โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcal Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcal Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.05
852
0

Streptococcus pneumoniae (S. pneumoniae) เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้หลายอาการ รวมทั้งเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม และการติดเชื้อไซนัส แบคทีเรียนี้แพร่กระจายได้ง่าย และรวดเร็วจากคนสู่คนผ่านการไอและจาม

  1. pneumoniae เป็นสาเหตุส่วนมากที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุสำคัญของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีด้วย

เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมอง หรือก็คือเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มสมองและไขสันหลังเอาไว้ เมื่อเกิดการติดเชื้อก็จะทำให้เนื้อเยื่อเกิดการบวม ส่วนมากไวรัสคือเชื้อที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Streptococcus pneumoniae

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนี้เป็นโรคหายาก แต่มักมีอาการร้ายแรงและสามารถทำให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การติดเชื้ออาจมีผลระยะยาว และถึงแก่ชีวิตได้ การรักษาอย่างทันท่วงทีจึงจำเป็นมา เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้

โอกาสติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่รุนแรงสามารถลดลงอย่างมีนัยสำคัญได้ เมื่อได้รับวัคซีนนิวโมคอคคัส

สาเหตุของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสเกิดขึ้น เมื่อเชื้อ S. pneumoniae เข้าสู่กระแสเลือด และทำให้ของเหลวรอบ ๆ สมอง หรือกระดูกสันหลังติดเชื้อ

เมื่อผู้ที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ อาจไม่มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบเสมอไป แต่ก็อาจเกิดอาการอื่น ๆ  ได้แก่ :

  • การติดเชื้อในหู
  • การติดเชื้อในเลือด
  • การติดเชื้อไซนัส
  • โรคปอดอักเสบ

ผู้มีอาการเหล่านี้ส่วนมากแบคทีเรียจะไม่เติบโต หรือมีชีวิต และมักไม่ทำให้เจ็บป่วยได้ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ซึ่งอาจทำผู้อื่นเกิดอาการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสได้

แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายผ่านละอองเล็ก ๆ ที่ปล่อยออกมาจากจมูก หรือปากของคน ละอองเหล่านี้อาจสัมผัสกับบุคคลอื่นผ่านทาง:

  • ไอ
  • จาม
  • ใช้ภาชนะอาการ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน
  • ใช้ลิปสติกร่วมกับผู้อื่น

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

ปัจจัยบางอย่างสามารถทำให้ผู้คนเกิดความอ่อนไหวต่อการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส ได้แก่ :

  • ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากการติดเชื้อ หรือใช้ยาบางชนิด
  • โรคเบาหวาน
  • การได้รับความกระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บบริเวณศีรษะ
  • การติดเชื้อในหูจากเชื้อ S. pneumoniae
  • เคยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบมาก่อน
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • สูบบุหรี่
  • ผ่าตัดนำม้ามออกไป หรือม้ามไม่ทำงาน
  • โรคตับ ปอด ไต หรือหัวใจเรื้อรัง
  • การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจของเชื้อ S. pneumoniae
  • การใช้ประสาทหูเทียม
  • เคยเป็นโรคปอดบวมจากเชื้อ S. pneumoniae มาก่อน
  • เคยรติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบว่าผู้ที่มีอาการของม้ามผิดปกติ รวมถึงการติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ และมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส

CDC ยังรายงานว่าเด็กที่มีเชื้อสายแอฟริกัน – อเมริกัน ชาวพื้นเมืองอะแลสกา และชาวอเมริกันอินเดียนแดงบางกลุ่มมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้

ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับคนอื่น ๆ ใกล้ชิดมีโอกาสเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพัก หรือสถานที่ชุมชนแออัด รวมทั้งเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กด้วย

Pneumococcal Disease

อาการของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสมักเกิดอย่างกะทันหันภายใน 3 วันหลังจากรับเชื้อ อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส ได้แก่ :

  • ไข้สูง
  • คอแข็ง
  • หนาวสั่น
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • สภาวะจิตใจไม่ปกติ
  • อาการปั่นป่วน
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ตาแพ้แสง photophobia
  • หมดสติ หรือกึ่งมีสติ
  • หายใจถี่
  • ศีรษะและคอโค้งไปข้างหลัง

ทารกที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสจะมีกระหม่อมนูนขึ้น เป็นลักษณะที่จุดอ่อนด้านบนศีรษะของทารกถูกดันออกไปด้านนอก

การรักษาโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำในทันที

โดยปกติแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะที่เรียกว่าเซฟทริอาโซนในการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส  แต่ก็สามารถใช้ยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ได้แก่ :

  • เพนิซิลลิน
  • เบนซิลเพนิซิลลิน
  • เซโฟแทกซีม
  • คลอแรมเฟนิคอล
  • แวนโคไมซิน

บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อช่วยลดอาการบวมบริเวณสมอง และกระดูกสันหลัง

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายและสังเกตอาการของผู้ป่วย หากสงสัยว่าเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส แพทย์อาจสั่งให้นำตัวอย่างจากกระดูกสันหลังไปตรวจวินิจฉัย โดยการเก็บของเหลวตัวอย่างจากจากกระดูกสันหลังของผู้ป่วย

แพทย์อาจการทดสอบอื่น ๆ ได้แก่ :

  • ประวัติทางพันธุกรรม
  • CT สแกนส่วนศีรษะ
  • X-ray หน้าอก

การวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีคือสิ่งสำคัญต่อการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ภาพรวมโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นภาวะที่อันตรายมาก มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1 ใน 5 ของอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส เด็กเล็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีความเสี่ยงมากที่สุด

การฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงควรดำเนินการเมื่อปรึกษากับแพทย์แล้ว การฉีดวัคซีนเป็นวิธีเดียวที่สามารถลดความเสี่ยงของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสได้

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเรื้อรัง ดังต่อไปนี้:

  • สูญเสียการได้ยิน
  • สูญเสียการมองเห็น
  • สมองบาดเจ็บ
  • ปัญหาการควบคุมพฤติกรรม
  • ความจำเสื่อม
  • อาการชัก
  • พัฒนาการล่าช้า

การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ยิ่งผู้ป่วยพบแพทย์เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะหายขาดจากโรคก็ดีขึ้นเท่านั้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *