ไตรกลีเซอไรด์สูง (High Trigly cerides) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย แต่เบื้องต้นหลายคนไม่ทราบเกี่ยวกับไตรกลีเซอไรด์สูง มีการศึกษาพบว่า ระดับของไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโรคหัวใจ หัวใจวาย (Heart Attacks) และโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลที่ดี ( HDL cholesterol) น้อย และในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
มีหลายอย่างที่คุณสามารถทำ เพื่อลดไตรกลีเซอไรด์ และปรับปรุงสุขภาพได้ด้วยตัวเอง
ขั้นแรกให้ตรวจสอบว่าคุณมีไตรกลีเซอไรด์สูงหรือไม่ จากนั้นจึงค้นหาสิ่งที่ต้องทำ
รู้จักระดับไตรกลีเซอไรด์ของคุณ
ระดับของไตรกลีเซอไรด์ ตามการตรวจเลือดขณะอดอาหาร
-
ปกติ: น้อยกว่า 150 mg / dL
-
ภาวะก้ำกึ่ง: 150 – 199 mg / dL
-
สูง: 200 – 499 mg / dL
-
สูงมาก: 500 mg / dL ขึ้นไป
ทำไมไตรกลีเซอไรด์สูงจึงไม่ดี
ไตรกลีเซอไรด์ในระดับสูงมากส่งผลต่อปัญหาของตับ และตับอ่อน
แต่จากการค้นคว้ากลับแสดงผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกันในบทบาทของไตรกลีเซอไรด์สูงกับความเสี่ยงของโรคหัวใจ ( heart disease) ผู้เชี่ยวชาญบางคนไม่เห็นด้วยว่า ไตรกลีเซอไรด์มีบทบาทสำคัญในปัญหาหัวใจ
ภาวะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมักจะแสดงให้เห็นพร้อมกับปัญหาอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน มีระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ในระดับสูง และมี คอเลสเตอรอลที่ดี (HDL)ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะระบุแน่ชัดว่าปัญหาใดบ้างที่เกิดจากไตรกลีเซอไรด์สูงเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างเช่น บางคนมีภาวะทางพันธุกรรมที่ดูเหมือนว่าจะเป็นสาเหตุของระดับไตรกลีเซอไรด์สูง แต่กลับไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีหลักฐานบางอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าไตรกลีเซอไรด์ที่สูงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย การศึกษาอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าไตรกลีเซอไรด์สูงอาจมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเมื่อคำนึงถึงความเสี่ยงอย่างอื่นที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องนักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่า จะพบว่ายาที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้
โดยรวมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การปรับปรุงอาหาร และพฤติกรรมดำเนินชีวิต จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ และลดความเสี่ยงโดยรวมของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด
การควบคุมไตรกลีเซอไรด์สูง: การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แม้การตรวจพบว่า มีไตรกลีเซอไรด์สูงอาจทำให้คุณหงุดหงิดอารมณ์เสีย แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลง คุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
- ออกกำลังกายให้มากขึ้น ออกกำลังกายให้มากขึ้น การออกกำลังกายมีผลอย่างมากต่อระดับไตรกลีเซอไรด์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกายอย่างครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หากคุณสุขภาพไม่ดีให้เริ่มออกกำลังกายอย่างช้าๆ อาจเริ่มต้นด้วยการเดินเร็วๆ สามครั้งต่อสัปดาห์ แล้วค่อยๆ เพิ่มการออกกำลังกายหลังจากนั้น
- ลดน้ำหนัก หากคุณมีน้ำหนักตัวมากให้ลดน้ำหนักสัก 2-3 ปอนด์ และพยายามรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้แต่ต้องให้ความสำคัญกับอาหารด้วย กุญแจสำคัญคือการกินอาหารที่มีแคลอรี่น้อยลง ทั้งจากไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีน เน้นอาหารที่มีผลไม้ ผัก โปรตีนไม่ติดมัน และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ การลดอาหารที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม ก็ช่วยได้เช่นกัน
- เลือกไขมันที่ดีกว่า เลือกไขมันที่ดีกว่า ใส่ใจกับไขมันที่คุณกินมากขึ้น กินอาหารที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพน้อยลง (พบในเนื้อสัตว์เนย และชีส) ลดไขมันทรานส์ (ในอาหารแปรรูปและมาการีน) รวมทั้งลดคอเลสเตอรอล เพิ่มการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ดีต่อสุขภาพซึ่งพบในน้ำมันมะกอกถั่วและปลาบางชนิด จากการศึกษาพบว่าโอเมก้า 3 ในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาซาร์ดีน มีผลดีอย่างยิ่งต่อการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เนื่องจากแม้ไขมันที่ดีต่อสุขภาพจะมีแคลอรี่สูง คุณก็ยังต้องกินอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์พุ่งสูงขึ้นได้ จึงควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์เพียงวันละ 1 แก้ว
การควบคุมไตรกลีเซอไรด์สูง: การรักษาโดยการใช้ยา
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและไตรกลีเซอไรด์สูงอาจต้องใช้ยา เพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลง
-
ยากลุ่ม Fibrates นอกจากสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้แล้ว ยังช่วยทำให้ปรับระดับคอเลสเตอรอลให้ดีขึ้นด้วย
-
น้ำมันปลา ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 น้ำมันปลา สามารถช่วยควบคุมไตรกลีเซอไรด์ได้ ขอคำแนะนำจากแพทย์ว่าคุณควรใช้น้ำมันปลาตามใบสั่งแพทย์หรือไม่. กรดโอเมก้า 3 จากแหล่งพืช เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ก็อาจช่วยได้
-
ไนอาซิน (กรดนิโคติน : nicotinic acid) สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้ถึง 50 % มีจำหน่ายทั้งในรูปแบบอาหารเสริมที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ และเป็นแบบที่เป็นยาซึ่งต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์
-
Statins เป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษาระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลที่ ‘ไม่ดี’ และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังลดไตรกลีเซอไรด์ได้ด้วย
-
PCSK9 Inhibitors เป็นยาอีกประเภทหนึ่งที่อาจใช้ร่วมกับ statins หรือใช้ PCSK9 Inhibitors เพียงก็ได้ พบว่าสามารถป้องกันโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ นอกจากนี้ยังลดระดับคอเลสเตอรอล LDLด้วย
-
แพทย์บางคนแนะนำให้ใช้ fibrates น้ำมันปลา หรือไนอาซิน เพื่อช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์
หากมีการบริโภคยาอาหารเสริม และวิตามิน ยาทั่วไปบางชนิด เช่น beta-blockers ยาคุมกำเนิด และยาขับปัสสาวะ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ นี่อาจเป็นผลข้างเคียงทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง ซึ่งเป็นไปได้ว่าหนึ่งในนั้นอาจทำให้เกิดปัญหา
การรักษาไตรกลีเซอไรด์สูง
เมื่อกล่าวถึงคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ
ไปพบแพทย์และตรวจสุขภาพ หากไตรกลีเซอไรด์สูง แพทย์สามารถแนะนำแผนการรักษา หรือคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพได้ และมียาลดไตรกลีเซอร์ไรด์ แต่ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก