โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) 

โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) 

13.10
2651
0

Sodium หรือ โซเดียม คือ เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่เกิดปฏิกริยาได้ง่ายมาก ด้วยความที่เกิดปฏิกริยาได้ง่าย โซเดียมจึงไม่เคยถูกพบในรูปทรงอิสระในธรรมชาติ โซเดียมมักจะถูกพบในเกลือ รูปแบบของโซเดียมที่พบมากที่สุดคือ โซเดียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นเกลือที่เราใช้กันในครัวเรือน ผู้ที่รับประทานโซเดียมในรูปแบบของโซเดียมคลอไรด์จะได้รับโซเดียมในปริมาณต่ำ เพื่อที่จะป้องกันไตเป็นพิษที่เกิดจาก Amphotericin และยาที่ใช้ในส่วนอื่นของร่างกาย การฉีดโซเดียมในรูปของสารละลายโซเดียม หรือน้ำเกลือ ใช้เพื่อป้องกันภาวะไตเป็นพิษ ลดอาการบวมของสมอง ความดันในสมอง และใช้เพื่อรักษาภาวะช็อกจากการติดเชื้อ 

น้ำเกลือถูกใช้รักษาอาการตาแดง ตาแห้ง เจ็บปาก และเจ็บคอ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สูดดมเพื่อรักษาโรคซิสติก ไฟรโบรซิสได้อีกด้วย ในอาหาร โซเดียมคลอไรด์ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติ และถนอมอาหาร 

ร่างกายนำโซเดียมคลอไรด์ไปใช้อย่างไร 

การดูดซึม และการขนส่งสารอาหาร 

โซเดียมมีบทบาทสำคัญในลำไส้เล็ก เพราะช่วยให้ร่างกายดูดซึม:

  • คลอไรด์
  • น้ำตาล
  • น้ำ 
  • กรดอะมิโน 

คลอไรด์ เมื่ออยู่ในรูปแบบของกรดไฮโดรคลอริก จะช่วยให้ร่างกายย่อย และดูดซึมสารอาหาร 

การรักษาระดับพลังงานของร่างกาย 

โซเดียม และโพแทสเซียมเป็นอิเล็กโตรไลต์ในของเหลวทั้งใน และนอกเซลล์ ความสมดุลระหว่างสารเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายรักษาระดับพลังงานได้ 

นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการส่งสัญญาณของระบบประสาท ในกล้ามเนื้อ และการทำงานของหัวใจ 

รักษาระดับความดันเลือด และน้ำในร่างกาย 

ไต สมอง และต่อมอะดรีนัลทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมระดับโซเดียมในร่างกาย สัญญาณเคมีประตุ้นไตให้เก็บน้ำเพื่อให้ไปถูกดูดซึมในกระแสเลือดอีกครั้ง หรือขับน้ำส่วนเกินออกไปทางปัสสาวะ 

เมื่อคุณมีโซเดียมในเลือดมากเกินไป สมองจะส่งสัญญาณให้ไตปล่อยน้ำเข้าระบบเลือดมากขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น การลดการบริโภคโซเดียมลงจะทำให้น้ำเข้าไปในระบบเลือดน้อยลง และทำให้ความดันลดลง 

Sodium Chloride

การใช้โซเดียมคลอไรด์ในการแพทย์

โซเดียมชนิดสูดหายใจช่วยสร้างเสมหะ ซึ่งทำให้ง่ายต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคซิสติก ไฟรโบรซิสที่จะหายใจ ทั้งยังช่วยทำให้ของเหลว และอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายสมดุล ความสมดุลนี้มีผลต่อความดันโลหิต และสุขภาพของไต และหัวใจ 

ได้ผลดีกับ 

  • ระดับโซเดียมในเลือด การให้สารละลายโซเดียมคลอไรด์ทางเส้นเลือดช่วยให้ผู้ที่มีระดับโซเดียมในเลือดต่ำมีอาการลดลง 

เหมือนจะได้ผลดีกับ

  • โรคซิสติก ไฟรโบรซิส รักษาโดยการสูดดมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่มีความเข้มข้น 3%-7% จะช่วยลดสิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจในระยะสั้น และช่วยลดปัญหาของปอด และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในระยะยาว 

อาจมีประสิทธิภาพกับ 

  • การบาดเจ็บที่ไตที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาต้านเชื้อรา (Amphotericin B Nephrotoxicity) การรับประทานโซเดียมคลอไรด์ หรือฉีดโซเดียมคลอไรด์จะช่วยลดการทำงานของไต 

ผลข้างเคียง 

ในการรับประทาน โซเดียมนั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก การรับประทานโซเดียมน้อยกว่า 2.3 กรัมต่อวันปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมาก ในบางคน โซเดียมอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โซเดียมสามารถเป็นอันตรายได้หากรับประทานมากกว่า 2.3 กรัมต่อวัน ยิ่งรับประทานมากเท่าไหร่ โซเดียมก็จะไปสะสมในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ 

ข้อควรระวัง 

หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร: โซเดียมปลอดภัยต่อหญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตรเมื่อรับประทานน้อยกว่า 1.5 กรัมต่อวัน การรับประทานในปริมาณที่มากกว่านั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงเกินไปได้ 

เด็ก: โซเดียมปลอดภัยที่จะรับประทานสำหรับเด็ก เมื่อรับประทานน้อยกว่า 1.2 กรัมในเด็กอายุ 1-3 ปี 1.5 กรัมต่อวันในเด็กอายุ 4-8 ปี 1.8 กรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี และ 2.3 กรัมต่อวันในวัยรุ่น เมื่อรับประทานมากกว่านั้นอาจทำให้เกิดอันตรายได้ และทำให้ความดันโลหิตสูง

โรคหัวใจ: ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรรับประทานโซเดียมในปริมาณที่พอเหมาะ การรับประทานโซเดียมมากกว่า 2.3 กรัมต่อวันจะทำให้ความเสี่ยงของโรคหัวใจ และการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น

การมีโซเดียมในร่างกายสูง: ระดับโซเดียมที่เพิ่มสูงขึ้นในร่างกายอาจทำให้เกิด

ความดันโลหิตสูง: การรับประทานโซเดียมปริมาณมากสามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้ และอาจทำให้โรคความดันโลหิตที่เป็นอยู่แย่ลง 

โรคไต: ผู้ที่เป็นโรคไตควรควบคุมการรับประทานโซเดียม การรับประทานโซเดียมทำให้อาการแย่ลงได้ 

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง: การรับประทานโซเดียมมากเกินไปอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรอง หากคุณเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง คุณไม่จำเป็นต้องรับประทานเกลือให้น้อยลง แต่ทุกคนควรรับประทานเกลือได้มากสุดไม่เกิน 2.3 กรัมต่อวัน 

โรคอ้วน: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนควรรับประทานโซเดียมในปริมาณที่พอเหมาะ มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการรับประทานโซเดียมในปริมาณมากอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ 

โรคกระดูกพรุน: มีความกังวลว่าการรับประทานเกลือมากเกินไปอาจทำให้อาการกระดูกพรุนแย่ลงได้ แต่งานวิจัยก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด หากคุณเป็นโรคกระดูกพรุน คุณไม่จำเป็นต้องลดการบริโภคเกลือ แต่ก็ไม่ควรที่จะรับประทานเกิน 2.3 กรัมต่อวัน 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *