โรคเพมฟิกอยด์ (Pemphigoid) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเพมฟิกอยด์ (Pemphigoid) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.05
4256
0

โรคเพมฟิกอยด์ (Pemphigoid) เป็นกลุ่มอาการแพ้ภูมิตัวเองที่หาได้ยาก มักทำให้เกิดแผลพุพอง(Impetigo) ผื่นบนผิวหนัง และเยื่อเมือก

ร่างกายส่งแอนติบอดีไปจับกับเซลล์ในผิวหนังที่ผิดปกติ  จากนั้นแอนติบอดีจะไปทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่แยกชั้นล่างสุดและชั้นบนของเซลล์ผิวหนังออกจากกัน

ภาวะนี้เกิดได้กับคนทุกวัย แต่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในผู้สูงอายุ โรคเพมฟิกอยด์ยังสามารถเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ยา หรือการทำเคมีบำบัด

ในขณะนี้ยังไม่มีการรักษาโรคเพมฟิกอยด์โดยเฉพาะ แต่มีตัวเลือกการรักษาเพื่อบรรเทาอาการหลายรูปแบบ

สาเหตุของโรคเพมฟิกอยด์

ประเภทอาการโรคตุ่มน้ำพอง

แม้ว่าโรคตุ่มน้ำพองจะพบได้น้อย แต่เป็นสาเหตุหลักของอาการพุพองที่พบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และมีโอกาสเกิดโรคนี้ะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 70 ​​ปี

กระบวนการรักษา และยาบางอย่างอาจทำให้เกิดโรคตุ่มน้ำพองได้ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ก็มีโอกาสทำให้เกิดภาวะนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ :

  • อาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบาดแผลที่รุนแรงอย่างการติดเชื้อ หรือแผลไฟลวก
  • รังสีอัลตราไวโอเลตที่ได้รับขณะบำบัดอาการด้วยรังสียูวี
  • รังสีไอออไนซ์ที่ได้รับขณะรักษาด้วยการใช้รังสี
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยาเพนิซิลลิน
  • ยาซัลฟาซาลาซีน
  • อเทเนอเซป
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • ภาวะทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน หรือภาวะสมองเสื่อม (Diamentia)
  • โรคคอพอก ตาโปน (ไทรอยด์)

อาการของโรคเพมฟิกอยด์

อาการส่วนมากของโรคเพมฟิกอยด์ ทำให้เกิดผื่นผิวหนังและพุพอง ผู้ที่เป็นโโรคเพมฟิกอยด์มักมีอาการเป็นระยะ ๆ  โดยช่วงที่ไม่เกิดอาการอาจบาวนานเป็นเดือนเป็นปีได้

ตำแหน่งที่เกิดอาการ และระยะเวลาที่อาการกำเริบนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และประเภทของโรคเพมฟิกอยด์ที่พบ

โรคตุ่มน้ำพอง

โรคตุ่มน้ำพองจะทำให้เกิดแผลพุพองบริเวณต่าง ๆ เช่น ลำตัวส่วนล่าง ขาหนีบ รักแร้ ต้นขาด้านใน ฝ่าเท้า และฝ่ามือ

อาการนี้คือการที่ผิวหนังนูนขึ้นมา และสร้างความระคายเคืองอย่างมาก พร้อมแผลพุพองต่าง ๆ ที่ยังไม่แตกออกทันที แผลพุพองนี้จะเต็มไปด้วยของเหลวใส หรือเลือด อาจมีความกว้างเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ถึงเซนติเมตร

ผิวหนังรอบ ๆ แผลพุพองอาจไม่ได้รับผลกระทบ หรือเกิดเป็นรอยแดง ๆ อาจมีอาการเจ็บปวด แต่มักไม่เกิดรอยแผลเป็น

คนส่วนใหญ่ที่มีโรคตุ่มน้ำพองจะมีอาการร้อน ๆ หนาว ตามมา ในช่วงที่ไม่มีอาการ ซึ่งสามารถรู้สึกได้ตลอดทั้งปี

ประมาณ 10 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคตุ่มน้ำพองจะมีอาการพุพองที่เป็นเยื่อเมือก

ซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์

กรณีของซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์ (CP) หรือที่เรียกว่า เพมฟิกอยด์เยื่อเมือกมักเป็นอาการพุพองที่เกิดบริเวณเยื่อเมือก

แผลพุพองคืออาการที่นำไปสู่ความเสียหายของผิวหนัง และเกิดบาดแผลเป็นตามมาได้ ซึ่งแผลเป็นที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงจนทำให้เสียโฉมได้

ผู้ป่วยส่วนที่มีอาการซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์จะเกิดอาการพองในปากก่อนลุกลามไปที่เยื่อบุ เยื่อเมือกส่วนอื่น ๆ เช่น ตา และจมูก มักพบอาการนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุ 40 ถึง 70 ปี

ผู้หญิงมีแนวโน้มเกิดอาการซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์สูงกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคนี้

ส่วนต่างๆของร่างกายที่มีโอกาสเกิดอาการ ได้แก่ :

  • ปาก
  • ตา
  • ลำคอ
  • จมูก
  • หลอดอาหาร (กล้ามเนื้อที่ใช้กลืนอาหาร)
  • ทวารหนัก
  • อวัยวะเพศ

บางกรณีอาจพบอาการบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า และลำคอด้วย อาการผิวหนังพุพองเกิดขึ้นใน 25 ถึง 30 %ของผู้ที่มีอาการซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์

ผู้ที่มีอาการซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ การพองในปากอาจทำให้รับประทานอาหารได้ยาก หากรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร หรือน้ำหนักลดได้ เยื่อบุตาที่เป็นแผลพุพองและเกิดแผลเป็นอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางสายตาหรือสูญเสียการมองเห็น

Bullous Pemphigoid

จัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์

อาการผิดปกตินี้เกิดในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดผื่นพุพอง และมีผื่นคันที่ผิวหนังส่วนบนของร่างกาย

มีลักษณะผดขึ้นมาก่อนลักษณะเป็นปื้นบริเวณหน้าท้อง โดยเฉพาะบริเวณสะดือ จากนั้นผดจะลุกลามไปตาม และแขนขา

เมื่อผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ แผลพุพองจะก่อตัวรวมกันแน่นขึ้น และมีลักษณะเป็นหย่อมของเลือดคั่ง โดยทั่วไปแล้วอาการนี้จะไม่ทำให้เกิดแผลเป็นยกเว้นแต่แผลเกิดการติดเชื้อ

อาการนี้พบน้อยกว่า 5 %ของผู้ป่วยทั้งหมด และมีโอกาสที่อาการจะถูกส่งผ่านจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้

จัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในช่วงปลายของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในระหว่างการตั้งครรภ์ และอาจลุกลามเมื่อใกล้หรือหลังคลอดได้ด้วย ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดจัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์น้อย หรือประมาณ 1 คนใน 50,000 คน

ภาวะนี้มักเกิดผู้หญิงผิวขาว และผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง หรือเคยใช้ยาคุมกำเนิดมาก่อน รวมถึงผู้หญิงที่มีอาการภูมิต้านตนเองด้วย

การวินิจฉัยโรคเพมฟิกอยด์

หากเกิดแผลพุพองแพทย์มักจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคตุ่มน้ำพอง ด้วยการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณผิวหนัง กรณีที่อาการไม่ชัดเจน เช่นมีผื่นคันที่ผิวหนังโดยไม่มีแผลพุพองอาจต้องตรวจเลือดเพิ่มเติม

โรคตุ่มน้ำพองสามารถแยกจากปัญหาผิวหนังอื่น โดยพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้:

  • ศีรษะและคอไม่ได้รับผลกระทบ
  • เกิดอาการบริเวณเยื่อเมือกเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
  • เกิดแผลเป็นเล็กน้อย หรือไม่มีเลย

กรณีการวินิจฉัยซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์ จะพิจารณาจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณแผลพุพอง หรือเนื้อเยื่อ เยื่อเมือกที่เกิดอาการ

จัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์จะวินิจฉัยโดยตรวจชิ้นเนื้อที่ผิวหนัง แพทย์จะหาความแตกต่างจากอาการอื่น ๆ ด้วยการหาแอนติบอดีในผิวหนัง และในตัวอย่างเลือด

การตรวจต่อมไทรอยด์มักใช้เพื่อวินิจฉัยอาการจัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์ จากความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน เช่น โรคคอพอกตาโปน

การรักษาโรคเพมฟิกอยด์

แพทย์มักใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในการรักษาระยะแรกในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือใช้ยาอื่น ๆ เพิ่มเติมในกรณีที่มีอาการอื่น ๆ ร่วม หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน

ตัวเลือกการรักษาอื่น ๆ สำหรับโรคเพมฟิกอยด์ ได้แก่ :

  • การบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน
  • นิโคตินาไมด์
  • แดปโซน
  • สารบำรุงผิวหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อลดอาการคัน
  • ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไทลินอล หรือแอสไพริน
  • ยาต้านการอักเสบ เช่น methotrexate
  • ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดการติดเชื้อ
  • ยารักษาผลข้างเคียงของสเตียรอยด์ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน และโรคกระเพาะ
  • ยากดภูมิคุ้มกันเช่น mycophenolate mofetil, rituximab และ azathioprine (เพื่อลดสเตียรอยด์)

การรักษาในโรงพยาบาลหรือการทำแผลโดยพยาบาลมีความจำเป็นในกรณีที่ผู้ป่วยมีแผลติดเชื้อหรือมีแผลที่รุนแรง

แพทย์จะติดตามอาการหลังรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรคเพมฟิกอยด์ต้องใช้เวลารักษานานหลายสัปดาห์ หรือหลายปี และอาจเกิดซ้ำได้

ยาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคเพมฟิกอยด์ประเภทต่าง ๆ  นั้นเป็นยาตัวเดียวกัน แต่แนวทางการรักษาจะกำหนดเป็นรายบุคคลตามประเภทของความรุนแรงและลักษณะอาการ

แนวทางการกำหนดวิธีการรักษาโรคตุ่มน้ำพอง

การใช้ยาสเตียรอยด์จะใช้เพื่อรักษาอาการที่รุนแรงหรือเรื้อรังของโรคตุ่มน้ำพอง โดยแพทย์มักใช้ยาในระดับที่ต่ำที่สุด และหยุดยาทันทีที่อาการดีขึ้น

โดยทั่วไปแผนการใช้ยารักษาคือ prednisone 5 ถึง 10 มิลลิกรัมต่อวัน มักต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการใช้ยาสเตียรอยด์ลดอาการ และอาจใช้เวลาหลายเดือนถึงหลายปีจึงจะแก้ไขอาการได้

บางครั้งอาการอาจหายไปเอง แต่ในกรณีผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ หากแผลลุกลาม และติดเชื้ออาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แม้จะได้รับการรักษาแล้ว แต่ผู้ป่วยโรคเพมฟิกอยด์ที่เกิดอาการรุนแรงอาจสูงถึง 25 ถึง 30 % ในแต่ละปี งานวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างโรคตุ่มน้ำพองกับโรคมะเร็ง

แนวทางการกำหนดวิธีการรักษาซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์

แพทย์จะกำหนดแนวทางการรักษาจากอาการและขอบเขตของโรค อาจรักษาด้วยยาสเตียรอยด์บางประเภท  ได้แก่ :

  • ขี้ผึ้งสเตียรอยด์ ครีม หรือล้างทำความสะอาด
  • ยา ciclosporin แบบล้าง
  • ยาหยอดตา corticosteroid
  • สเตียรอยด์ที่ใช้ฉีดเข้าแผลโดยตรง
  • สุขอนามัยของฟัน และการตรวจฟันเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารอ่อน หรือเหลวเพื่อลดอาการระคายเคืองต่อแผลพุพอง และอาการปวดที่เกี่ยวข้อง
  • การใช้สารรักษาความชุ่มชื้น หรือทำให้ผิวนุ่มนวลบริเวณอวัยวะเพศที่เกิดแผลพุพอง

หากอาการของโรครุนแรงอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

หลายคนที่มีอาการซิคาตริเซียลเพมฟิกอยด์ต้องติดตามและรักษาเป็นระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ อาการอาจตอบสนองต่อยาช้า หรือไม่สามารถแก้ไขได้เต็มที่

แนวทางการกำหนดวิธีการรักษาจัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์

กรณีอาการจัสเตชั่นนัลเพมฟิกอยด์ที่ไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษาโดยตรง อาการอาจหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากคลอดทารก

แพทย์อาจสั่งยาสเตียรอยด์ในกรณีที่อาการทำให้รู้สึกลำบาก หรือไม่สบาย ยาแก้แพ้ก็ใช้ลดอาการคันได้

กรณีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจสั่งจ่ายสเตียรอยด์ที่ใช้ในช่องปาก ยาอื่น ๆ อย่างยาปฏิชีวนะอาจใช้ในกรณีที่อาการรุนแรงแม้ว่าจะคลอดทารกแล้ว หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *