โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

03.05
4961
0

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับแบคทีเรียบางชนิดในน้ำหรือดินที่มีเชื้อ บางครั้งเรียกอาการนี้ว่า“ โรควิทมอร์” ตามนักพยาธิวิทยาที่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้เป็นคนแรก

โรคเมลิออยโดสิสพบได้บ่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่ประเทศอื่น ๆ ก็มีรายงานการพบโรคเช่นกัน

โรคเมลิออยโดสิสคือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไปสัมผัสกับแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งมีอยู่ทั้งในดินและน้ำ โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสบ่อย ๆ คือ:

  • มาเลเซีย
  • ตอนเหนือของออสเตรเลีย
  • สิงคโปร์
  • ประเทศไทย

ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมักมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเมลิออยโดสิส ตัวอย่างเช่น :

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคตับ
  • ผู้ป่วยโรคไต
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง

สาเหตุของโรคเมลิออยโดสิส

ผู้คนสามารถเป็นโรคเมลิออยโดสิสได้เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือดินที่มีแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei

  • การสัมผัสกับดินที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะบริเวณบาดแผลที่ผิวหนังหรือรอยถลอก
  • ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ
  • สูดดมฝุ่นละออง หรือละอองน้ำ

การแพร่เชื้อจากมนุษย์ไปสู่ผู้อื่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก  แต่ก็มีความเป็นไปได้

อาการของโรคเมลิออยโดสิส

โรคเมลิออยโดสิสอาจมีอาการได้หลากหลาย ผู้ป่วยส่วนมากใหญ่จะพบอาการภายใน 2–4 สัปดาห์หลังจากสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะไม่พบอาการใด ๆ เลย

บุคคลสามารถติดเชื้อแบคทีเรียที่นำไปสู่โรคเมลิออยโดสิสผ่านบริเวณต่างๆของร่างกายได้ อาการต่างๆอาจเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่ได้รับเชื้อ ได้แก่ :

การติดเชื้อในกระแสเลือด 

อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:

  • ปัญหาการหายใจ
  • งงงวย สับสน
  • เป็นไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดข้อ
  • ปวดท้อง

การติดเชื้อที่ผิวหนัง 

อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:

  • เป็นไข้
  • เกิดกลิ่นเหม็นจากบาดแผล
  • ปวดเฉพาะที่
  • รอยแดง
  • บวม
  • ผิวเป็นแผล

การติดเชื้อในปอด 

อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:

Melioidosis

ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หรือระบบขับถ่าย อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:

  • เจ็บหน้าอก
  • เป็นไข้
  • ปวดหัว
  • ปวดข้อ
  • ชักเกร็ง
  • ปวดท้อง
  • น้ำหนักลด

คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคเมลิออยโดสิสทุกปี แต่กรณีติดเชื้อในระบบขับถ่ายจะมีอัตราการตายจะสูงถึง 90%

การรักษาโรคเมลิออยโดสิส

แพทย์สามารถรักษาโรคเมลิออยโดสิสได้ด้วยการใช้ยา และวิธีการรักษาอื่น ๆ ตามอาการของโรค

เริ่มจากการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ เช่น ceftazidime หรือ meropenem เป็นเวลา 10–14 วัน

หลังจากเวลานี้แพทย์จะสั่งยาต้านจุลชีพชนิดรับประทาน 3–6 เดือน ได้แก่ trimethoprim-sulfamethoxazole และ amoxicillin-clavulanic acid

บุคคลต้องได้รับการรักษาตามที่แพทย์กำหนดอย่างครบถ้วน จึงจะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคเมลิออยโดสิสซ้ำใหม่ได้

การวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส

แพทย์จะวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิสด้วยการซักถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ และประวัติการเดินทาง พร้อมกับการตรวจร่างกาย

การติดเชื้อเมลิออยโดสิสอาจมีอาการคล้ายกับการติดเชื้ออื่น ๆ ซึ่งรวมถึงโรคปอดบวมและวัณโรค โดยปกติแพทย์สามารถแยกความแตกต่างได้โดยการเก็บตัวอย่าง:

  • เลือด
  • หนอง
  • เสมหะ
  • ปัสสาวะ

จากนั้นจะส่งให้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ด้วย “เพาะเชื้อ” เพื่อสังเกตการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

แพทย์อาจวินิจฉัยเพิ่มด้วยการใช้ภาพ CT สแกน และ MRI เพื่อพิจารณาผลกระทบของโรคต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่นโรคเมลิออยโดสิสมักทำให้เกิดฝีที่ตับ ม้าม หรือปอด  ซึ่งปรากฏด้วยการทดสอบภาพ

การป้องกันโรคเมลิออยโดสิส

การลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่:

  • ปิดบาดแผลไว้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสสัมผัสกับน้ำและดิน
  • สวมรองเท้าบูทป้องกัน เมื่อต้องทำงานสัมผัสดินและน้ำ
  • หากทำงานในสถานพยาบาลให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังด้านความปลอดภัย เช่นสวมหน้ากาก ถุงมือ และเสื้อคลุม
  • หากบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเมลิออยโดสิสมาก เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ กำลังเดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคเมลิออยโดซิสบ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการป้องกัน และข้อควรระวังต่าง ๆ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *