ลำคอมีส่วนประกอบได้แก่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นที่ติดกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยืดและกระดูก โดยส่วนประกอบต่างๆเหล่านี้ทำงานรวมกันเพื่อรองรับศีรษะเเละทำให้สามารถหันศีรษะไปยังทิศทางต่างๆได้ เมื่อมีอาการคอเคล็ดเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดเมื่อใช้งานคอหนักเกินไปหรือได้รับบาดเจ็บที่ลำคอ
อาการคอเคล็ด (Stiff Neck) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อตึง นอกจากนี้อาการคอเคล็ดยังทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังได้
ผู้ที่มีอาการคอเคล็ดมักจะรู้สึกเจ็บเมื่อพยายามหันหัวหรือขยับคอ
โดยปกติอาการคอเคล็ดเป็นผลมาจากการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ตั้งใจ โดยผู้ที่มีอาการนี้สามารถรักษาอาการเจ็บปวดได้เองที่บ้าน แต่อย่างไรก็ตามมีบางกรณีที่เป็นส่วนน้อยที่ต้องเข้ารับการรักษาจากเเพทย์
สาเหตุของอาการคอเคล็ด
โดยปกติอาการคอเคล็ดเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณลำคอมากเกินไปหรือไม่เคยยืดกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อคอตึง อาการคอเคล็ดนี้สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนเเรงซึ่งทำให้ไม่สามารถขยับศีรษะหรือใช้งานกล้ามเนื้อคอได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคอเคล็ดมีดังต่อไปนี้
อาการคอเคล็ดและอาการคอตึง
การนอนหลับในท่าที่ผิดปกติสามารถทำให้เกิดอาการคอเคล็ดได้
อาการคอเคล็ดที่เกิดจากอาการบาดเจ็บหรือคอเคล็ดมีสาเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- การนอนท่าผิดปกติ
- การนั่งที่นานเกินไปเช่นการนั่งทำงาน
- การนั่งมองวัตถุใดวัตถุหนึ่งเป็นเวลานานเช่นการนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือซ้ำๆ
- ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- เคยมีประสบการณ์หกล้ม
- กล้ามเนื้อตึงเนื่องจากความตึงเครียด
อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ
การได้รับบาดเจ็บที่คอรุนเเรงสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้ ผู้ที่เคยมีประสบการณ์เจ็บปวดกล้ามเนื้อคอเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถทำให้ศีรษะเกิดอาการเกร็งกระตุกเมื่อหันไปข้างหน้าเเละข้างหลัง
โดยอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อคอที่เกิดในกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น เส้นประสาทในคอทั้งหมดเหล่านี้ทำให้เกิดอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อคอเเละคอเคล็ดได้
อาการอื่นๆของอาการบาดเจ็บที่คอได้แก่
- อาการปวดหัว
- อาการวิงเวียนศีรษะ
- อาการปวดหลังและไหล่
- รู้สึกปวดเหมือนถูกเเทงหรือปวดเเสบปวดร้อนในคอ
- สูญเสียความทรงจำและมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ
ภาวะข้อต่ออักเสบ
โรคกระดูกคออักเสบหรือภาวะข้อต่อคออักเสบสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอเเละคอเคล็ดตึงได้ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อนอนลง
อาการเจ็บปวดนี้จะเกิดรุนเเรงขึ้นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมเป้นเวลานานอย่างเช่นนั่งขับรถหรือนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ อาการอื่นๆที่เกิดจากโรคกระดูกคออักเสบได้แก่
- อาการปวดหัว
- อาการชาที่แขนและมือ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน ความสมดุลหรือทั้งสองอย่าง
- มีอาการอ่อนล้าที่แขนเเละขา
แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคกระดูกคออักเสบด้วยการทดสอบอย่างเช่นการเอ็กซเรย์ การสแกน MRI และการตรวจเลือด
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
บางครั้งอาการคอเคล็ดเป็นอาการที่เกิดจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งเป็นอาการที่รุนเเรง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังที่เกิดขึ้นครอบคลุมบริเวณสมองและกระดูกไขสันหลัง
เชื้อไวรัสและแบคทีเรียหรือเชื้อราเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ สำหรับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากไวรัส อาการของโรคสามารถหายไปได้เอง แต่ถ้าหากโรคนี้มีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหรือเชื้อราอาการของโรคอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ซึ่งอาการที่เกิดจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้แก่
- มีไข้แบบเฉียบพลัน โดยปกติมักมีอาการปวดหัวคอเคล็ดหรือทั้งสองอย่าง
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- อ่อนไหวต่อเเสงแดด
- มีอาการหงุดหงิดหรือรำคาญใจ
- ไม่สามารถตื่นนอนได้
ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรเข้ารับการรักษาจากทีมเเพทยโดยทันทีหากมีอาการปรากฎขึ้น
การรักษาอาการคอเคล็ด
วิธีบรรเทาอาการคอเที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะคอเคล็ด สำหรับอาการคอเคล็ดที่เกิดขึ้นแบบไม่รุนเเรงการรักษาอาการเองที่บ้านสามารถช่วยได้ โดยมีวิธีรักษาคอเคล็ดดังต่อไปนี้
ใช้น้ำแข็งประคบ
การใช้น้ำเเข็งประคบสามารถช่วยบรรเทาอาการบวมเเละอาการเจ็บปวดได้
การใช้น้ำเเข็งประคบสามารถช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อและอาการบวมได้เมื่อเกิดอาการตึงในกล้ามเนื้อเล็กน้อย นอกจากนี้การใช้น้ำเเข็งประคบยังช่วยรักษาอาการชาและบรรเทาอาการเจ็บปวดชั่วคราวได้
โดยปกติการรักษาด้วยการใช้น้ำเเข็งประคบจะสามารถบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมเพิ่มมากขึ้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการประคบน้ำเเข็งควรใช้ผ้ารองประคบด้วยเพื่อป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะความเย็นจัดและควรใช้น้ำแข็งประคบครั้งละ 20 นาทีจากนั้นหยุดพัก 20-30 นาที
การประคบร้อน
ผู้ป่วยบางคนสามารถเลือกใช้การประคบเย็นหรือประคบร้อนเพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อตึงได้ การใช้แผ่นประคบร้อนหรือการอาบน้ำร้อนช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและหายตึงได้
การซื้อยารักษาจากร้านขายยา
ถ้าหากใช้น้ำเเข็งประคบหรือการประคบร้อนเเล้วอาการเจ็บปวดยังไม่บรรเทาลง การใช้ยาแก้ปวดลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) สามมารถช่วยได้
การใช้ยาอย่างเช่นยาไอบลูโพรเฟนและยานาพรอกเซนสามารถบรรเทาอาการบวมเเละอาการเจ็บปวดได้และถ้าผุ้ป่วยมีอาการอื่นๆก็สามารถใช้ยาอื่นๆรักษาได้ด้วย
การยืดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อคอเบาๆหรือช้าๆโดยยืดทีละข้างสลับกัน การหมุนคอไปข้างหน้าและข้างหลังเป็นวิธีการยืดกล้ามเนื้อคอทั่วไป ทั้งนี้ควรหยุดยืดกล้ามเนื้อคอเมื่อเกิดอาการเจ็บปวด
ตรวจสอบสภาวะแวดล้อมของการนอนหลับ
บางครั้งที่นอนที่แข็งเกินไปหรือทำให้ไม่สบายสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บกล้ามเนื้อคอได้ นอกจากนี้การใช้หมอนที่ผิดขนาดหรือแข็งเกินไปสามารถทำให้เกิดอาการคอเคล็ดได้
การจัดท่านอนที่ทำให้หัว คอ และไหล่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในขณะที่นอนสามารถป้องกันภาวะคอเคล็ดได้และนอกจากนี้ควรใช้หมอนที่เหมาะสมกับท่านอนด้วย
การใช้หมอนที่แข็งเหมาะสมกับผู้ที่ชอบนอนตะแครง สำหรับผู้ที่นอนหงายจำเป็นต้องใช้หมอนที่มีลักษณะแบนราบที่ช่วยหนุนคอและไม่เป็นการบังคับให้ศีรษะหรือคอยื่นออกมาข้างหน้า
การนั่งในท่าที่ถูกต้อง
การนั่งงอตัวทำให้กล้ามเนื้อที่คอเเละหลังค่อยๆถูกดึงส่งผลทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและกล้ามเนื้อตึงได้ ดังนั้นควรนั่งและรักษาหลังและคอให้ตรงอยู่เสมอในระหว่างที่นั่งตลอดทั้งวัน การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสามารถช่วยเตือนทำให้ผู้ที่นั่งทำงานตลอดไม่ลืมที่จะนั่งตัวตรงได้
การไปปรึกษาหมอฟัน
ถ้าหากมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อคอที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวหรือปวดขากรรไกรเมื่อตื่นนอนอาจเป็นสัญญาณของอาการนอนกัดฟันหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า bruxism ทันตแพทย์สามารถตรวจฟันและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกัดฟันและทำการวางแผนเพื่อจัดขากรรไกร
บางคนจำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันการกัดฟันตอนกลางคืนเพื่อป้องกันความเสียหายของฟันในอนาคต ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยบรรเทาแรงกดดันบนขากรรไกรและกล้ามเนื้อคอได้
การนวด
หมอนวดที่มีใบรับรองสามารถช่วยทำให้อาการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อบรรเทาลงได้ แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าการนวดเป็นการรักษาอาการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด จากงานวิจัยในปี 2014 พบว่าการนวดสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยในผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อคออักเสบได้
งานวิจัยอื่นๆที่ตีพิมพ์ในคู่มือการปฏิบัติทางคลินิกเพื่อช่วยบำบัดพบว่าหมอนวดผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยนวดให้ผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและบรรเทาควาเครียดรวมไปถึงช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อคอตึงทางอ้อมได้
การจัดการกับภาวะความเครียด
ปัจจุบันภาวะความเครียดยังไม่มีวิธีการรักษาที่สมบูรณ์แบบเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะความเครียดได้ ดังนั้นการเรียนรู้เพื่อจัดการกับความเครียดจึงเป็นวิธีที่สามารถลดอาการตึงเครียดที่ก่อให้เกิดอาการตึงที่กล้ามเนื้อคอได้
ผู้ที่มีความเครียดสูงและเรื้อรังควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเครียด
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.spine-health.com/conditions/neck-pain/stiff-neck-causes-symptoms-and-treatment
- https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-a-stiff-neck
- https://www.nhs.uk/conditions/neck-pain-and-stiff-neck/
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/324070
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก