ภาวะเลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) เกิดขึ้นเมื่อเลือดคั่งในสมองอย่างเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อสมองเกิดความเสียหาย
ภาวะเลือดคั่งในสมองเป็นสถานการณ์เร่งด่วนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต จำเป็นต้องได้รับการรักษาในทันที
ภาวะเลือดคั่งในสมองคืออะไร
ภาวะเลือดคั่งในสมองเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เนื้อเยื่อสมองเต็มไปด้วยเลือด
เลือดที่มากเกินไปทำให้เกิดความดันในสมอง ซึ่งทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ในกรณีที่เลือดออกอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้
ภาวะเลือดคั่งในสมองเกิดขึ้นได้ในบริเวณต่าง ๆ ของสมอง บิเวณที่พบบ่อย ๆ ได้แก่:
-
ปมฐานประสาท (basal ganglia)
-
เซรีเบลลัม (cerebellum)
-
ก้านสมอง (brain stem)
-
เยื่อหุ้มสมอง (cortex)
อาการเริ่มต้นต่าง ๆ มีดังนี้
เมื่อมีอาการของภาวะเลือดคั่งในสมอง ควรพบแพทย์ในทันที
การรักษาภาวะเลือดคั่งในสมองนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหยุดเลือดที่ไหลและระบายเลือดออกจากสมอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นและบริเวณที่เลือดออก ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาเป็นเวลานาน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ภาวะเลือดคั่งในสมองสามารถเกิดขึ้นกับผู้ใด ช่วงอายุใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้นมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปอีกที่จะเกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง
การมีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ไม่รู้ตัวและไม่ได้รับการรักษาคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง
มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพราะไม่มีอาการจนกว่าจะไปตรวจพบเมื่อทำการตรวจโรคอื่น
สำหรับคนหนุ่มสาว มีแนวโน้มที่จะเป็นความดันโลหิตสูงน้อย แต่เส้นเลือดที่ผิดปกติในสมองอาจทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในสมองได้
สาเหตุของภาวะเลือดคั่งในสมองที่พบไม่บ่อยมีดังนี้:
-
ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
-
เนื้องอก
-
การใช้ยาเจือจางเลือด
-
หลอดเลือดสมองโป่งแตกในสมอง
-
มีลิ่มเลือด
-
การใช้สารเสพติด
-
ความผิดปกติของเลือด เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ความเสี่ยงของการมีภาวะเลือดคั่งในสมองนั้นอาจเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคความดันโลหิตสูงนั้นมักจะพบในผู้สูงอายุมากกว่า
เราอาจสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดคั่งในสมองได้ ดังนี้:
-
ควบคุมเบาหวาน
-
หยุด หรือ ไม่สูบบุหรี่
-
จัดการ และ รักษาโรคหัวใจต่าง ๆ
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-
รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
-
รักษาความดันโลหิตสูง
อาการ ภาวะเลือดคั่งในสมอง
มีอาการหลายอย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้ และอาการบางอย่างนั้นดูเหมือนจะไม่เป็นอันตราย เช่น อาการปวดหัว
อย่างไรก็ตาม การสังเกตสัญญาณเตือนและอาการต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ อาการที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้:
-
ปวดหัวอย่างฉับพลัน และรุนแรง
-
พูดลำบาก
-
ไม่เข้าใจผู้อื่น
-
เขียนหรืออ่านไม่ได้อย่างฉับพลัน
-
ชา อ่อนแรง ที่แขน ขา หรือหน้าข้างใดข้างหนึ่งอย่างฉับพลัน
-
สับสนเฉียบพลัน
-
หมดสติ
-
เหนื่อยมาก
-
คลื่นไส้ หรือ อาเจียน
-
ทรงตัวไม่ได้
-
มีปัญหาการมองเห็นกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
-
สับสน
-
ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน
หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที เพราะเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์
การรักษาเลือดคั่งในสมอง
การรักษาภาวะเลือดคั่งในสมองมี 2 แบบ การรักษาในทันทีกับการรักษาระยะยาว
ปกติแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับผลลัพท์จากการรรักษาที่ดีเมื่อได้รักการรักษาภายใน 3 ชั่วโมงที่เลือดเริ่มออก ยิ่งปล่อยให้เลือดออกนานแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้
การรักษาในทันทีของภาวะเลือดคั่งในสมองนั้นปกติแล้วคือการควบคุมความดันของเลือดและเลือดที่ออก บางครั้งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด
ระหว่างที่ผ่าตัดเลือดคั่งในสมอง แพทย์จะนำลิ่มเลือดออก ซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย และลดความดันในสมอง
ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น อาการปวดหัว และความดันโลหิตสูง แพทย์จะจ่ายยาต้านชักให้ด้วย ซึ่งอาจต้องรับประทานไปหลายเดือนหรือหลายปี
สำหรับการดูแลในระยะยาว ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาลดความดันและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกอีกในอนาคต
การรักษาเพิ่มเติมอย่างอื่นขึ้นอยูากับความเสียหายของสมอง ผู้ป่วยอาจต้องเข้าทำกิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยให้สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้อีกครั้งและไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
ผู้ป่วยอาจต้องทำอรรถบำบัดด้วยเพื่อที่จะกลับมาสื่อสารกับผู้อื่นได้อีกครั้ง
นี่คือที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก