โรคจิตเภท (Schizophrenia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคจิตเภท (Schizophrenia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.01
2148
0

โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ ภาวะสุขภาพจิตที่มักพบในวัยรุ่นตอนปลาย หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีผลต่อคำพูด ความคิด อารมณ์ และชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต และความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง

อาการของจิตเภท

อาการของผู้ป่วยจิตเภทที่พบโดยทั่วไป ได้แก่

  • คำพูดที่สับสนยากที่ผู้อื่นจะเข้าใจ

  • ขาดการแสดงออกทางสีหน้า

  • ขาดการแสดงออกทางอารมณ์

  • ขาดแรงจูงใจ

  • ไม่มีสมาธิจดจ่อ

  • โรคจิต เช่น ภาพลวงตา และภาพหลอน

โดยอาการที่เป็นสัญญ

อาการหลักๆ ของโรคจิตเภทโดยละเอียดมีดังนี้

Schizophrenia

อาการหลงผิด หรือหลอน

คนที่มีอาการหลอน หรือหลงผิดอาจเชื่อว่ามีบางอย่างเป็นความจริง แม้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง โดยพวกเขาออาจจะมีความเชื่อต่อไปนี้

  • หลงคิดว่าตัวเองมีความสำคัญ

  • คิดว่ากำลังถูกไล่ล่า

  • คิดว่ามีคนกำลังพยายามควบคุม

  • หลงคิดว่ามีพลังพิเศษ

อาการเห็นภาพหลอน

อาการหลอนที่พบมากที่สุด ได้แก่ การได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง หรือแม้กระทั่งการได้กลิ่น หรือรับรสที่ไม่มีอยู่

อาการสับสนทางความคิดและคำพูด

ความคิดหรือคำพูดของผู้ป่วยอาจจะสลับไปมา และไม่เชื่อมโยง หรือไม่มีตรรกะ รวมทั้งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการทำความเข้าใจ ความจำ และตรรกะต่างๆ

อาการอื่นๆ

อาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการหลักมีดังนี้

  • ขาดแรงจูงใจ ไม่อยากพูดคุยหรือเคลื่อนไหว

  • ไม่สามารถตอบสนองทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมเช่นมีความสุข หรือเศร้า

  • หลีกหนีจากสังคม ไม่ต้องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

  • มีความคิด การพูดจา การสื่อสารไม่ปกติ ผู้อื่นเข้าใจได้ยาก

สาเหตุของจิตเภท

จิตเภทสามารถพัฒนาได้จากกรรมพันธุ์ หรือสภาพแวดล้อม หรือทั้ง 2 ปัจจัยรวมกัน

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

สำหรับคนที่ไม่มีประวัติผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัวมาก่อนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจิตเภทน้อยมาก โดยไม่ถึง 1% เลยด้วยซ้ำ

ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง

จิตเภทนั้นสามารถเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองได้แก่ Dopamine และ Serotonin

ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม

ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงมีดังนี้

  • ทารกได้รับบาดเจ็บระหว่างการคลอด

  • ทารกขาดสารอาหารก่อนคลอด

  • การติดเชื้อไวรัส

  • การกระทบกระเทือนทางจิตจากสังคม

การรักษาจิตเภท

โรคจิตเภทนั้นเป็นอาการที่คงอยู่ไปตลอดชีวิต การรักษาจะทำโดยการจัดการ ควบคุม และหลีกเลี่ยงการกำเริบของอาการจิตเภท โดยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องเลือกวิธีการรักษาให้สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยทางเลือกการรักษามีดังนี้

การรักษาหลักในโรคนี้คือการใช้ยารักษาโรคจิต ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคจิตเภทนี้เป็นมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งยารักษาโรคจิตจะไปช่วยแก้ไขหรือปรับระดับของสารเคมีต่างๆ ให้เข้าที่ทำให้อาการโรคจิตดีขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาส่วนหนึ่งของผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อโรค ต่อสังคมรอบข้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยยา การช่วยด้วยจิตบำบัดหรือการให้คำแนะนำของแพทย์หรือบุคลากรทางสุขภาพจิตจะช่วยในส่วนนี้อย่างมาก

โดยทั่วไปแล้วหากผู้ป่วยมีอาการค่อนข้างมากแพทย์ก็มักรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรบกวนผู้อื่นหรือเป็นการป้องกันอันตรายแล้ว ในการรักษาก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาในขนาดสูง ซึ่งการรักษาในโรงพยาบาลจะสะดวกกว่าเนื่องจากมีแพทย์พยาบาลดูแลใกล้ชิด การปรับยาทำได้สะดวก หากมีอาการข้างเคียงจากยาก็แก้ไขได้โดยเร็ว

หากผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงมาก ญาติพอดูแลกันได้ แม้ผู้ป่วยจะมีอาการหูแว่วหรือประสาทหลอนแต่ก็ไม่วุ่นวาย ไม่ก้าวร้าว ตักเตือนพอเชื่อฟัง แพทย์ก็มักจะให้รักษาตัวอยู่กับบ้านมากกว่า เพราะการใช้ยาไม่จำเป็นต้องใช้ขนาดสูง โอกาสเกิดอาการข้างเคียงก็มีน้อย ผู้ป่วยและญาติจำนวนไม่น้อยที่หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่อยากอยู่โรงพยาบาลเนื่องจากเกรงว่าจะมีผู้อื่นทราบว่าเป็นโรคจิต หรือเกรงว่าจะมีผลต่องานที่ทำ นอกจากนี้การอยู่โรงพยาบาลนานๆ ยังทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินจากญาติไป เมื่อกลับบ้านก็ต้องมาเริ่มปรับตัวกันใหม่

ในการดูว่าจะรับผู้ป่วยไว้อยู่ในโรงพยาบาลหรือไม่ แพทย์จะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ เหล่านี้ ร่วมกับคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในครอบครัวขณะนั้น ผลกระทบของตัวโรคที่มีต่อผู้ป่วยโดยจะดูเป็นรายๆ ไป ไม่ได้มีเป็นกฎตายตัวว่าถ้าอาการเช่นนี้จะต้องรับหรือไม่รับ

การวินิจฉัยจิตเภท

ยังไม่มีการทดสอบสำหรับการวินิจฉัยโรคจิตเภท  แต่แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการสังเกต และซักถามประวัติของผู้ที่มีอาการทางจิตเภท หรืออาจจะมีตรวจสอบอื่นๆ เช่น เนื้องอกในสมอง เพื่อที่จะแยกแยะปัญหาสุขภาพกาย ออกจากปัญหาทางจิตใจ หรืออาจจะทำวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยไบโพลาร์หรือไม่

ภาพรวม

โรคจิตเภทเป็นปัญหาสุขภาพจิตระยะยาว ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และส่งผลต่อบุคคลรอบข้างได้

การรักษานั้นมุ่งเน้นไปที่การจัดการกับอาการ และการรับกำลังใจสนับสนุนจากครอบครัว และผู้คนรอบข้าง

หากมีบุคคลใกล้ชิดที่เป็นผู้ป่วยจิตเภท ควรที่จะดูแลเอาใจใส่ และดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสนับสนุนการรักษาให้เป็นไปตามแผนที่แพทย์แนะนำ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *