กลุ่มอาการชีแฮน (Sheehan’s Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กลุ่มอาการชีแฮน (Sheehan’s Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.03
6742
0

กลุ่มอาการชีแฮน หรือ ชีแฮน ซินโดรม (Sheehan’s Syndrome) เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงที่สูญเสียเลือดในปริมาณมากจากการคลอดบุตรซึ่งที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงในระหว่างหรือหลังจากการคลอดบุตร ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน การขาดออกซิเจนจะทำให้เกิดความเสียหายต่อต่อมใต้สมองที่เรียกว่า กลุ่มอาการชีแฮน

ชีแฮน ซินโดรม ทำให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  (hypopituitarism) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า postpartum hypopituitarism  จะพบกลุ่มอาการของชีแฮนได้น้อยในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้หญิงเหล่านั้นได้รับการดูแลในระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดบุตรดีกว่าในประเทศกำลังพัฒนา

การรักษา ชีแฮน ซินโดรม เป็นการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต

อาการชีแฮน ซินโดรม

สัญญานและอาการของโรค ชีแฮน ซินโดรม จะปรากฏขึ้นอย่างช้าๆ โดยใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี แต่บางครั้งก็เกิดแสดงอาการของโรคขึ้นอย่างทันทีทันใด เช่น ไม่สามารถให้น้ำนมบุตรได้

สัญญานและอาการของโรคกลุ่มอาการ Sheehan’s syndrome เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป ซึ่งอาจมีอาการดังนี้

  • มีปัญหาในการให้นมบุตร หรือ ไม่สามารถให้นมบุตร(ไม่มีน้ำนม?)

  • ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมาไม่บ่อย

  • ขนที่หัวหน่าวไม่งอกขึ้นมาใหม่หลังจากการโกน

  • มีการทำงานของจิตใจที่ช้าลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ขี้หนาว ซึ่งเป็นผลมาจากต่อมไทรอยด์ที่ไม่ทำงาน (hypothyroidism)

  • ความดันโลหิตต่ำ

  • น้ำตาลในเลือดต่ำ

  • เมื่อยล้า

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ 

  • หน้าอกคล้อย(หย่อนยาน)

คาดว่าอาการ Sheehan’s syndrome ในผู้หญิงหลายคนมักเกิดจากสิ่งอื่น เช่น คุณแม่มือใหม่มักเกิดความเมื่อยล้าขึ้น ผู้ที่มีอาการนี้อาจไม่ทราบว่าเป็น Sheehan’s syndrome จนกว่าจะเข้ารับการรักษาต่อมไทรอยด์หรือความผิดปกติของต่อมหมวกไต

นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าจะมีภาวะของ Sheehan’s syndrome โดยที่ไม่มีการแสดงอาการให้เห็น  ซึ่งจะขึ้อยู่กับว่าต่อใต้สมองเสียหายมากน้อยเพียงใด  ผู้หญิงบางคนใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติได้นานเป็นปีโดยที่ไม่รู้ว่าต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติไปจากเดิม ภาวะความเครียดอย่างหนักของร่างกาย เช่น การติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือการผ่าตัด ทำให้เกิดวิกฤตต่อมหมวกไตซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่ทำให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาน้อยเกินไป

สาเหตุซีแฮน ซินโดรม

Sheehan’s syndrome เกิดจากการสูญเสียเลือดอย่างรุนแรงหรือความดันโลหิตต่ำมากในระหว่างหรือหลังการคลอดบุตร ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำลายต่อมใต้สมองได้มากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อที่สร้างฮอร์โมนทำให้เพื่อให้ต่อมใต้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำหน้าที่ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อที่ส่งสัญญาณให้ต่อมอื่นสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น หรือลดการผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมกระบวนการเมทาบอลิซึมของร่างกาย เช่น การสมบูรร์ของร่างกาย ความดันโลหิต การผลิตน้ำนม และกระบวนการสำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย การขาดฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาได้ทั่วร่างกาย

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่

  • Growth hormone (GH)   โกรท ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของล้ามเนื้อและกระดูก และรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน

  • Thyroid-stimulating hormone (TSH). ไทรอยด์สติมูติงฮอร์โมน ทำหน้าที่ในการกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนหลักที่ควบคุมการเผาผลาญอาหาร การขาด TSH จะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง

  • Luteinizing hormone (LH)  ในผู้หญิงลูติไนซิงฮอร์โมนจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen)

  • Follicle-stimulating hormone (FSH)  ฟอลลิเคิลสติมูเลติงฮอร์โมนทำงานร่วมกับ ลูติไนซิงฮอร์โมน (LH) โดย FSH จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของไข่และการตกไข่ในผู้หญิง

  • Adrenocorticotropic hormone (ACTH). อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิกฮอร์โมน จะกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตของคุณให้ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลและฮอร์โมนอื่น ๆ โดยคอร์ติซอลช่วยลดความเครียดและมีอิทธิพลต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง รวมถึงความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ และระบบภูมิคุ้มกันด้วย หากต่อมใต้สมองได้รับความเสียหาย จะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตอยู่ในระดับต่ำ เรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องแบบทุติยภูมิ

  • Prolactin  ฮอร์โมนโพรแลคตินทำหน้าที่ควบคุมการพัฒนาการของหน้าอก และการผลิตน้ำนมในผู้หญิง

ปัจจัยเสี่ยง

ภาวะใดที่เพิ่มโอกาสต่อการเสียเลือดอย่างรุนแรง (ตกเลือด) หรือทำให้ความดันโลหิตต่ำลงอย่างมากในระหว่างการคลอดบุตร เช่น การตั้งครรภ์หลายครั้ง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับรก จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรค Sheehan’s syndrome

อย่างไรก็ตาม การตกเลือดเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตรที่เกิดขึ้นได้ยาก และเป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถลดความความเสี่ยงทั้งสองอย่างลงได้ด้วยการทดสอบและดูแลที่เหมาะสมระหว่างการคลอด

ภาวะแทรกซ้อน

เนื่องจากฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการเมทาบอลิซึมของร่างกาย เมื่อเกิดภาวะ Sheehan’s syndrome จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งรวมถึง

  • ภาวะวิกฤตต่อมหมวกไต เป็นภาวะที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้น้อยเกินไป ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่ร้ายแรง

  • ความดันโลหิตต่ำ

  • น้ำหนักลด โดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะลดน้ำหนัก

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

วิกฤตต่อมหมวกไต: สถานการณ์ที่คุกคามต่อชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนที่นับว่ามีความร้ายแรงที่สุด คือ ภาวะวิกฤตต่อมหมวกไต เป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตต่ำมากจนช็อค อาการขั้นโคม่าและเสียชีวิตได้

ภาวะวิกฤตต่อมหมวกไตมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ภายใต้สภาวะเครียดเช่น ในช่วงระหว่างการผ่าตัด หรือการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง และต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนแห่งความเครียด (คอร์ติซอล) น้อยเกินไป

เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอมีความร้ายแรงมาก แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกำไลทางการแพทย์เพื่อแจ้งเตือน

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรค ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการหลายอย่างที่ทับซ้อนกับพยาธิสภาพของโรคอื่น แพทย์จึงอาจทำการวินิจฉัยโดย

  • รวบรวมประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด  การอ้างถึงภาวะแทรกซ้อนในประวัติการคลอดบุตรที่เคยมีไม่ว่าจะผ่านมานานแค่ไหนก็ตามถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมแจ้งให้แพทย์ทราบหากผลิตน้ำนมไม่ได้ หรือไม่มีประจำเดือนเลยภายหลังการคลอด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณสำคัญ 2 ประการของโรค Sheehan’s syndrome
  • ทำการตรวจเลือด การตรวจเลือดจะเป็นการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองได้
  • ขอตรวจการกระตุ้นฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ผู้ป่วยอาจต้องทดสอบการกระตุ้นของฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ซึ่งทำโดยการฉีดฮอร์โมนและทำการตรวจเลือดซ้ำ ๆ เพื่อติดตามการตอบสนองของต่อมใต้สมอง โดยทั่วไปแล้วการทดสอบนี้จะทำหลังจากที่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของฮอร์โมน (แพทย์ต่อมไร้ท่อ)
  • ขอตรวจแบบ  imaging tests.  คือทำการทดสอบด้วยภาพในสมอง เช่น การสแกน MRI หรือ CT scan เพื่อตรวจสอบขนาดของต่อมใต้สมอง และหาสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้สำหรับอาการป่วยที่กำลังเป็น เช่นเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง เป็นต้น
Sheehan's Syndrome

การรักษา

การรักษา Sheehan’s syndrome ทำโดยการรับฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนที่ขาดไปจนตลอดชีวิต โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทน ดังต่อไปนี้

  • กลุ่ม Corticosteroids ให้ Hydrocortisone (Cortef) หรือ prednisone (Rayos) ทดแทนที่ฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตสร้างไม่ได้ เนื่องจากการขาดฮอร์โมน adrenocorticotropic (ACTH)
    หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือมีร่างกายมีความเครียดมาก  จะต้องปรับยาในช่วงเวลาเหล่านี้เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยมักจะสร้างคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมามาก อาจมีความจำเป็นต้องปรับขนาดยาชนิดเดียวกันเมื่อเป็นไข้หวัด ท้องเสีย อาเจียน มีการผ่าตัด หรือทำฟัน
    อาจมีความจำเป็นต้องปรับขนาดยาในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น หรือน้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด การรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับการได้รับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในปริมาณสูง

  • กลุ่ม Levothyroxine (Levoxyl, Synthroid, others) ยานี้ช่วยเพิ่มระดับไทรอยด์ฮอร์โมนที่ขาด ซึ่งเกิดจากการสร้าง ฮอร์โมน thyroid-stimulating hormone (TSH) น้อยหรือสร้างไม่ได้ หากคุณเปลี่ยนยี่ห้อของยาต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อให้แน่ใจว่าคุณยังคงได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้อย่าปรับปริมาณหรือหยุดกินยาเพราะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วเพราะสัญญานและอาการของโรคจะค่อยๆ กลับมาปรากฏให้เห็นอีก

  • กลุ่ม Estrogen  ซึ่งรวมถึงการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว หากมีการผ่าตัดเอามดลูกออกไป หรือการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหากยังมีมดลูกอยู่
    การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิงที่ยังคงสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนของตัวเองเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงควรจะน้อยลงในผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจนที่ขาดหายไป
    การเตรียมให้ Luteinizing Hormone (LH) และfollicle-stimulating (FSH) หรือที่เรียกว่า gonadotropins อาจทำให้มีการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ สามารับฮอร์โมนนี้โดยการฉีดเพื่อกระตุ้นการตกไข่
    เมื่อมีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือเอสโตรเจนร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างต่อเนื่อง

  • Growth hormone โกรทฮอร์โมนอาจทำให้อัตราส่วนของกล้ามเนื้อต่อไขมันดีขึ้น รักษามวลกระดูก และลดระดับคอเลสเตอรอล โกรทฮอร์โมนมีราคาแพงและ อาจมีผลข้างเคียงต่างๆ รวมถึงปัญหาเรื่องความตึงของข้อต่อและการกักเก็บของเหลว

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อมักจะตรวจเลือดของผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับฮอร์โมนในปริมาณที่เพียงพอ แต่ไม่มากเกินไป

การเตรียมการเพื่อนัดหมายกับแพทย์

หากแพทย์ สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของ Sheehan’s syndrome อาจส่งต่อผู้ป่วยไปหาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของฮอร์โมน (แพทย์ต่อมไร้ท่อ)

ข้อมูลที่จะต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการนัดหมาย คือ

สิ่งที่ต้องทำ

เมื่อได้ตารางนัดหมายแล้ว สิ่งที่ต้องทำล่วงหน้า เช่น งดอาหาร ก่อนที่จะได้รับการตรวจ ดังนี้

  • อาการของคนไข้ แม้ว่าจะในเบื้องต้นพวกเขาดูเหมือนจะไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องเลย

  • ประวัติการเจ็บป่วยที่สำคัญของคนไข้ ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ รวมถึงการผ่าตัดครั้งล่าสุดและความเครียดอื่นๆ ที่สำคัญ รวมทั้งประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัวของคนไข้ด้วย

  • ยา วิตามิน หรืออาหารเสริมอื่น ๆ ทั้งหมดที่คนไข้กิน รวมทั้งปริมาณที่ใช้ด้วย

  • คำถามอื่นๆ ที่แพทย์จะเป็นคนถาม or

ให้นำเวชระเบียนของการตั้งครรภ์ครั้งก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเจ็บครรภ์และการคลอดไปด้วย  และถ้าเป็นไปได้ให้พาสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนไปด้วยเพื่อช่วยจดจำประวัติการรักษาของคนไข้

คำถามพื้นฐานที่แพทย์มักจะใช้ถามผู้ป่วย Sheehan’s syndrome ได้แก่

  • อะไรคือสาเหตุที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดของอาการนี้?

  • ต้องทำการทดสอบ(ตรวจ)อะไรบ้าง?

  • จะมีภาวะ  Sheehan’s syndrome เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หรือตลอดไป?

  • ฉันจะยังสามารถมีบุตรได้อีกหรือไม่?

  • มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง และมีขออะไรแนะนำบ้าง?

  • ฉันมีพยาธิสภาพอื่น ๆ ด้วย ฉันจะทำการรักษาร่วมกันให้ดีที่สุดได้อย่างไรI?

  • ฉันต้องจำกัดอาหาร หรืองดเว้นกิจกรรมต่างๆ หรือไม่?

  • มี โบรชัวร์ แผ่นพับหรือสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่ฉันสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้หรือไม่?

อย่าลังเลที่จะถาม หากคุณมีข้อสงสัยอื่น ๆ

ความคาดหมายจากแพทย์

แพทย์มักจะถามคนไข้ด้วยคำถามดังต่อไปนี้

  • เสียเลือดมากหลังจากการคลอดบุตรหรือไม่?

  • มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดบุตรหรือไม่?

  • มีอาการของโรคเกิดขึ้นตลอดเวลาหรือเป็นแล้วหาย?

  • มีอาการรุนแรงแค่ไหน?

  • มีอะไรที่ช่วยทำให้อาการทุเลาลงบ้างไหม?

  • อะไรคือสิ่งที่เหมือนจะทำให้อาการของโรคทวีความรุนแรงขึ้น?

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *