โรคไทฟัส (Scrub Typhus) คือกลุ่มอาการของการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ยาก เกิดขึ้นในคนที่ถูกแมลงที่ติดเชื้อกัด เชื้อแบคทีเรียกลุ่มริกเก็ตเซียที่แตกต่างกันก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคไทฟัส หรือไข้รากสาดใหญ่ ที่แตกต่างกันออกไป
ในอดีตโรคไข้รากสาดใหญ่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายล้านคน แต่ในปัจจุบันนี้โรคนี้พบได้ไม่บ่อยนักเนื่องจากการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม คนที่อาศัยอยู่เบียดเสียดกันและอยู่ในแหล่งแออัดก็ยังคงมีโอกาสเป็นโรคไทฟัสได้
อาการไข้รากสาดใหญ่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการภายใน 1 ถึง2 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อจากแมลงที่ติดเชื้อ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากในการตามรอยของสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
อาการของโรคไทฟัสคือ:
- ปวดศีรษะ
- ไอ
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ผิวหนังขึ้นผื่น
- มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด เช่น มีไข้ หนาวสั่น และปวดกล้ามเนื้อ
- สับสน
- หายใจเร็ว
รูปแบบของโรคไทฟัสที่แตกต่างกันออกไปก็ทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ต่างออกไป คนที่เป็นโรคไข้รากสาดใหญ่อาจจะสังเกตุเห็นรอยตกสะเก็ดดำๆหรือรอยกัดบนผิวหนังและอาจมีตุ่มหนองบวม สำหรับรายที่เป็นไข้รากสาดจากหนูอาจทำให้ความอยากอาหารลดน้อยลง
ในบางรายโดยเฉพาะคนที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ อาการของโรคไทฟัสมักจะกลับมาแสดงอาการอีกครั้งในช่วงหลายเดือนหรือในหลายปีตามแต่ชนิดของการติดเชื้อ แพทย์มักเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าโรคบริลล์-ซินสเซอร์ ดังนั้นคนที่มีอาการของโรคไทฟัสอีกหลังจากที่เคยเป็นมาก่อนแล้วควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
สาเหตุของโรคไข้รากสาดใหญ่
โรคไทฟัสคือโรคที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจได้รับเชื้อมาจากการโดนแมลงที่มีเชื้อกัด แมลงเหล่านี้จะไปรับเชื้อมาโดยการไปกัดคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ จากนั้นแมลงเหล่านี้ก็จะแพร่เชื้อต่อด้วยการไปกัดคนหรือสัตว์ต่ออีกทอดหนึ่ง
แมลงที่ต่างชนิดกันก็จะแพร่เชื้อโรคไทฟัสที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น:
- ตัวไรอ่อน: จะเป็นพาหะเชื้อโรคไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งมักพบเจอได้บ่อยในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
- เหาลำตัว: คนที่ถูกเหาลำตัวกัดจะทำให้เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด
- หมัด: คนที่เป็นโรคไข้รากสาดจากหนูจะเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสกับหมัดที่เป็นพาหะของเชื้อ
การรักษาโรคไข้รากสาดใหญ่
ยาปฏิชีวนะ ด็อกซีไซคลีนไฮเคลต สามารถรักษาโรคไทฟัสทั้งสามรูปแบบได้ ผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาครั้งแรกมักทำให้อาการหายได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาประมาณ 7 ถึง 10 วัน ในบางรายอาจใช้เวลานานกว่านั้น
ปัจจัยเสี่ยง
คนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไทฟัสคือ:
- คนที่มีการเดินทางไปยังประเทศที่มีโรคติดเชื้อไทฟัสอยู่เป็นโรคที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป
- คนที่ใช้เวลาในสถานที่ที่มีความแออัดมากๆ โดยเฉพาะใกล้สัตว์หรือคนที่ขาดสุขอนามัย
- นอกจากติดเชื้อจากหมัดแล้ว ยังสามารถติดได้จากสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าเช่นหนู
- คนที่สัมผัสกับเหาลำตัว
- คนที่เพิ่งไปเดินเขาหรือไปตั้งแคมป์ในพื้นที่ที่มีพุ่มหญ้าสูงซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของตัวไรอ่อน
ผู้ที่มีอาการของโรคไทฟัสและมีปัจจัยความเสี่ยงมากกว่าหนึ่งอย่างควรรีบไปพบแพทย์
เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการแจ้งอาการทุกอาการให้แพทย์ทราบ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงเฉพาะอย่างสำหรับโรคไทฟัส อาการของโรคนี้มีความเหมือนกับอาการป่วยจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เช่นเป็นหวัด มีไข้ หากแพทย์ไม่ทราบข้อมูลทั้งหมดอาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิดพลาดได้
การป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไทฟัส และอีกทั้งยังไม่มีทางใดในการรับประกันได้ว่าจะสามารถป้องกันโรคได้ แต่อย่างไรก็ตามหากปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้อาจเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไทฟัสลงได้, รวมไปถึงเมื่อต้องมีการเดินทางด้วย คือ:
- เปลี่ยนเสื้อผ้า: ควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าชุดเดิมทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอาศัยอบู่ในที่แออัดหรือเมื่อสัมผัสโดนแมลงที่เป็นพาหะของเชื้อ
- ดูแลสุขอนามัยของเสื้อผ้า: ควรซักเสื้อผ้าทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับตัวไร เหาหรือเห็บ ถ้าเป็นไปได้ควรซักเสื้อผ้าในน้ำที่มีอุณหภูมิอย่างต่ำ 130°F. และควรเก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดมิดชิดไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม: ควรสวมเสื้อแขนยาวและถุงเท้าเมื่อไปตั้งแคมป์ก็สามารถช่วยป้องกันการโดนตัวไรอ่อนกัดได้
- หลีกเลี่ยงบริเวณพุ่มไม้ที่มีความหนาแน่น เพราะมักเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวไร
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร
การติดเชื้อไทฟัสพบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดขึ้นกับคนที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีโรคแพร่หลาย
อาการไข้หวัดหรือคล้ายไข้หวัดมักเป็นสัญญานโรคของการป่วยจากเชื้อไวรัส แต่อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นคนที่เพิ่งเดินทางหรือคนที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไทฟัสควรไปพบแพทย์ หรือในรายที่มีสิ่งต่อไปนี้ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน:
- คนที่มีอาการคือเด็กทารก, คนสูงอายุหรือคนที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ
- อาการไข้หวัดหรืออาการคล้ายไข้หวัดไม่ยอมหาย
- การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับโรคไทฟัสไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นภายในสองสามวัน
- มีอาการใหม่ๆเกิดขึ้นหลังรับประทานยาปฏิชีวนะ
โรคไทฟัสและโรคไทรอยด์
ถึงแม้ชื่อเรียกอาจคล้ายกัน แต่โรคไทฟัสและโรคไทรอยด์จัดเป็นคนละโรคกัน
สิ่งที่โรคไทฟัสและโรคไทรอยด์มีเหมือนกันคือเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์เกิดจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลาที่มักอยู่ในน้ำหรืออาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว โรคไทรอยด์จะติดเชื้อผ่านการสัมผัสอุจจาระของคนหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของเชื้อโรค
ปัจจัยดังต่อไปนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไทรอยด์ได้:
- ล้างมือบ่อยๆ
- เตรียมอาหารอย่างมีสุขอนามัย
- อุปโภคบริโภคน้ำบริสุทธิ์และสะอาดเสมอ
บทสรุป
โรคไทฟัสครั้งหนึ่งเคยเป็นโรคระบาดที่น่ากลัวและทำให้มีคนเสียชีวิตไปมากมายในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสุขอนามัยดีมากกว่าเดิมทำให้โรคไทฟัสถูกกำจัดหายไปจากโลกได้เยอะมากแล้ว ปัจจุบันโรคไทฟัสพบได้ไม่บ่อยมากแล้วแม้แต่กับในพื้นที่ที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อนก็ตาม
ตราบใดที่ผู้ป่วยยังสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ เมื่อนั้นโรคไทฟัสก็ไม่ใช่โรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อีกต่อไปแล้ว แต่กระนั้นก็ตาม หากโรคไทฟัสไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
ควรรีบพบแพทย์หากพบว่ามีอาการของโรคไทฟัสและมีหนึ่งหรือมากกว่าปัจจัยเสี่ยงสำหรับการติดเชื้อ ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการทั้งหมดและปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/typhus/scrub/index.html
- https://www.healthline.com/health/typhus
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5618834/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก