

- 1. ลดความเครียด
- 2. ช่วยควบคุมอาการวิตกกังวล
- 3. ช่วยด้านสุขภาพทางด้านอารมณ์
- 4. ช่วยเรื่องการตระหนักรู้ตนเอง
- 5. เพิ่มช่วงระยะเวลาการสนใจให้ยาวขึ้น
- 6. อาจช่วยลดการสูญเสียความจำในผู้สูงอายุ
- 7. ช่วยสร้างความอ่อนโยนและเป็นมิตร
- 8. ช่วยต่อสู้กับอาการเสพติด
- 9. ช่วยให้การนอนดีขึ้น
- 10. ช่วยควบคุมอาการเจ็บปวด
- 11. ช่วยลดความดันโลหิต
- 12. เข้าถึงได้ทุกที่
- บทสรุป
การนั่งสมาธิ คือ กระบวนการที่ทำเป็นประจำในการฝึกจิตใจอย่างตั้งมั่นและปรับเปลี่ยนทางความคิด ความนิยมการทำสมาธิเพิ่มมากขึ้นเมื่อเราค้นพบว่ามีประโยชน์เพื่อสุขภาพ การนั่งสมาธิใช้เพื่อเพิ่มการรับรู้ตัวเองและสิ่งรอบข้าง หลายๆคนคิดว่าการทำสมาธิคือหนทางในการลดความเครียด และเพิ่มสมาธิ หลายคนใช้การฝึกนี้เพื่อช่วยพัฒนาพฤติกรรมและความรู้สึกที่เป็นประโยชน์เช่นการคิดบวกทางด้านอารมณ์และมุมมอง ความมีวินัยในตนเอง มีรูปแบบการนอนที่ดีต่อสุขภาพและแม้แต่เพิ่มความอดทนต่ออาการเจ็บปวด
ต่อไปนี้คือ12 ประโยชน์ของการนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพ
1. ลดความเครียด
การลดความเครียดคือหนึ่งในเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้คนหันมาลองนั่งสมาธิ
หนึ่งในข้อสรุปที่เป็นคำกล่าวขานมากที่สุดของสมาธิคือการลดความเครียด
ตามปกติ ความเครียดทางด้านจิตใจและร่างกายมักมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลดระทบที่เป็นอันตรายจากความเครียดหลายอย่าง เช่นการปล่อยสารเคมีการอักเสบที่เรียกว่าไซโตไคน์
ผลกระทบนี้สามารถส่งผลรบกวนการนอน ทำให้เกิดซึมเศร้าและอาการวิตกกังวล ความดันโลหิตสูงขึ้นและทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าและความคิดตื้อ
จากการศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์จากการนั่งสมาธิรูปแบบที่เรียกว่า “การฝึกสติหรือการเจริญสติ” สามารถลดการอักเสบที่มีเหตุมาจากความเครียดได้
ยิ่งไปกว่านั้นจากการวิจัยยังพบว่าการนั่งสมาธิยังช่วยทำให้อาการที่เกิดจากภาวะเครียดดีขึ้น รวมถึงกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงและไฟโบรมัยอัยเจีย
2. ช่วยควบคุมอาการวิตกกังวล
การนั่งสมาธิสามารถลดระดับความเครียดลงได้ ซึ่งส่งผลทำให้อาการวิตกกังวลน้อยลงด้วย
การวิเคราะห์เมต้าที่รวมผู้ใหญ่เกือบ1,300 คน พบว่าการนั่งสมาธิอาจลดอาการวิตกกังวลได้ ที่น่าสนใจคือผลนี้ได้ผลมากในคนที่มีระดับความวิตกกังวลสูงมาก
การนั่งสมาธิเจริญสติเป็นเวลา 8 สัปดาห์ช่วยลดอาการวิตกกังวลในคนที่มีภาวะวิตกกังวลทั่วไป ร่วมกับการเพิ่มการคิดบวกเกี่ยวกับตนเองและการจัดการและรับมือกับความเครียด
จากการศึกษาคน 47 คนที่มีภาวะเจ็บปวดเรื้อรังพบว่าการเข้าร่วมโปรแกรมการนั่งสมาธิ 8 สัปดาห์พบว่าทำให้อาการซึมเศร้า วิตกกังวลและเจ็บปวดดีขึ้น
การนั่งสมาธิอาจช่วยควบคุมความเครียดจากการทำงานได้จากการศึกษาพบว่าลูกจ้างที่ใช้แอปนั่งสมาธิเจริญสติเป็นเวลา 8 สัปดาห์สามารถช่วยให้มีความรู้สึกในการดำเนินชีวิตดีขึ้นและลดความเครียดจากงานได้
3. ช่วยด้านสุขภาพทางด้านอารมณ์
การนั่งสมาธิบางรูปแบบสามารถทำให้ภาพลักษณ์ของตนเองดีขึ้นและมีมุมมองด้านบวกในการใช้ชีวิตดีขึ้นด้วย
ตัวอย่าง การรักษาผู้ใหญ่ 3,500คนพบว่าการนั่งสมาธิเจริญสติช่วยทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้น
คล้ายคลึงกันกับการศึกษาคนที่ได้รับการบำบัดสมาธิลดอาการซึมเศร้าได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
จากการศึกษาพบว่าคนที่ฝึกนั่งสมาธิมีความคิดด้านลบในการตอบสนองภาพลบน้อยลง
สารเคมีการอักเสบที่เรียกว่าซีโตไคน์ ซึ่งเป็นตัวที่มีผลตอบสนองต่อความเครียด ส่งผลต่ออารมณ์นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า การนั่งสมาธิช่วยลดอาการซึมเศร้าได้โดยไปลดระดับของสารเคมีการอักเสบนี้ได้
4. ช่วยเรื่องการตระหนักรู้ตนเอง
การนั่งสมาธิบางรูปแบบอาจช่วยให้เข้าใจตนเองได้มากขึ้น ช่วยให้เข้าถึงตัวเองได้ดีมากขึ้น
ตัวอย่างการนั่งสมาธิแบบฝึกถามตนเองมีจุดประสงค์เพื่อช่วยพัฒนาการเข้าใจในตนเองมากขึ้นและเรียนรู้วิธีเชื่อมโยงกับสิ่งรอบๆตัว
ส่วนรูปแบบอื่นๆจะสอนให้มีความคิดยอมรับถึงสิ่งที่เป็นภัยหรือทำร้ายตัวเอง ความคิดเรื่องการเข้าใจในตนเอง
การฝึกสมาธิแบบไทชิยังช่วยด้านความคิดการรับรู้ความสามารถตนเองได้ดีขึ้น เพื่อนำความเชื่อในความสามารถของตนเองมาใช้เพื่อให้ก้าวพ้นเรื่องท้าทาย
จากการศึกษาผู้ใหญ่จำนวน 153 คนที่นั่งสมาธิแบบเจริญสติเป็นเวลาสองสัปดาห์ พบว่าช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวลงและเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้มากขึ้น
5. เพิ่มช่วงระยะเวลาการสนใจให้ยาวขึ้น
การนั่งสมาธิแบบการเพ่งความสนใจคือการยกระดับความใส่ใจสนใจให้ยืดยาวนานขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและความทนทานในการใส่ใจบางสิ่งบางอย่าง
ตัวอย่างเช่น จากการศึกษาคนที่ฟังเทปการนั่งสมาธิจะช่วยความสนใจดีขึ้นสามารถทำงานได้สำเร็จมากขึ้น
ดังนั้นการนั่งสมาธิเป็นช่วงเวลาสั้นๆในแต่ละวันอาจมีประโยชน์ จากการศึกษาพบว่าการนั่งสมาธิเพียงแค่ 13 นาทีทุกวันช่วยเพิ่มความสนใจและความจำได้หลังผ่านไป 8 สัปดาห์
6. อาจช่วยลดการสูญเสียความจำในผู้สูงอายุ
เมื่อความสนใจดีขึ้นและความคิดอ่านชัดเจนมากขึ้นก็อาจช่วยทำให้จิตใจเราเป็นหนุ่มเป็นสาวมากขึ้นด้วย
วิธีภาวนามนตรา กริตัน กริยา คือการนั่งสมาธิที่ผสมผสานการท่องมนตร์ด้วยการเคลื่อนไหวนิ้วซ้ำๆพร้อมกับเพ่งความคิด จากการศึกษาคนที่สูญเสียความจำพบว่าสามารถทำแบบทดสอบด้านจิตประสาทดีขึ้น
เพื่อการต่อสู้กับภาวะการสูญเสียความจำในผู้สูงอายุ พบว่าอย่างน้อยการนั่งสมาธิก็ช่วยทำให้ความจำในคนไข้ที่ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมมีบางส่วนดีขึ้น และยังช่วยควบคุมความเครียดและทำให้การรับมือกับการดูแลสมาชิกในบ้านที่มีภาวะสมองเสื่อมดีขึ้น
7. ช่วยสร้างความอ่อนโยนและเป็นมิตร
การนั่งสมาธิบางรูปแบบอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกด้านบวกและทำให้เกิดการแสดงออกต่อตัวเองและผู้อื่นได้ดี
เมตตา คือการนั่งสมาธิรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าการนั่งสมาธิความรักความเมตตา เพื่อเป็นการพัฒนาความคิดและความรู้สึกต่อผู้อื่น
เมื่อฝึกไปเรื่อยๆเราจะเรียนรู้การเอื้อเฟื้อมีเมตตาและให้อภัย เริ่มจากเพื่อนจากนั้นก็เป็นคนรู้จักและท้ายสุดกับศัตรู
8. ช่วยต่อสู้กับอาการเสพติด
การฝึกจิตหรือสมองจะช่วยเราพัฒนาดีขึ้นผ่านการนั่งสมาธิ ที่อาจช่วยหยุดการพึ่งพาคนอื่นได้โดยเพิ่มการควบคุมตนเองและรับรู้สิ่งกระตุ้นในการเกิดพฤติกรรม
การนั่งสมาธิอาจช่วยให้คนเรียนรู้การเบี่ยงเบนความสนใจ จัดการกับอารมณ์และแรงกระตุ้น และยังเพิ่มความเข้าใจถึงสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของสิ่งที่เกิด.
การนั่งสมาธิยังอาจช่วยเรื่องการควบคุมความอยากอาหารได้ จากการศึกษาพบว่าการนั่งสมาธิแบบเจริญสติจะช่วยลดอารมณ์และความอยากในการรับประทานอาหาร
9. ช่วยให้การนอนดีขึ้น
ทุกวันนี้ประชากรเกือบครี่งที่ต้องประสบกับอาการนอนไม่หลับ
จากการศึกษาได้ทำการเปรียบเทียบการรักษาเข้าโปรแกรมการนั่งสมาธิและพบว่าคนที่นั่งสมาธิสามารถนอนหลับได้นานมากกว่าและทำให้อาการนอนไม่หลับชนิดรุนแรงดีขึ้น เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้นั่งสมาธิ
เพิ่มเติมคือการนั่งสมาธิยังช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย คลายความตึงเครียดและสร้างความสุขสงบที่อาจช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น
10. ช่วยควบคุมอาการเจ็บปวด
การรับรู้ความเจ็บปวดคือสิ่งที่ติดต่อกับสภาพทางจิตใจ ทำให้เกิดภาวะความเครียดสูง
จากการวิจัยพบว่าการนั่งสมาธิเป็นประจำส่งผลในการควบคุมความเจ็บปวดได้
ตัวอย่าง จากการศึกษาคนจำนวน 38 รายได้ข้อสรุปว่าการนั่งสมาธิแบบเจริญสติสามารถลดความเจ็บปวดลง ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและลดอาการซึมเศร้าในคนที่มีภาวะเจ็บปวดเรื้อรัง
11. ช่วยลดความดันโลหิต
การนั่งสมาธิสามารถช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ด้วยการลดความเครียดในหัวใจ
เมื่อเวลาผ่านไป ความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นในการปั้มเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานของหัวใจที่แย่ลง
ความดันโลหิตสูงมีส่วนทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือหลอดเลือดตีบแคบ ซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
การนั่งสมาธิจะช่วยควบคุมความดันเลือดได้ด้วยการผ่อนคลายสัญญานเส้นประสาทที่ทำงานร่วมกับการทำงานของหัวใจ เส้นเลือดแข็งตึงและการตอบสนองแบบสู้หรือหนี ซึ่งเพิ่มการตื่นตัวต่อสภาวะตึงเครียด
12. เข้าถึงได้ทุกที่
คนที่ได้รับการฝึกนั่งสมาธิแตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ต้องการอุปกรณ์หรือพื้นที่พิเศษ สามารถฝึกได้ใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีต่อวัน
หากคุณต้องการเริ่มต้นนั่งสมาธิ ให้ลองเลือกการนั่งสมาธิแบบที่คุณต้องการ
การนั่งสมาธิมีหลักๆอยู่ 2 แบบ:
- การนั่งสมาธิแบบเพ่งความสนใจเป็นการนั่งสมาธิแบบเพ่งความสนใจไปยังหนึ่งอย่างเช่น วัตถุ ความคิด เสียงหรือภาพ เพื่อเป็นการตัดสิ่งที่ทำให้ใจวอกแวก การทำจิตใจให้สงบ การนั่งสมาธิจะเพ่งอยู่แต่กับลมหายใจ บทสวดหรือเสียงที่ทำให้สงบ
- การนั่งสมาธิแบบมีสติรับรู้ เป็นรูปแบบการการกระตุ้นการรับรู้สิ่งรอบตัวทั้งหมด กระแสความคิดและความรู้สึกของตนเอง รวมถึงการรับรู้การยับยั้งความคิด ความรู้สึกหรือแรงกระตุ้น
บทสรุป
การนั่งสมาธิคือสิ่งที่ช่วยทำให้ทุกคนมีสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น
คุณสามารถนั่งสมาธิได้ทุกที่โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษหรือเป็นสมาชิกที่ไหน
ควรลองค้นหารูปแบบการนั่งสมาธิที่เหมาะกับตัวเองเพื่อเป็นหนทางทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แม้จะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีต่อวันก็ตาม
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก