

โรคพุ่มพวงหรือโรคเเพ้ภูมิตัวเอง (Lupas) คือโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากกว่าปกติในระดับเนื้อเยื่อ โดยอาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง ได้แก่อาการติดเชื้อและอาการบวม รวมถึงทำให้เกิดความเสียหายที่ข้อต่อ ผิวหนัง ไต ระบบหมุนเวียนเลือด หัวใจและปอด
ประเภทของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โรคภูมิเเพ้ตัวเองมีหลายประเภทแตกต่างกัน ในบทความนี้เราจะมุ่งเน้นไปที่โรคภูมิเเพ้ตัวเองชนิดพุ่มพวง (SLE) และมีโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆได้แก่โรคภูมิเเพ้ที่ทำให้เกิดขุยขึ้น ภูมิเเพ้จากยาและโรคแพ้ภูมิในทารกแรกเกิด
โรคพุ่มพวง (Systemic lupus erythematosus)
โรคพุ่มพวง (SLE) เป็นโรคภูมิเเพ้ตัวเองส่วนใหญ่ที่พบ โดยอาการนี้เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดังนั้นจึงหมายความว่าถ้าหากโรคนี้เกิดขึ้นหมายความว่าจะเกิดผลกระทบทั่วร่างกาย โดยอาการของโรคมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนเเรง
โรคภูมิเเพ้ตัวเองชนิดรุนเเรงมีหลายประเภทเช่นภูมิเเพ้ที่ทำให้ผื่นขึ้นเป็นขุย เนื่องจากอาการติดเชื้อจากโรคภูมิเเพ้ตัวเองที่แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายหรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งอาการภูมิเเพ้ตัวเองสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง ข้อต่อ ปอด ไต ระบบเลือดเเละหัวใจ โดยสามารถเกิดขึ้นกับระบบต่างๆภายในร่างกายพร้อมกันได้
โดยปกติอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นวงจร โดยในระยะที่อาการบรรเทาลงผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆเกิดขึ้น แต่ในระยะที่มีการลุกลามของโรคจะมีอาการโรคพุ่มพวงปรากฎขึ้น
โรคลูปัสที่ผิวหนัง
โรคลูปัสที่ผิวหนัง (DLE) หรือโรคผื่นผิวหนังเเบบเฉียบพลันเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนผิวหนังเท่านั้น โดยผู้ป่วยจากมีผื่นเกิดขึ้นบนใบหน้าและลำคอรวมถึงหนังศีรษะ
โดยบริเวณผิวหนังที่มีผื่นเกิดขึ้นมักจะมีผื่นหนาขึ้นและมีการตกสะเก็ดจึงทำให้เกิดแผลเป็นในลำดับต่อมา ซึ่งผื่นสามารถเกิดขึ้นหลายวันหรือหลายปีและสามารถเกิดซ้ำขึ้นได้
โรคลูปัสที่ผิวหนัง (DLE) ไม่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในแต่มีผู้ป่วยด้วยโรคลูปัสที่ผิวหนัง (DLE) ประมาณ 10% ที่อาการของโรคนี้สามารถพัฒนากลายเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดพุ่มพวง (SLE)
อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดโรคภูมิเเพ้ผิวหนังชนิดนี้ยังไม่ทราบได้ชัดเจน หากผู้ใดเคยมีอาการโรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดพุ่มพวง (SLE) เกิดขึ้น ควรตรวจสอบให้ดีว่าอาการแพ้ภูมิตัวเองที่เกิดขึ้นเกิดจากโรคลูปัสที่ผิวหนัง (DLE) ที่สามารถพัฒนาไปเป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดพุ่มพวง (SLE) หรือไม่
โรคลูปัสที่ผิวหนังชนิดผื่นกึ่งเฉียบพลัน
โรคลูปัสที่ผิวหนังชนิดผื่นกึ่งเฉียบพลันหมายถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นบนผิวหนังที่มีผื่นเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสกับเเสงแดด โดยผื่นที่เกิดขึ้นนี้ไม่ทำให้เกิดแผลเป็น
โรคแพ้ภูมิจากการใช้ยา
ในผู้ป่วยด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดพุ่มพวง (SLE) ประมาณ 10% มีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ยาบางชนิด ข้อมูลจาก Genetics Home พบว่ามียาประมาณ 80 ชนิดที่ทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ดังกล่าวนี้
ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะลมชักและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมียาที่ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อราและยาคุมกำเนิดที่สามารถทำให้เกิดอาการผื่นภูมิเเพ้ได้เช่นกัน
ยาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภูมิเเพ้ผิวหนังชนิดลูปัสได้แก่
- ยา Hydralazine ที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ยา Procainamide ที่ใช้รักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
- ยา Isoniazid เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาวัณโรค
โดยปกติอาการผื่นภูมิเเพ้ผิวหนังสามารถหายไปเองได้หลังจากหยุดใช้ยา
โรคแพ้ภูมิในทารกแรกเกิด
โรคภูมิแพ้ผิวหนังชนิดนี้เกิดขึ้นกับเด็กทารกเเรกเกิดที่แม่เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดพุ่มพวง (SLE) อย่างไรก็ตามมีเพียง 1 เปอร์เซนต์เท่านั้นในผู้หญิงที่เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดพุ่มพวง (SLE) ที่จะให้กำเนิดลูกที่เป็นโรคแพ้ภูมิในเด็กเเรกเกิด
ผู้หญิงสามารถเป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดพุ่มพวง (SLE) หรือโรค Sjögren หรือไม่เป็นโรคอะไรเลยก็ได้
โรค Sjögren เป็นโรคเกี่ยวกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโรคผื่นผิวหนังลูปัส อาการส่วนใหญ่ที่พบได้แก่ตาเเห้งและปากแห้ง
สาเหตุของโรคภูมิแพ้ตัวเอง
ปัจจุบันการเกิดโรคผิวหนังลูปัสยังไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้
มีความผิดปกติเกิดขึ้น
ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ป้องกันร่างกายและต่อสู้กับสารที่ก่อให้เกิดภูมิเเพ้เช่นไวรัส แบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นจากการสร้างโปรตีนที่เรียกว่าแอนตี้บอดี้ได้แก่เม็ดเลือดขาวหรือเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
เมื่อมีผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอย่างเช่นโรคผื่นผิวหนังลูปัส ระบบภูมิคุ้มกันจะไม่สามารถเเยกแยะความเเตกต่างระหว่างสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสารก่อภูมิเเพ้หรือเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีได้
ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสั่งการแอนตี้บอดี้ให้เข้าไปต่อสู้กับทั้งเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีและสารที่ก่อให้เกิดภูมิเเพ้ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการบวม เจ็บปวดและเนื้อเยื่อเกิดความเสียหาย
คนส่วนใหญ่ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายประเภทโรคผื่นผิวหนังแบบลูปัสเกิดขึ้นจาก antinuclear antibody (ANA) โดย ANA ทำงานอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์
โดยภูมิคุ้มกันร่างกายชนิดนี้อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือดแต่เซลล์ของร่างกายมีผนังบางพอทำให้สารแอนตีบอดี้สามารถซึมผ่านเข้ามาได้
จากนั้นสารแอนตี้บอดี้จะเข้าไปโจมตีที่ DNA ในนิวเคลียสของเซลล์เหล่านี้จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดผื่นเเพ้ผิวหนังลูปัสเกิดขึ้นที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย
ทำไมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนี้ถึงทำงานผิดปกติ
เนื่องด้วยปัจจัยทางพันธุกรรมสามารถทำให้โรคแพ้ภูมิตนเองชนิดพุ่มพวง (SLE) เกิดขึ้นได้
ยีนบางประเภทในร่างกายช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ ในผู้ป่วยด้วยโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดพุ่มพวง (SLE) การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ชนิดนี้อาจะทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหยุดทำงานอย่างผิดปกติ
หนึ่งในทฤษฎีที่เป็นไปได้เกี่ยวข้องกับภาวะเซลล์ตายซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและร่างกายสามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้อ้างอิงข้อมูลจาก Genetics Home
นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลล์ที่ตายเเล้วออกจากร่างกายได้
จึงทำให้ซากเซลล์ที่ตายเเล้วเหล่านี้ยังคงปล่อยสสารอยู่เป็นสาเหตุทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
อาการ
อาการของโรคผื่นภูมิเเพ้ชนิดลูปัสสามารถเกิดขึ้นและลุกลามได้ ซึ่งมีสองระยะที่เกิดขึ้นได้แก่ขั้นที่เกิดการลุกลามและขั้นที่อาการบรรเทาลดลง โดยปกติเเล้วในระยะที่โรคไม่เกิดการลุกลามมักไม่มีอาการใดๆของโรคนี้ปรากฎขึ้น
โรคผื่นผิวหนังลูปัสมีอาการหลายประเภทเกิดขึ้นได้แก่
- อาการอ่อนล้าหมดเเรง
- มีความอยากอาหารลดลงและน้ำหนักลดลง
- มีอาการบวมที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อ
- มีอาการขาบวมเเละรอบตาบวม
- มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
- มีผื่นเกิดขึ้นที่ผิวหนังทำให้เกิดเลือดคลั่งใต้ผิวหนัง
- มีแผลในปาก
- อ่อนไหวต่อเเสงแดด
- มีไข้
- ปวดศีรษะ
- มีอาการเจ็บที่หน้าอกเเละหายใจลำบาก
- ผมร่วงผิดปกติ
- มีอาการเล็บมือเเละเล็บเท้าเป็นสีซีดหรือสีม่วงเนื่องจากไข้หวัดหรือความเครียด (โรคเรเนาด์)
- ข้อต่ออักเสบ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/323653
- https://www.nhs.uk/conditions/lupus/
- https://medlineplus.gov/ency/article/000435.htm
- https://www.healthline.com/health/lupus/early-signs
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก