ภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง (Malignant Hyperthermia) คือการตอบสนองอย่างรุนแรงต่อยาสลบหรือยาชาต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุเกิดจากกรรมพันธ์ที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อที่พบได้น้อยมาก ในกรณีที่พบได้ไม่บ่อย การออกกำลังกายอย่างหนักหรือฮีทสโตรก(โรคลมแดด) ก็กระตุ้นให้เกิดภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงได้ในผู้ที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ เซลล์กล้ามเนื้อมีโปรตีนที่ผิดปกติอยู่บนพื้นผิวเซลล์ โปรตีนเหล่านี้จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อจนกว่ากล้ามเนื้อนั้นจะได้รับการกระตุ้นโดยยาที่ทำให้เกิดปฏิกริยา
เมื่อผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ได้รับยา:
- เซลล์กล้ามเนื้อสะสมแคลเซียมมากขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้
- กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็ง
- อุณภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรง
ปกติภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นระหว่างและหลังการผ่าตัด แต่มันสามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ที่ได้รับยาสลบหรือยาชาชนิดต่าง ๆ ดังนี้:
- ห้องฉุกเฉิน
- ทันตกรรม
- ศัลยกรรม
- ห้องดูแลผู้ป่วยหนัก
อาการต่าง ๆ ของภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังได้รับยาที่เป็นตัวกระตุ้น อย่างไรก็ตาม อาการอาจเกิดขึ้นได้ใน 12 ชั่วโมงเช่นกัน
ส่วนมากจะเกิดกับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
กล้ามเนื้อผิดปกติที่ทำให้เกิดาวะไข้สูงอย่างรุนแรงนั้นมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีนหลายชนิด การกลายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดเป็นสาเหตุครึ่งหนึ่งจากเคสทั้งหมด ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนนี้มีโอกาสที่จะส่งต่อไปยังลูกหลานได้
สมาชิกในครอบครัวสามารถมีระดับของความไวต่อยาที่แตกต่างกันได้ ในบางกรณี ปฏิกริยานั้นไม่รุนแรง จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบและเกิดความเสี่ยงที่ได้รับยาเหล่านั้นหลายครั้งกว่าที่จะทราบ
บางครั้งภาวะนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อดูเชน และสามารถเกิดขึ้นได้กับโรคกล้ามเนื้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของยีน
อาการไข้สูงอย่างรุนแรง
อาการและสัญญาณของภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงมีดังนี้:
- อุณภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงกว่า 45 °C
- กล้ามเนื้อเกร็ง หรือ ปวด โดยเฉพาะบริเวณขากรรไกร
- ผิวเเดง
- เหงื่อออก
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- หายใจถี่ หรือ หายใจไม่สะดวก
- ปัสสาวะสีน้ำตาลหรือสีเหมือนโค้ก
- ความดันเลือดต่ำ (ช็อค)
- สับสน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือบวมหลังเกิดอาการ
การวินิจฉัยภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกระทั่งมีปฏิกริยาที่รุนแรงต่อยาสลบทั่วไป แพทย์จะคาดว่าน่าจะมีภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงหากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ โดยเฉพาะไข้สูงและกล้ามเนื้อเกร็ง
การตรวจเลือดจะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่นำไปสู่ภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมไปถึงระดับเอนไซม์ creatine phosphokinase และการเปลี่ยนแปลงของอิเล็กโตรไลต์ หรือผลเลือดที่แสดงถึงภาวะไตล้มเหลวก็เป็นสัญญาณเช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หัวใจของผู้ป่วยอาจหยุดเต้นระหว่างการผ่าตัดได้
หากผู้ป่วยมีอาการทั้งหมดนี้ แพทย์อาจวินิฉัยว่าเป็นภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงโดยไม่ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเลยก็ได้
วิธีอื่น ๆ ที่จะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้คือการตรวจสารพันธุกรรมและการส่งตรวจกล้ามเนื้อ
ระยะเวลาในการรักษา
อาการต่าง ๆ จะดีขึ้นภายใน 12-24 ชั่วโมงหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมไปถึงภาวะการหายใจล้มเหลวหรือไตวาย อาการแทรกซ้อนเหล่านี้อาจใช้เวลานานกว่าจะดีขึ้น หรืออาจจะรักษาไม่หายเลย
อย่างไรก็ตาม หากเกิดการตอบสนองก่อนที่จะได้รับการรักษา อาจเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
การป้องกันภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง
ปกติแล้วจะไม่มีการตรวจผู้ป่วยทุกคนก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนควรได้รับการตรวจก่อนที่จะทำการผ่าตัด หรือควรหลีกเลี่ยงยาสลบที่เป็นสาเหตุของภาวะนี้
ผู้ป่วยเหล่านั้นคือ:
- ผู้ป่วยที่ครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง
- ผู้ป่วยที่เคยมีปะวัติเป็นโรคลมแดดหรือภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงหลังออกกำลังกาย
- ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง
หากผู้ป่วยไม่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้ อาจไม่สามารถป้องกันได้ในครั้งแรก
เมื่อผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้แล้ว ในการรักษาครั้งต่อไปก็สามารถที่จะป้องกันได้ และทุกครั้งที่จะต้องทำการผ่าตัดหรือทำหัตถการใดก็ควรแจ้งแพทย์ก่อน ซึ่งจะทำให้แพทย์หรือทันตแพทย์หลีกเลี่ยงการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสลบที่มีความเสี่ยงสูงได้
ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการผ่าตัดเสียทีเดียว เพราะมียาสลบหลายชนิดที่ปลอดภัย หากผู้ป่วยทราบว่าตัวเองมีโอกาสที่จะมีภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง ควรสวมสารัดข้อมือทางการแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้ทราบถึงภาวะที่มีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
การรักษาอาการไข้สูงอย่างรุนแรง
เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง แพทย์ต้องรักษาภาวะนี้ในทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
อันดับแรกคือต้องหยุดการให้ยาและหยุดการผ่าตัด และแพทย์จะให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Dantrium) เพื่อหยุดการเผาผลาญขของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างอันตราย
ยาหย่อนกล้ามเนื้อจะถูกฉีดให้แก่ผู้ป่วยจนกว่าอาการจะคงที่ และผู้ป่วยต้องรับประทานยาเป็นเม็ดต่ออีก 3 วัน
การรักษาเพิ่มเติม ได้แก่:
- การลดอุณหภูมิร่างกาย:
- ละอองเย็นและพัดลม
- ผ้าห่มเย็น
- การให้น้ำเกลือเย็นเข้าเส้นเลือดดำ
- การให้ออกซิเจน
- การใช้ยาเพื่อ:
- ควบคุมการเต้นของหัวใจ
- ทำให้ความดันเลือดคงที่
- แก้ไขความผิดปกติของอิเล็กโตรไลต์ รวมไปถึง โพรแทสเซียม
- เฝ้าสังเกตความดันเลือด จังหวะการเต้นของหัวใจ ระดับของกรด และการทำงานของตับในห้องผู้ป่วยหนัก
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/malignant-hyperthermia/symptoms-causes/syc-20353750
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1867813/
- https://medlineplus.gov/genetics/condition/malignant-hyperthermia/
- https://rarediseases.org/rare-diseases/malignant-hyperthermia/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก