อาการโรคไตเรื้อรัง (Kidney Disease Symptoms and Risk)

อาการโรคไตเรื้อรัง (Kidney Disease Symptoms and Risk)

26.08
1509
0

อาการโรคไตเรื้อรัง คือ

อาการโรคไต คือ การที่ร่างกายสูญเสียการทำงานของไตไปทีละน้อย ไตคืออวัยวะที่ใช้กรองของเสีย และของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด ก่อนจะถูกขับออกไปทางปัสสาวะ เมื่อเกิดอาการของโรคไตที่เรื้อรังหรือรุนแรง ระดับที่เป็นอันตรายของของเหลว แร่ธาจุ และของเสียอาจเพิ่มขึ้นในร่างกาย

อาการของโรคไตในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย โรคไตเรื้อรังอาจไม่แสดงอาการจนกระทั่งการทำงานของไตบกพร่องอย่างรุนแรง

การรักษาโรคไตเรื้อรังมักเน้นที่การชะลอความเสียหายของไต โดยปกติจึงเป็นการควบคุมที่สาเหตุ โรคไตเรื้อรังสามารถพัฒนาไปสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จำเป็นต้องทำการกรองของเสียนอกไต (การฟอกไต) หรือการปลูกถ่ายไตใหม่

การวินิจฉัยอาการคนเป็นโรคไต

เมื่อสงสัยว่ามีอาการ แพทย์อาจสอบถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว และประวัติครอบครัวของผู้ป่วย รวมถึงสอบถามถึงภาวะของโรคความดันโลหิตสูง ประวัติการใช้ยาที่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต หากสังเกตพบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปัสสาวะ หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคไต

ขั้นต่อมาแพทย์อาจทำการตรวจร่างกาย ตรวจหาสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือหลอดเลือด และอาจมีการตรวจสอบระบบประสาท

การวินิจฉัยโรคไต อาจจำเป็นต้องทำการทดสอบร่างกาย ดังนี้:

  • การตรวจเลือด เพื่อทดสอบการทำงานของไตด้วยระดับของเสียในเลือด เช่นสารครีเอตินีน และยูเรียในเลือด
  • การทดสอบปัสสาวะ การวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะจะช่วยบ่งชี้ถึงภาวะของโรคไตวายเรื้อรัง และช่วยให้ทราบสาเหตุของอาการของคนเป็นโรคไตเรื้อรังได้
  • การทดสอบด้วยการฉายภาพ แพทย์อาจใช้การอัลตราซาวนด์เพื่อประเมินโครงสร้าง และขนาดของไต หรืออาจใช้การทดสอบด้วยการฉายภาพวิธีอื่น ๆ
  • การนำตัวอย่างเนื้อเยื่อไตมาทำการทดสอบ แพทย์อาจทำการทดสอบชิ้นเนื้อจากไต โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ก่อนจะนำอุปกรณ์ที่บางและยาวสอดผ่านจากผิวหนัง เข้าไปยังไต ตัวอย่างชิ้นเนื้อจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการทดสอบ และใช้ระบุหาสาเหตุของปัญหาไตต่อไป

Kidney Disease Symptoms and Risk

การดูแลตนเองนอกเหนือจากการใช้ยาที่แพทย์จ่าย

การควบคุมอาหาร

จำกัดปริมาณโปรตีน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฟอกไตบ่อย ๆ เพราะหน่วยของไต (Nephron) ไม่ต้องขจัด Urea ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยโปรตีนที่มากเกินไป 

ระมัดระวังการบริโภค Potassium ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีแนวโน้มที่ระดับโปตัสเซียมสูง ซึ่งควบคุมได้ด้วยยาขับปัสสาวะชนิดที่สามารถขจัดโปตัสเซียมได้ รวมทั้งควบคุมอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง  และลดยาที่ทำให้เกิดการสะสมของโปตัสเซียม 

ควบคุมการบริโภค Phosphate สาร Phosphate เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก เมื่อหน่วยของไต (Nephron) ทำงานได้ลดลง จะทำให้ปริมาณ Phosphate เพิ่มสูงขึ้น จึงต้องรับประทานอาหารที่มี Phosphate น้อย เช่นถั่ว นมถั่วเหลือง เนยแข็ง ไก่ นม และโยเกิร์ต เป็นต้น

การลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกีเซอไรด์ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มักมีระดับคอเลสเตอรอลสูง และไตรกีเซอไรด์สูง ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย ทานยาลดไขมัน หยุดสูบบุหรี่ และคุมอาการเบาหวานให้ดี

หลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ และการให้กำเนิด

การร่วมเพศ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักเกิดปัญหาในการร่วมเพศ กรณีสตรีอาจมีประจำเดือนมาผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์

การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์อาจทำให้ไตทำงานได้แย่เสื่อมลง ผู้ป่วยโรคไตที่อยากตั้งครรภ์ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน และระหว่างตั้งครรภ์อาจเสี่ยงที่จะแท้ง เกิดความดันโลหิตสูง และภาวะครรภ์เป็นพิษ สตรีผ่านการเปลี่ยนไตจะพบปัญหาจากการตั้งครรภ์ลดลงได้

การเตรียมการก่อนฟอกไต 

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาจจำเป็นต้องเตรียมการฟอกไต ซึ่งมี อยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ Hemodialysis และ Peritoneal Dialysis ซึ่งแพทย์จะเป็นผู็พิจารณาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนถ่ายไตยังคงเป็นวิธีการรักษาที่ดีกว่าการฟอกไต

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไต

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคไตได้แก่สิ่งเหล่านี้

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูงผิดปกติ
  • มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไต
  • ผู้สูงอายุ
  • น้ำหนักมากเกินไป หรืออ้วน
  • สูบบุหรี่
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *