่งออนซ์ให้วิตามินอี 7.27 มิลลิกรัม ที่เป็นครึ่งนึงของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
วิตามินอีและสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันการทำลายของกระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกาย ซึ่งการนี้จะเกิดเมื่อมีอนุมูลอิสระสะสมมากเกินไป
อนุมูลอิสระเกิดจากกระบวนการธรรมชาติในร่างกายและความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ร่างกายสามารถขจัดได้ แต่อาหารต้านอนุมูอิสระช่วยขจัดสารเหล่านี้ออกไปได้เช่นกัน ระดับการเกิดของอนุมูลอิสระที่มากเกิดไปจะทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ซึ่งทำลายเซลล์ ซึ่งทำให้เกิดโรค และปัญหาสุขภาพต่างๆ
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า การบริโภควิตามินอีในปริมาณมากจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่
5) อัลมอนด์และน้ำตาลในเลือด
มีหลักฐานว่าอัลมอนด์ช่วยจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้
หลาย ๆ คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะมีแมกนีเซียมต่ำ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่สามารถจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้ นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่าอาจจะมีความเชื่อมโยงระหว่างภาวะขาดแคลนแมกนีเซียมและความทนต่ออินซูลิน
งานวิจัยในปี 2011 ผู้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จำนวน 20 คน กินอัลมอนด์ทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทั้งหมดมีการพัฒนาดังนี้
- ระดับน้ำตาลในเลือด
- ระดับไขมัน
6) อัลมอนด์ช่วยจัดการน้ำหนัก
อัลมอนด์มีคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่มีโปรตีนสูง มีไขมันดี และไฟเบอร์
การรับประทานอัลมอนด์เป็นขนมทุกวันในตอนเช้าจะทำให้รู้สึกอิ่ม คนที่บริโภคอัลมอนด์ 28 กรัม (173 แคลอรี่ ) หรือ 42 กรัม (259 แคลอรี่) มีความอยากอาหารน้อยลง
การรู้สึกอิ่มช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ความอยากขนมลดลง
7) อัลมอนด์ช่วยเสริมสุขภาพของกระดูก
อัลมอนด์ประกอบไปด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส คอปเปอร์ วิตามินเค โปรตีน และเหล็ก ที่มีส่วนทำให้เสริมสุขภาพของกระดูก
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอัลมอนด์ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารดังต่อไปนี้
โภชนาการ
ตารางแสดงจำนวนสารอาหารของอัลมอนด์จำนวน 1 ออนซ์ (28.4 กรัม) ปริมาณอัลมอนด์หนึ่งกำมือเท่ากับอัลมอนด์แกะเปลือกประมาณ 23 เมล็ด
สารอาหาร |
ปริมาณ 1 ออนซ์ | จำนวนที่ร่างกายผู้ใหญ่ต้องการ |
พลังงาน (แคลอรี่) |
164 |
1,800–3,000 |
คาร์โบไฮเดรต (ก.) |
ประกอบด้วยน้ำตาล 1.2 กรัม | 130 |
ไขมัน | ไขมันไม่อิ่มตัว 12.4 กรัม |
20%-35% ของแคลอรี่ต่อวัน |
ใยอาหาร (ก.) |
3.5 | 25.2–30.8 |
โปรตีน (ก.) | 6.0 |
46–56 |
แคลเซียม (มก.) |
76.3 | 1,000–1,200 |
เหล็ก (มก.) |
1.0 |
8–18 |
แมกนีเซียม (มก.) | 76.5 |
310–420 |
ฟอสฟอรัส (มก.) |
136 | 700 |
โพแทสเซียม (มก.) | 208 |
4,700 |
สังกะสี (มก.) |
0.9 |
8–11 |
คอปเปอร์ (มก.) |
0.3 |
900 |
แมงกานีส (มก.) |
0.6 |
1.8–2.3 |
เซเลเนียม (ไมโครกรัม) |
1.2 |
55 |
โฟเลต |
12.5 |
300–400 |
วิตามินอี (มก.) | 7.27 |
15 |
คอเลสเตอรอล | 0 |
ไม่มีข้อมูล |
ความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามที่ผู้เชี่ยวชาญได้บอกไว้สำหรับการบริโภคอัลมอนด์
การแพ้
ผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วต้องหลีกเลี่ยงอัลมอนด์ ผู้ที่มีอาการลมพิษ มีอาการบวม หายใจติดขัดหลังจากกินอัลมอนด์ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน อาการนี้เรียกว่าโรคภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอันตรายต่อชีวิต
อาการหายใจลำบากและสำลักเข้าปอด
เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ และผู้ที่กลืนอาหารยากควรหลีกเลี่ยงการทานอัลมอนด์แบบเต็มเมล็ดที่อาจจะทำให้เกิดการติดคอหายใจไม่ออก
ผู้มีอาการจิตเสื่อม โรคพาร์กินสัน และลดการเคลื่อนไหวอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงของการสำลัก ซึ่งจะทำให้อาหารเข้าไปในปอด อาการสำลักอาหารสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างโรคปอดบวม
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก