แท้งคุกคาม (Threatened Miscarriage) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แท้งคุกคาม (Threatened Miscarriage) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.02
2625
0

ภาวะแท้งคุกคามคืออะไร

แท้งคุกคาม (Threatened Miscarriage) การมีเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ไม่ใช่เรื่องปกติ หากมีเลือดออกทางช่องคลอดในขณะต้ังครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

หากตรวจพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจบ่งบอกได้ว่าการตั้งครรภ์กำลังเกิดภาวะแท้งคุกคาม (การแท้ง หมายถึงการแท้งเองโดยธรรมชาติ)  

Threatened Miscarriage

อาการและสัญญาณเตือนของภาวะแท้งคุกคามมีอะไรบ้าง 

ภาวะการแท้งคุกคามอาจมีอาการโดยรวมของการแท้งเกิดขึ้นได้แก่อาการปวดในช่องท้องและมีเลือดออกจากช่องคลอด 

  • มีเลือดออกในช่องคลอดในปริมาณไม่มากหรือบางครั้งอาจมีเลือดออกมาก ในกรณีที่มีเลือดออกมาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะถามเพื่อให้รู้ว่ามีเลือดออกมากปริมาณเท่าไหร่และมีการเปลี่ยนผ้าอนามัยไปกี่ครั้งในหนึ่งชั่วโมง รวมถึงมีลิ่มเลือดหรือเนื้อเยื่อปนออกมาด้วยหรือไม่ 
  • มีอาการปวดเกร็งบริเวณด้านล่างของช่องท้องข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างพร้อมกัน หรือมีอาการปวดบริเวณกลางของช่องท้อง ซึ่งอาจปวดลามไปถึงหลังส่วนล่างและสะโพกไม่จนถึงอวัยวะเพศ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดบ่อยในระยะแรกของการตั้งครรภ์ 
  • ภาวะแท้งคุกคามพบได้ประมาณ 1 ใน 4 ของหญิงมีครรภ์ โดยจะมีปัญหาเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 1-2 เดือนแรก 
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณครึ่งหนึ่งที่มีเลือดออกทางช่องคลอดในขณะตั้งครรภ์อาการนี้จะหายไปและร่างกายกลับมาเป็นปกติเองได้ โดยไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคามอีกต่อไป  
  • สำหรับอาการมีเลือดออกและความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับภาวะแท้งคุกคามมักไม่รุนแรงในผู้หญิงที่มีปากมดลูกยังปิดอยู่ ทั้งนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจกระดูกเชิงกรานเพื่อทดสอบการเปิดของปากมดลูก 
  • โดยปกติจะไม่มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในมดลูกและท่อนำไข่
  • ภาวะแท้งที่สามารถเกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงแท้งไม่ได้เกิดจากปากมดลูกเปิด ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ 
    • ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยและมีเลือดออกมากขึ้น 
    • หากแท้งไม่ครบ ปากมดลูกจะเปิด และขับทารกออกจากมดลูก 
    • การอัลตร้าซาวด์ทำให้ทราบว่ายังมีทารกอยู่ในครรภ์หรือไม่ 
    • มีเลือดออกมากและปวดท้องมาก 

สาเหตุของการแท้งคุกคามคืออะไร 

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคาม แต่อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ :

  • ความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการแท้งในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยความผิดปกติของทารกในครรภ์เกิดจากการสร้างโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งภาวะแท้งจำนวนเกินกว่าครึ่งของผู้หญิงตั้งครรภ์ เกิดจากความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่มีโครโมโซมผิดปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุมากมักตรวจพบว่ามีโอกาสเกิดโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น  
  • การแท้งในช่วง 4-6 เดือนของการตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพของมารดามากกว่าปัญหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งได้แก่ปัญหาด้านสุขภาพดังต่อไปนี้ 
    • ความเจ็บป่วยเรื้อรัง รวมถึงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง โรคไต โรคภูมิแพ้ลูปัสและต่อมไทรอยด์ที่ทำงานผิดปกติ เช่น ทำงานน้อยเกินไปหรือทำงานมากเกินไป สาเหตุเหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งของการแท้งบุตรได้ ดังนั้นการตรวจหาโรคเหล่านี้ในช่วงก่อนการคลอดบุตรหรือการดูแลก่อนคลอด (Prenatal) จึงมีความสำคัญมาก ที่จะทำให้ทราบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการแท้งหรือไม่   
    • การผลิตฮอร์โมนที่ไม่เพียงพอก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้งได้เช่นกัน 
    • การติดเชื้อเฉียบพลัน รวมถึงการป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน CMV (cytomegalovirus) ไมโคพลาสมา (ปอดบวมผิดปกติ) และเชื้อโรคที่ผิดปกติอื่น ๆ ล้วนส่งผลทำให้เกิดการแท้งได้เช่นกัน 
    • โรคและความผิดปกติของอวัยวะภายในของสตรีอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ อย่างเช่น มดลูกผิดปกติ มีเนื้องอกในมดลูก ปากมดลูกอ่อนแอ  การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของรก และการมีเด็กในครรภ์มากเกินกว่าหนึ่งคน  (เช่น ฝาแฝดหรือแฝดสาม) 
    • ปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะยาที่ใช้เป็นประจำบางชนิด รวมทั้งคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ยาสูบ และโคเคน หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นสาเหตุของการแท้งได้ 

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ 

หากตั้งครรภ์แล้วพบว่ามีอาการปวดเกร็งและมีเลือดออกจากช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ตาม ควรรีบไปพบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที 

หากมีอาการดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำได้ ควรไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อรับการตรวจทันที 

ควรไปโรงพยาบาลทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีเลือดออกมาก (ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่าหนึ่งแผ่นภายในหนึ่งชั่วโมง) 
  • มีเนื้อเยื่อบางอย่างปนออกมากับเลือด ให้เก็บเนื้อเยื่อในกล่องแล้วนำติดตัวไปให้แพทย์ที่โรงพยาบาลตรวจด้วย 
  • ปวดเกร็งอย่างรุนแรง (คล้ายๆ กับปวดประจำเดือน) 
  • ปวดเกร็งหรือมีเลือดออกจากช่องคลอดรวมทั้งกับมีไข้ในเวลาเดียวกัน 
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดหรือปวดท้องในผู้ที่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน (การตั้งครรภ์ในท่อนำไข่) 
  •  อาเจียนอย่างรุนแรงจนไม่มีอะไรเหลือในท้อง 

ยาชนิดใดบ้างที่ช่วยบรรเทาอาการปวดจากภาวะแท้งคุกคาม?

  • ยาอะเซตามีโนเฟน (Tylenol) สามารถทานเพื่อรักษาอาการปวดได้และเป็นยาที่ปลอดภัยในระหว่างการตั้งครรภ์
  • ห้ามใช้pkแอสไพรินหรือยาไอบูโพรเฟน (Motrin หรือ Advil) รวมถึง ยานาพรอกเซน (Aleve) ในระหว่างการตั้งครรภ์

การผ่าตัดสามารถรักษาภาวะการแท้งคุกคามได้หรือไม่?

การขูดเอาชิ้นส่วนในโพรงมดลูก (dilation and curettage ; D&C) เป็นการขยายมดลูกเพื่อขูดหรือดูดเอาเยื่อบุโพรงมดลูกออกมา 

การขูดมดลูก (D&C) เป็นการผ่าตัดเล็กประเภทหนึ่งที่สามารถทำในได้โรงพยาบาล ศูนย์ศัลยกรรมหรือคลินิก ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่มีความปลอดภัยและเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคตามปกติ

การรักษาโดยการขยายและการขูดมดลูก: ส่วนใหญ่แล้วจะทำการรักษาด้วยวิธีนี้เมื่อแพทย์ทราบที่มาของปัญหาแล้ว เช่นเกิดการแท้งไม่สมบูรณ์หรือทำการคลอดเมื่อครบกำหนดคลอดแล้วยังเกิดปัญหาบางประการ เช่น มีเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์หรือรกภายในมดลูกยังไม่ถูกขับออกอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากเนื้อเยื่อที่ยังติดค้างอยู่ภายในมดลูกอาจทำให้มีเลือดออกมากและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามหลีกเลี่ยงการรักษาโดยวิธี ขูดมดลูก (D&C) ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ :

  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน: หากมีการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ เครื่องมือผ่าตัดที่จะสอดเข้าไปในช่องคลอดและปากมดลูกมีโอกาสที่จะนำแบคทีเรียจากช่องคลอดหรือปากมดลูกไปสู่มดลูกได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อจะได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลเหล่านี้แพทย์อาจต้องรอจนกว่าจะรักษาภาวะติดเชื้อให้หายก่อน ซึ่งอาจทำโดยการให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนการพิจารณาให้การรักษาแบบผ่าตัดเพื่อขูดมดลูก ( D&C) ต่อไป
  • ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด: แพทย์จะพิจารณาความสามารถในการแข็งตัวของเลือดในร่างกายตามธรรมชาติ เพื่อการหยุดไหลของเลือดหลังจากขูดมดลูก สำหรับผู้หญิงที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด แพทย์อาจพิจารณาว่าไม่ควรใช้วิธีนี้รักษา 
  • มีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและโรคปอด เนื่องจากโรคเหล่านี้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้องวางยาสลบก่อนผ่าตัด

หลังเกิดการแท้งควรปฏิบัติตัวอย่างไร  

  • พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรง
  • ไม่ฉีดหรือสอดสิ่งใด ๆ (รวมถึงผ้าอนามัยแบบสอด) เข้าไปในช่องคลอด
  • งดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายดีอย่างสมบูรณ์แล้วอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์
  • กลับไปที่โรงพยาบาลทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:
    • ปวดเกร็งและมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 
    • เลือดออกมาก (ต้องใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 1 แผ่นภายในเวลา 1 ชั่วโมง)
    • มีเนื้อเยื่อปนออกมากับเลือด
    • มีไข้
    • มีอาการอื่นๆ ที่โดยรวมแล้วเห็นว่าอาจเป็นอันตราย
  • แพทย์อาจจะทำการตรวจเลือดซ้ำภายใน 48 – 72 ชั่วโมงเพื่อหาระดับฮอร์โมน HCG  ซึ่งสามารถเพื่อตรวจการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับฮอร์โมน HCG สำหรับการตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่ามีระดับฮอร์โมน HCG ลดลงอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
  • แพทย์อาจจะทำอัลตร้าซาวด์เพื่อติดตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการแท้งสิ้นสุดลง 

การพยากรณ์โรคสำหรับการแท้งคุกคาม 

ผู้หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากกว่าครึ่งของผู้ที่มีเลือดออกในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์พบว่าเลือดจะหยุดไหลไปเองและกลับมามีครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์เป็นปกติได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกและไม่หายเป็นปกติ ซึ่งอาจมีอาการปวดเกร็งอย่างรุนแรงมากขึ้นและมีเลือดออกมากว่าเดิม จนทำให้เกิดการแท้งบุตรในที่สุด ในกรณีผู้ที่ตั้งครรภ์มีอาการดังกล่าวอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังจะเสียลูกไป ในขณะที่กำลังออกจากโรงพยาบาลหลังจากเข้ารับตรวจจากแพทย์ 

การป้องกันการแท้งคุกคามสามารถทำอย่างไร ?

แม้ว่าไม่มีวิธีใดในการทำนายหรือป้องกันการแท้งบุตร แต่เราสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ต่อไปได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้:

  • ฝากครรภ์เพื่อช่วยในการดูแลก่อนคลอดและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาที่ไม่ได้ใช้เพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะโคเคน
  • หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณคาเฟอีน
  • ควบคุมความดันโลหิตสูง และเบาหวาน (ในกรณีผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)
  • รักษาการติดเชื้อ หากเกิดภาวะอักเสบและติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *