อ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

07.11
1087
0

อาการของโรคอ้วนลงพุง

ข้อมูลจาก AHA แพทย์มักจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคระบบเผาผลาญบกพร่องคือผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ 3 ข้อใน 5 ข้อ

  1. มีช่วงกลางของลำตัวที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นโรคอ้วนลงพุงโดยเฉพาะผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้วขึ้นไปและผู้หญิงที่รอบเอวมากกว่า 35 นิ้วขึ้นไป 
  2. มีระดับน้ำตาลกลูโคสที่ปริมาณ 100 mg/dL หรือมากกว่า
  3. มีความดันเลือด 130/85 mm/Hg หรือมากกว่า 
  4. มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์อยู่ที่ระดับ 150 mg/dL หรือมากกว่า
  5. มีปริมาณของคอลเลสเตอรอลชนิดไลโปโปรตีนหนาเเน่น (HDL) 40 mg/dL หรือน้อยกว่าในผู้ชายและ 50 mg/dL หรือน้อยกว่าในผู้หญิง

มีปัจจัยเสี่ยงอยู่ 3 ข้อหรือมากกว่านี้ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจได้เช่นหัวใจวายหรือเส้นเลือดอุดตันหัวใจและโรคเบาหวานชนิดที่สอง

การรักษา

การเริ่มต้นวินิจฉัยโรคมีจุดประสงค์เพื่อหาความเสี่ยงว่าบุคคลนั้นๆเสี่ยงเป็นโรคการเผาผลาญผิดปกติหรือไม่แต่ในการวินิจฉัยโรคนี้ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตมากกว่าการรักษาด้วยยา

ผู้ที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ความดันเลือดสูงและมีไขมันสะสมและมีระดับคอลเลสเตอรอลผิดปกติควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยจะได้รับยารักษาโรคอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคระบบเผาผลาญผิดปกติเช่นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเมื่อพวกเขาได้เข้ารับการวินิจฉัยโรค

การลดน้ำหนักเเละสัดส่วนโดยเฉพาะร่างกายส่วนบนเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

วิธีการวัดที่เเนะนำเพื่อป้องกันเเละรักษาภาวะผิดปกติของระดับคอลเลสเตอรอลและการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ

  • ทานอาหาร “ที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ” ที่มีน้ำตาล ไขมันและโซเดียมต่ำ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮล

สถาบัน AHA เเนะนำว่าการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยสามารถแบ่งออกเป็นครั้งละ 10 นาที การเดินเร็วเป็นวิธีเริ่มต้นออกกำลังกายที่ดี

การใช้ยารักษา

ถ้าหากเป็นการใช้ยารักษาโดยปกติแนะนำให้ใช้ยาเมทฟอร์มิน 

การรักาาด้วยยาสามารถช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงสูงบางกลุ่มโดยเฉพาะในผู้ที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงและผู้ที่เป็นโรคอ้วนและไม่สามารถจัดการกับการทานอาหารหรือวิธีการใช้ชีวิตได้

ยาเมทฟอร์มินวางขายสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อทางการค้าดังต่อไปนี้

  • ยา Fortamet
  • ยา Glucophage
  • ยา Glumetza
  • ยา Riomet

การใช้ยาเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการสำหรับใช้ในการป้องกันผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงเนื่องจากภาวะผิดปกติของระบบเผาผลาญ 

อย่างไรก็ตามแพทย์ให้ยาเมทฟอร์มินเป็น “ยาที่ใช้นอกข้อบ่งใช้” เพื่อป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงและโรคอ้วนที่ผิดปกติ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานมีหลักฐานที่สนับสนุนการใช้ยาชนิดนี้ 

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี  2013 พบว่ายาเมทฟอร์มินสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ทั้งนี้การทานอาหารเเละการออกกำลังกายทำให้ “ผลลัพธ์ดีขึ้นเป็นสองเท่า”

การใช้ยาชนิดอื่นๆสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาภาวะการเผาผลาญที่ผิดปกติเหมือนกันเช่นการใช้ยาสแตนตินในผู้ที่มีระดับไขมันคอลเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) สูง

ยาลดความดันต่ำถูกนำมาใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง

ขอย้ำอีกครั้งว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตและพยายามควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆเป็นวิธีป้องกันภาวะความผิดปกติของเผาผลาญได้

การเรียกคืนยาเมทฟอร์มินยังคงเลื่อนออกไป 

การทานอาหาร

หลักการบริโภคอาหารต้านความดันโลหิตสูงถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญโดยหลักการทานอาหารประเภทนี้มีเป้าหมายเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

หลักการบริโภคอาหารต้านความดันโลหิตสูงแนะนำให้ปฏิบัติตนด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
  • จำกัดปริมาณการทานเนื้อหมูแดง โซเดียม อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันรวมทั้งหมดสูงรวมไปถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีความหวาน
  • ควรทานผักและผลไม้ ธัญพืช ปลาและถั่ว

หลักการบริโภคอาหารต้านความดันโลหิตสูงมุ่งเน้นเกี่ยวกับอาหารที่ควรบริโภทมากกว่าการลดปริมาณการบริโภคแคลลอรี่แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักสามารถทานอาหารที่มีจำนวนแคลอรี่ต่ำได้เช่นกัน

สาเหตุโรคอ้วนลงพุง

ภาวะผิดปกติของระบบการเาผลาญเกิดจากการสะสมปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังนั้นความผิดปกตินี้จึงไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว

แม้ว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงหรือมีน้ำหนักเกินเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ แต่ในผู้ที่มีระดับไขมันคอลเลสเตอรอลในเลือดสูงและมีความดันเลือดสูงรวมไปถึงมีภาวะเสี่ยงก่อนเป็นโรคเบาหวาน บุคคลเหล่านี้ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ที่มีรอบเอวขนาดใหญ่และเป็นโรคอ้วนลงพุงมีความเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจเเละหลอดเลือดสูง

ปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แก่ประวัติครอบครัวและชนชาติที่สามารถเพิ่มโอกาสทำให้เกิดความผิดปกติบางประการที่ก่อให้เกิดโรคได้

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตส่งผลต่อปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ทั้งหมด

การทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงรวมถึงการขาดการออกกำลังกายทำให้เกิดโรคอ้วนและปัญหาทางสุขภาพอื่นๆได้ 

อย่างไรก็ตามอาการอื่นเช่นภาวะดื้อต่ออินซูลินไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนหรือบ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบเผาผลาญได้

ภาวะดื้อต่ออินซูลินเป็นภาวะผิดปกติของระบบการเผาผลาญและโรคอ้วนชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เกิดโรคอื่นๆอีกด้วย ตัวอย่างเช่นโรคเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ภาวะถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (PCOS) โรคเกี่ยวกับไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮลและโรคไตวายเรื้อรัง

ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภาวะความผิดปกติของระบบเผาผลาญ ภาวะดื้อต่ออินซูลินและภาวะความดันโลหิตสูงได้แก่การติดเชื้อและการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจเเละหลอดเลือดได้เช่นกัน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *