โรคติดเชื้อโมโนนิวคลิโอซิส (โรคโมโน) Infectious Mononucleosis คือ โรคที่เรียกกันว่าโรคติดต่อจากการจูบ เกิดจากเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ ที่แพร่กระจายผ่านทางน้ำลาย สามารถรับเชื้อได้ผ่านการจูบ แต่ก็สามารถติดเชื้อผ่านการใช้แก้วน้ำหรือการใช้ภาชนะรับประทานอาหารร่วมกันกับคนที่เป็นโรคโมโน แต่อย่างไรก็ตามโรคโมโนนิวคลิโอซิสไม่ใช่โรคติดต่อเหมือนการติดเชื้อบางอย่างเช่นไข้หวัด
ส่วนใหญ่ที่ได้รับการติดโรคโมโนนิวคลิโอซิสจะมีสัญญานและอาการทั้งหมดหากอยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว แต่เด็กมักมีอาการน้อยกว่าและการติดเชื้อมักหายไปได้เอง
หากคุณเป็นโรคโมโนนิวคลิโอซิส สิ่งที่สำคัญคือการระวังภาวะแทรกซ้อนบางอย่างเช่นม้ามโต การพักผ่อนและการดื่มน้ำให้เพียงพอคือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟู
อาการ
สัญญานและอาการของโรคโมโนนิวคลิโอซิสอาจรวมไปถึง:
- อ่อนเพลีย
- เจ็บคอบางครั้งอาจเกิดการวินิจฉัยผิดเป็นคออักเสบ ซึ่งไม่ดีขึ้นหลังการรักษาด้วยาปฏิชีวนะ
- มีไข้
- ต่อมน้ำเหลืองในคอและรักแร้บวม
- ทอนซิลบวม
- ปวดศีรษะ
- ผื่นผิวหนัง
- ม้ามบวม นิ่ม
ไวรัสมีระยะฟักตัวราว 4-6 สัปดาห์ เมื่อเกิดขึ้นในเด็กช่วงระยะเวลาอาจสั้นลง ระยะฟักตัวอาจนานก่อนอาการปรากฏหลังจากติดเชื้อไวรัส สัญญานและอาการเช่นมีไข้และเจ็บคอมักลดลงภายใน 2 สัปดาห์ แต่อาการเหนื่อยล้า ต่อมน้ำเหลืองโตและม้ามบวมอาจกินเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นคุณอาจเป็นโรคโมโนนิวคลิโอซิส
หากอาการยังไม่ดีขึ้นได้เองภายใน 1หรือ 2 สัปดาห์ ให้ไปพบแพทย์
สาเหตุ
สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคโมโนนิวคลิโอซิสคือโรคติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ แต่ไวรัสอื่นๆก็สามารถทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงได้ ไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายผ่านน้ำลาย และอาจติดได้จากการจูบหรือการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
กระนั้นอาการของโรคโมโนนิวคลีคือการทำให้รู้สึกไม่สบายตัว การติดเชื้อโดยทั่วไปมักหายได้ในเวลาไม่นาน. ผู้ใหญ่ส่วนมากจะเคยผ่านการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์มาก่อนและจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา ซึ่งนั้นหมายความว่าจะมีภูมมิต้านทานและจะไม่เป็นโรคโมโนนิวคลิโอซิสอีก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคโมโนนิวคลิโอซิสบางครั้งอาจมีความรุนแรงได้
ม้ามมีขนาดใหญ่โตขึ้น
โรคโมโนนิวคลิโอซิสอาจเป็นสาเหตุทำให้ม้ามโตขึ้น ในรายที่รุนแรงสุด ม้ามอาจแตกได้ เป็นสาเหตุของการปวดแปลบอย่างกระทันหันที่หน้าท้องส่วนบนทางด้านซ้าย หากเกิดอาการปวดเช่นนี้ขึ้นควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วย – อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
ปัญหาตับ
ปัญหาตับที่อาจเกิดขึ้นคือ:
- ตับอักเสบ อาจเกิดอาการตับอักเสบไม่รุนแรง
- ดีซ่าน มีอาการผิวและตาขาวกลายเป็นสีเหลือง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในบางโอกาส
ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่รุนแรงน้อย
โรคโมโนนิวคลิโอซิสส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เล็กน้อยซึ่งรวมถึง:
- โลหิตจาง — เซลล์เม็ดเลือดแดงลดน้อยลงรวมถึงในฮีโมโกลบิน โปรตีนที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กในเซลล์เม็ดเลือดแดง
- เกล็ดเลือดต่ำ — จำนวนเกล็ดเลือดมีน้อยซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นลิ่มเลือด
- มีปัญหาหัวใจ — มีการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ (กล้ามเนื้อห้วใจอักเสบ)
- ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาท — เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไข้สมองอักเสบและกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร
- ต่อมทอนซิลบวม — ซึ่งจะไปปิดกั้นการหายใจ
เชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงในคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจรวมถึงคนเป็นโรค เอชไอวี/เอดส์หรือคนที่ใช้ยากดภูมิหลังการปลูกเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
การป้องกัน
โรคโมโนนิวคลิโอซิสสามารถแพร่ได้ผ่านทางน้ำลาย หากคุณมีการติดเชื้อคุณสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายไวรัสต่อผู้อื่นได้ด้วยการไม่จูบกับคนอื่นหรือรับประทานอาหาร ใช้จานชาม แก้วน้ำและช้อนส้อมร่วมกับผู้อื่นจนกว่าจะผ่านวันที่มีอาการไข้ไปหลายวัน และตลอดไปหากทำได้ จำไว้ว่าควรล้างมือสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์อาจยังคงอยู่ในน้ำลายได้นานหลายเดือนหลังจากการติดเชื้อ ไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโมโนนิวคลิโอซิส
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
แพทย์จะสงสัยว่าเป็นโรคโมโนนิวคลิโอซิสโดยดูจากสัญญานและอาการ ระยะเวลายาวนานที่เป็นและการตรวจร่างกาย แพทย์จะมองหาสัญญานเช่นต่อมน้ำเหลืองบวม ต่อมทอนซิล ตับหรือม้าม ซึ่งสัญญานเหล่านี้มีผลจากอาการของโรค
การตรวจเลือด
- การตรวจแอนติบอดี้ หากต้องการความแน่ใจเพิ่มเติม การทดสอบ Monospot อาจต้องทำเพื่อตรวจเลือดหาแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ การตรวจสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว แต่อาจตรวจไม่พบการติดเชื้อในระหว่างการป่วยช่วงสัปดาห์แรก การตรวจหาแอนติบอดี้อาจต้องใช้เวลานานเพื่อผลที่ได้ แต่สามารถตรวจพบได้หากเป็นการตรวจในสัปดาห์แรกที่มีอาการปรากฏ
- การนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว แพทย์อาจใช้การตรวจเลือดอื่นๆเพื่อนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเมื่อมองหาเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ การตรวจเลือดจะสามารถยืนยันโรคโมโนนิวคลิโอซีสได้แต่อาจดูความเป็นไปได้
การรักษา
ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมในการรักษาการติดเชื้อโรคโมโนนิวคลิโอซีส ยาปฏิชีวนะจะไม่ทำงานเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสเช่นโมโน การรักษาทำได้เพียงการดูแลตนเองเช่น การพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและดื่มน้ำเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจหาซื้อยาบรรเทาอาการปวดได้ตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อรักษาอาการไข้หรือเจ็บคอ
ยา
- การรักษาการติดเชื้อทุติยภูมิและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ การติดเชื้อเชื้อเสตร็ปโตคอสคัสบางครั้งอาจเกิดร่วมกับการเจ็บคอจากโรคโมโนนิวคลิโอซีส และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อไซนัสหรือการติดเชื้อต่อมทอนซิล (ทอนซิลอักเสบ) ถ้าเป็นเช่นนั้นอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อการติดเชื้อแบคทีเรีย
Severe narrowing of your airway may be treated with corticosteroids. - ความเสี่ยงในการเกิดผื่นจากการใช้ยา ยาอะม็อกซิลินและยาปฏิชีวนะอื่นๆซึ่งรวมไปถึงยาเพนนิซิลินมักไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่เป็นโรคโมโนนิวคลิโอซีสที่รับประทานยานี้อาจก่อให้เกิดผื่นได้ ผื่นไม่ได้หมายความว่าต้องเกิดจากการการแพ้ยาปฏิชีวนะ แต่อย่างไรก็ตามหากจำเป็นยาปฏิชีวนะอื่นๆอาจก่อให้เกิดอาการผื่นได้น้อยกว่าในการรักษาการติดเชื้อที่เกิดร่วมกับโรคโมโนนิวคลีโอซีส
การใช้ชีวิตประจำวัน และการดูแลตนเองที่บ้าน
นอกเหนือไปจากการพักผ่อนที่เพียงพอแล้วนั้น ขั้นตอนดังต่อไปนี้ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการโรคโมโนนิวคลิโอซีสได้:
- ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้มากๆ ของเหลวจะช่วยบรรเทาอาการไข้และเจ็บคออักเสบทั้งช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ
- รับประทานยาบรรเทาอาการปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ใช้ยาบรรเทาปวดเช่น อะเซตามีโนเฟน (ไทลินอลและอื่นๆ) หรือไอบูโรเฟน (แอดวิล มอทรีนไอบี และอื่นๆ) ตามที่ต้องการ ยาดังกล่าวนี้ไม่ได้มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อไวรัส รับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้เท่านั้น
ใช้ยาแอสไพรินอย่างระมัดระวังในเด็กและวัยรุ่น ถึงแม้ว่าแอสไพรินจะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ในเด็กที่อายุมากกว่า 3 ปีก็ตาม เด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นที่เพิ่งหายจากโรคอีสุกอีใสหรือโรคไข้หวัดไม่ควรรับประทานแอสไพริน เพราะแอสไพรินมีผลกับโรคเรย์ซินโดรม แม้จะพบได้ไม่มากนักก็ตามแต่ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นในเด็กเป็นต้น - บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ สามารถทำได้วันละหลายๆครั้งต่อวันเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ผสมเกลือ 1/4 ชช. (15กรัม) ในน้ำอุ่น 8 ออนซ์ (237 ม.ล.)
รอคอยก่อนจะกลับไปเล่นกีฬาหรือบางกิจกรรม
สัญญานและอาการส่วนใหญ่ของโรคโมโนนิวคลิโอซีสจะบรรเทาได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่อาจต้องใช้เวลาอีกราว 2-3 เดือนเพื่อรู้สึกว่าหายเป็นปกติอย่างสมบูรณ์แล้ว ยิ่งมีการพักผ่อนมากการฟื้นตัวก็จะเร็วมากขึ้นด้วย การกลับไปทำกิจกรรมตามปกติเร็วเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาของโรค
เพื่อเป็นการช่วยการหลีกเลี่ยงภาวะม้ามแตก แพทย์อาจแนะนำให้รอคอยราว 1 เดือนก่อนกลับไปทำกิจกรรมที่มีความรุนแรง การยกเวทหนักๆ กีฬาที่มีการปะทะ ม้ามแตกส่งผลให้เกิดการเลือดออกอย่างรุนแรงต้องรีบพบแพทย์ฉุกเฉิน
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการกลับไปทำกิจกรรมตามปกติ แพทย์อาจแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อช่วยการกลับมาสร้างความแข็งแรงในขณะรอฟื้นตัวได้
การรับมือและการช่วยเหลือ
โรคโมโนนิวคลิโอซีสสามารถเกิดมีอาการอยู่ได้เป็นสัปดาห์ พยายามอยู่บ้านในขณะรอการฟื้นฟู อดทนกับช่วงที่ร่างกายต้องต่อสู้กับกับการติดเชื้อ
สำหรับคนหนุ่มสาว การเป็นโรคโมโนนิวคลีโอซีสนั้นหมายความว่าจะต้องพลาดกิจกรรมบางอย่างไป – การเข้าชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติและงานสังสรรค์ กิจกรรมจะต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะ นักเรียนจะไม่ได้ไปโรงเรียนในการรอให้โรคโมโนนิวคลิชิโอซีสหายและอาจต้องพิจารณาเป็นพิเศษเพื่อรักษาหน้าที่การงานไว้
หากเป็นโรคโมโนนิงคลิโอซีส คุณไม่จำเป็นต้องถูกกักตัว หลายคนมีภูมิต้านทานเชื้อดังกล่าวแล้วเพราะเคยติดเชื้อนี้ตอนวัยเด็ก แต่ทางที่ดีที่สุดคือควรอยู่แต่ในบ้านไม่ไปโรงเรียนและทำกิจกรรมอื่นๆจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
การเตรียมตัวนัดพบแพทย์
หากสงสัยว่ากำลังเป็นโรคโมโนนิวคลิโคซีสให้ไปพบแพทย์ ต่อไปนี้คือข้อมูลเพื่อช่วยให้เตรียมพร้อมในการพบแพทย์และรู้ว่าจะได้อะไรบ้างจากการไปพบแพทย์
สิ่งที่ต้องทำ
- จดอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงบางอย่างที่อาจดูเหมือนจะไม่เกี่ยวก็ตามเอาติดตัวไปในวันพบแพทย์
- จดข้อมูลรายละเอียดส่วนตัว เช่นความเครียด การเปลี่ยนแปลงชีวิตเมื่อเร็วๆนี้ กิจวัตรประจำวัน – รวมถึงพฤติกรรมการนอน-การได้สัมผัสกับคนที่เป็นโรคโมโนนิวคลิโอซิส.
- จดรายชื่อยาที่รับประทาน วิตามินและอาหารเสริม
- จดคำถามที่ต้องการจะทราบจากแพทย์
การเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าจะช่วยทำให้คุณใช้เวลาที่มีกับแพทย์ได้อย่างมีประโยชน์ คำถามพื้นฐานที่ควรถามแพทย์มีดังต่อไปนี้:
- อะไรคือสาเหตุของอาการหรือโรค?
- สาเหตุส่วนใหญ่ สาเหตุอื่นๆที่อาจเป็นไปได้ในการทำให้เกิดอาการหรือโรค?
- จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง?
- มีโรคประจำตัวอื่นๆ ควรรักษาร่วมกันเพื่อให้ดีที่สุดได้อย่างไร?
- มีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ต้องปฎิบัติตาม?
- จำเป็นต้องพักอยู่ที่บ้านไม่สามารถไปเรียนหรือทำงานได้ใช่หรือไม่ แล้วต้องอยู่บ้านนานแค่ไหน?
- จะสามารถกลับไปทำกิจกรรมที่มีความหนักหน่วงหรือเล่นกีฬาที่มีการปะทะได้เมื่อไร?
- มียาอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง?
- มีข้อมูลรายละเอียดให้กลับไปหรือไม่ หรือมีเว็บไซต์ไหนให้เข้าไปหาข้อมูลโรคได้
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก