น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

29.03
2559
0

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือดลดลง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่สามารถบอกถึงปัญหาด้านสุขภาพชนิดหนึ่ง

ทุกๆ เซลล์ของร่างกายรวมถึงส่วนของสมองต้องการพลังงานในการทำงานทั้งสิ้น กลูโคสจะจ่ายพลังงานสู่ร่างกาย อินซูลิน ฮอร์โมนและเซลล์จะสามารถนำไปใช้ได้

สัญญานของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือรู้สึกหิว  ตัวสั่น  หัวใจเต้นเร็ว  คลื่นไส้  และเหงื่อออก ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่อาการโคม่าและเสียชีวิตได้

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถเกิดขึ้นได้จากโรคหลายโรค แต่โดยมากมักเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของการใช้ยาบางชนิด เช่นอินซูลิน ในคนที่เป็นโรคเบาหวานที่จำเป็นต้องใช้อินซูลินเพื่อดูแลระดับน้ำตาลที่สูง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคืออะไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้นเมื่อน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือดมีไม่เพียงพอ

ทางสถาบัน National Institutes of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK) ได้ระบุไว้ว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือเมื่อมีระดับน้ำตาลต่ำกว่า 70 มก./ดล.

สาเหตุภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักเกิดมาจากหลายเหตุผล

การควบคุมน้ำตาลในเลือด

ระบบย่อยอาหารจะย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตจากอาหาร หนึ่งในโมเลกุลนี้จะสร้างกลูโคสขึ้น ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย

กลูโคสจะเข้าสู่กระแสเลือดหลังจากเรารับประทานอาหาร อย่างไรก็ตามกลูโคสเองก็ต้องการอินซูลิน-ฮอร์โมนที่สร้างโดยตับอ่อน  ก่อนที่จะเข้าไปสู่เซลล์ หรืออีกนัยหนึ่งคือหากมีระดับกลูโคสในปริมาณที่พอเพียง  เซลล์ก็จะโหยหาพลังงานหากไม่มีอินซูลิน

หลังจากการรับประทานอาหารเข้าไป ตับอ่อนจะปล่อยอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสมออกมาโดยอัตโนมัติเพื่อนำพากลูโคสในเลือดไปสู่เซลล์ต่างๆ ในขณะที่กลูโคสเข้าไปสู่เซลล์ ระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำลง

กลูโคสพิเศษจะเข้าไปอยู่ที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน ร่างกายจะสามารถนำกลูโคสนี้ออกมาใช้ภายหลังได้เมื่อต้องการพลังงานเพิ่ม

อินซูลินมีหน้าที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงนำกลับลงมาในระดับปกติได้

หากระดับกลูโคสตกลงเพราะการไม่ได้รับประทานอาหารในช่วงเวลาหนึ่ง ตับอ่อนจะหลั่งไกลโคเจนออกมา -ฮอร์โมนอื่น- ซึ่งจะไปกระตุ้นการย่อยไกลโคเจนที่เก็บไว้ให้เป็นกลูโคส

ร่างกายจะปล่อยไกลโคเจนเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำกลูโคสกลับสู่ระดับปกติ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและโรคเบาหวาน

เบาหวานทั้งแบบ 1 และแบบ 2 คือโรคที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของอินซูลินทั้งสองแบบ

เบาหวานแบบที่ 1 : คือเซลล์เสียหายซึ่งทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ตามปกติ นั่นหมายความว่าร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เอง

เบาหวานแบบที่ 2: เซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่อระดับอินซูลินที่เหมาะสมได้ หรือตับอ่อนไม่สามารถปล่อยอินซูลินได้เพียงพอ

โรคเบาหวานทั้ง 2 แบบ เซลล์จะไม่ได้รับพลังงานที่พอเพียง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 1 และผู้ป่วยแบบที่ 2 บางรายอาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดลง

หากมีใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ระดับน้ำตาลอาจตกลงเร็วมากเกินไปส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถเกิดขึ้นได้หากคนๆนั้นมีการรับประทานอาหารไม่เพียงพอบ่อยๆ

คนปกติทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกาย ซึ่งในบางทีอินซูลินอาจมีมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในบางขณะได้

จากข้อมูลของ NIDDK พบว่าการใช้อินซูลินและยาสองชนิดสามารถส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ยาทั้งสองตัวที่กล่าวไว้คือยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียและยา กลุ่มเมกลิทิไนด์

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเด็ก: Pediatric ketotic hypoglycemia

เด็กบางคนอาจประสบกับภาวะ pediatric ketotic hypoglycemia คือการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและมีระดับสารอีกตัวในระดับที่สูงที่เรารู้จักกันว่าคีโตน

แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุจริงๆว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่อาจมีสาเหตุมาจาก:

  • ระบบเมตาบอลิซึมในเด็กมีปัญหามาตั้งแต่เกิด

  • มีโรคที่นำไปสู่กระบวนการผลิตฮอร์โมนที่มากเกินไป

อาการอาจปรากฏให้เห็นหลังจากอายุได้ 6 เดือนและจะหายไปเองในช่วงวัยรุ่น

อาการในเด็กคือ:

หากพบว่าเด็กแสดงอาการหรือสัญญานใดตามข้อมูลข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเท่าที่ทำได้

โรค Insulin autoimmune syndrome

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอีกอย่างก็คือการเป็นโรค insulin autoimmune syndrome เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายโจมตีอินซูลิน เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นสารที่ร่างกายไม่ต้องการ

อาการอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน และจะหายไปเองในระยะเวลาสองถึงสามเดือน แต่ในบางครั้งก็อาจกลับมาเป็นอีกครั้ง

การรักษาคือการควบคุมอาการเท่านั้น

อาการและการรักษาคล้ายกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากสาเหตุอื่นๆ

จากสาเหตุอื่น ๆ

ผู้ป่วยบางรายอาจประสบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาจากสาเหตุอื่นๆเช่น

การรับประทานยาบางชนิด: ยาควินิน เป็นยาต้านมาลาเรีย ที่สามารถไปกระตุ้นให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การใช้ยาซาลิไซเลตในปริมาณที่สูงเพื่อไว้รักษา       โรครูห์มาติก หรือยาโพรพราโนลอลสำหรับโรคความดันโลหิตสูง ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกลงได้ และที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการรับประทานยาโรคเบาหวานเข้าไปโดยไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน

การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปมีผลทำให้ตับหยุดการปล่อยกลูโคสที่สะสมไว้เข้าสู่กระแสเลือด

โรคตับบางชนิด: ยาไวรัสตับอักเสบก็สามารถนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้เพราะส่งผลกระทบต่อตับ

โรคไต: คนที่เป็นโรคไตมักมีปัญหาเรื่องการขับยาออก เป็นผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

การรับประทานไม่เพียงพอ: คนที่มีปัญหาด้านการกินเช่นคนที่เป็นโรคกลัวอ้วน อะนอเร็กเซีย อาจต้องประสบกับภาวะน้ำตาลในเลือดตก การอดอาหารหรืองดมื้ออาหารอาจนำไปสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วยเช่นกัน

โรค Insulinoma: คือเนื้องอกตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินมากเกินไป

การเพิ่มกิจกรรม: การเพิ่มระดับการทำกิจกรรมทางร่างกายสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ในบางเวลา

ระบบต่อมไร้ท่อมีปัญหา: โรคบางโรคที่เกิดจากต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองก็อาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ โดยมักเกิดขึ้นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังมื้ออาหาร: เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินมากเกินไปหลังมื้ออาหาร

เนื้องอก: พบได้ไม่บ่อยนัก เนื้องอกในส่วนอื่นๆของร่างกายเป็นสาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การอาการป่วยรุนแรง: โรคบางโรคเช่นมะเร็งสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงตับอ่อนด้วยก็สามารถนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

อาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดไม่รุนแรงมักมีอาการขั้นต้นดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกหิว

  • ตัวสั่น

  • เหงื่อออก

  • สั่น

  • หน้าซีด

  • ใจสั่น

  • หัวใจเต้นเร็วหรือหัวใจเต้นผิดปกติ

  • หน้ามืดหรืออ่อนแรง

  • สายตาเบลอ

  • รู้สึกสับสน

อาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรงคือ:

  • อ่อนแรงและเหนื่อยล้า

  • ไม่มีสมาธิ

  • หงุดหงิดและกระสับกระส่าย

  • รู้สึกสับสน

  • ไม่มีสติสัมปขัญญะหรือมีพฤติกรรมขัดแย้งและบุคลิกเปลี่ยน

  • เจ็บแปลบในปาก

  • มีปัญหาการเคลื่อนไหว

ภาวะแทรกซ้อน

หากปล่อยไว้โดยไม่ทำใดๆ อาจเกิดสิ่งต่อไปนี้:

  • มีปัญหาการกินและการดื่ม

  • ชัก

  • หมดสติ

  • มีอาการโคม่า

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆอาจยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นจนกระทั่งมีอาการหรือเริ่มมีอาการแย่ลง ผู้ป่วยอาจไม่ทันสังเกตเห็นสัญญานเตือน และสิ่งนี้เองนำไปสู่อาการที่รุนแรงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยครั้งเป็นสัญญานเตือนในเรื่องของการจัดการโรคเบาหวานได้ยังไม่ดีพอ

การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ทุกคนที่เคยมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแต่ไม่รู้เพราะอะไรควรไปพบแพทย์

แพทย์จะทำการวินิจฉัยดังต่อไปนี้:

  • สั่งตรวจเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด

  • ซักถามอาการ รวมถึงอาการเมื่อดีขึ้นหลังจากระดับน้ำตาลในเลือดกลับสู่ภาวะปกติ

  • เช็คประวัติการใช้ยาและโรคประจำตัว

  • สอบถามเรื่องปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การวินิจฉัยอาศัยเกณฑ์ตาม Whipple’s triad

เกณฑ์การวินิจฉัยมีอยู่สามระดับ ที่เรารู้จักกันว่าเป็นเกณฑ์ Whipple’s criteria

เกณฑ์ Whipple’s Triad ได้แก่:

  • มีสัญญานและอาการที่บ่งชี้ว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • เมื่อมีอาการแล้ว ผลตรวจเลือดแสดงให้เห็นว่ามีระดับกลูโคสต่ำ

  • อาการดังกล่าวหายไปเมื่อได้รับน้ำตาลกลูโคส

ในเวลาที่ไปพบแพทย์ ผู้ป่วยบางรายอาจยังไม่มีอาการ แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยงดอาหาร ตามปกติคือข้ามคืน เพื่อให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้นเพื่อแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้เวลาในโรงพยาบาลนานกว่าปกติ

หากอาการยังไม่ปรากฏหลังจากการรับประทานอาหาร แพทย์อาจจำเป็นต้องเพิ่มกลูโคสชนิดอื่นเพื่อตรวจหลังการรับประทานเพิ่มเติม

Hypoglycemia

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากพบสัญญานของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำควรรีบบริโภคสิ่งต่อไปนี้ในทันที:

  • กลูโคสเม็ด

  • น้ำตาลก้อน

  • ลูกอม

  • น้ำผลไม้

เพื่อให้ได้ผลทันทีหลังจากกินของหวานข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดค่อยๆปล่อย เช่น ซีเรียล ขนมปัง ข้าวหรือผลไม้

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรเช็คระดับกลูโคสในเลือดและดูแลเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จากนั้นคอยประมาณ 15-20 นาทีแล้วเช็คระดับน้ำตาลในเลือดใหม่อีกครั้ง  .

หากพบว่ายังมีระดับน้ำตาลต่ำอยู่ ควรทำตามขั้นตอนข้างต้นซ้ำอีกครั้ง อาจมีการกินกลูโคสเพิ่ม แล้วคอย 15-20 นาที จากนั้นเช็คน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง

คนที่เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรับประทานอาหารบ่อยๆ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ไว้เสมอ

อาการขั้นรุนแรง

หากมีอาการรุนแรง และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ควรขอความช่วยเหลือให้คนไปเตรียมน้ำผึ้ง แยมหรือกลูโคลแบบเจลใส่เข้าไปบริเวณกระพุ้งแก้มด้านใน ผู้ป่วยควรจะมีอาการดีขึ้นภายใน 10-20 นาที

โภชนาการ

ปัจจัยด้านโภชนาการสามารถช่วยควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

อาหารน้ำตาลต่ำ:  การเลือกรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสูงสามารถช่วยได้ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะใช้เวลาในการดูดซึมที่ยาวนานกว่า ทำให้ระดับน้ำตาลไม่เหวี่ยง

แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ: ด้วยการรับประทานอาหารมื้อเล็กๆอย่างต่ำสามมื้อต่อวันจะสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่

ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับคำแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารชนิดน้ำตาลต่ำ โปรตีนสูง สำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากช่วยลดการต้านกลูโคสแล้วยังสามารถช่วยลดไขมันที่ไม่ต้องการได้ด้วย

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งคู่ต่างเกี่ยวข้องกับเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดทั้งคู่ แต่ไม่เหมือนกัน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ: คือการมีน้ำตาลในเลือดน้อยเกินไป คือต่ำกว่า 70 มก/ดล

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง: คือระดับกลูโคสสูงเกินไป เกิน 126 มก/ล เมื่ออดอาหารหรือ 200 มก/ดล. หลังรับประทานอาหารไป 2 ชั่วโมง

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได่ในคนส่วนใหญ่

คนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอันเนื่องมาจากโรคประจำตัวควรปฏิบัติดังนี้:

ปฏิบัติตามแผนการรักษา: เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการทำตามคำแนะนำของแพทย์และคอยสังเกตอาการที่เปลี่ยนไป.

ตรวจเช็คระดับกลูโคสในเลือด: เพื่อลดความเสี่ยงควรตรวจระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอและเรียนรู้วิธีจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น

แอลกอฮอล์: ควรจำกัดปริมาณการดื่มตามคำแนะนำของแพทย์และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง

การออกกำลังกาย: รับประทานอาหารว่างที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตก่อนการออกกำลังกายและรับทราบวิธีการออกกำลังกายที่ส่งผลประทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด

ดูแลตัวเองเมื่อไม่สบาย: ยกตัวอย่างเช่น การอาเจียน

เตรียมพร้อมเสมอ: พกน้ำผลไม้หรือลูกอมติดตัวในกรณีที่เกิดอาการขึ้น

แจ้งให้คนรอบข้างรับทราบ: คนที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำควรบอกให้เพื่อน เพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกในครอบครัวให้รับทราบไว้ล่วงหน้า

พกบัตรผู้ป่วย: พกบัตรผู้ป่วยหรือสายรัดข้อมือแจ้งโรคเพื่อเกิดกรณีฉุกเฉินคนอื่นจะได้รู้ได้ไวขึ้น

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจนำไปสู่อาการอื่นๆมากมายเช่น หน้ามืด อ่อนแรงและในรายที่เป็นขั้นรุนแรง อาจหมดสติได้ คนที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคเบาหวาน อาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

สิ่งที่สำคัญคือต้องเรียนรู้วิธีจัดการและพร้อมรับมือกับอาการที่เกิดขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *