ยาทราโซโดน (Trazodone) 

ยาทราโซโดน (Trazodone) 

08.01
1852
0

Trazodone คืออะไร

ยาทราโซโดน Trazodone คือ ยาต้านซึมเศร้าที่อยู่ในกลุ่มของยาที่เรียกว่า Serotonin receptor antagonists และ Reuptake inhibitors (SARIs) ในขณะที่ยาทราโซโดนไม่ใช่ยาต้านเศร้าในกลุ่มของ Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ยายังคงแบ่งหลายๆคุณสมบัติของ SSRIs ด้วย   

ยา Trazodone ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า

ยายังอาจช่วยทำให้อารมณ์ ความอยากอาหารและระดับของพลังงานดีขึ้นรวมไปถึงลดอาการวิตกกังวลและอาการนอนไม่หลับที่มีผลจากการซึมเศร้า

การทำงานของยาทราโซโดนคือช่วยทำให้ความสมดุลของสารเคมีตามธรรมชาติบางชนิด (เซโรโทนิน)ในสมองกลับฟื้นฟูขึ้น

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เซโรโทนินซินโดรม คืออะไร

คำเตือนก่อนใช้ยา Trazodone

ไม่ควรใช้ยาทราโซโดนหากมีอาการแพ้ยา หรือเพิ่งได้รับการรักษาด้วยการฉีดเมทิลีน บลู

ห้ามใช้ยานี้หากมีการรับประทานยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอภายใน 14 วันที่ผ่านมา การเกิดปฏิกิริยาต่อยาที่เป็นอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ ยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอรวมไปถึงยาไอโซคาร์บอกซาซิด ไลนิโซลิด ฟีเนลซีน ทรานิลไซโปรมีนและอื่นๆ.

เด็กวัยหนุ่มสาวบางรายอาจมีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเมื่อรับประทานยาต้านซึมเศร้าในครั้งแรก แพทย์จำเป็นต้องตรวจเช็คความคืบหน้าในการมาตรวจตามปกติในขณะใช้ยาทราโซโดน ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรได้รับการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์หรืออาการของคุณ

รายงานทุกอาการใหม่ๆหรืออาการที่แย่ลงให้แพทย์ทราบ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม ความวิตกกังวล อาการตื่นตะหนก มีปัญหาการนอนหรือรู้สึกวู่วาม หงุดหงิด กระสับกระส่าย ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว กระวนกระวาย โรคไฮเปอร์ (ทางจิตใจหรือทางร่างกาย) ซึมเศร้ามากขึ้นหรือมีความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง

ไม่ให้ยานี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ยาทราโซโดนยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในเด็ก

ก่อนการรับประทานยา Trazodone

ไม่ควรใช้ยาทราโซโดนหากแพ้ยานี้

ห้ามใช้ยาทราโซโดนหากเคยมีการใช้ยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอในช่วง 14 วันที่ผ่านมา เพราะอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ ยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอจะรวมไปถึงยาไอโซคาร์บอกซาซิด ไลนิโซลิด ยาฉีดเมทิลีน บลู ฟีเนลซีน ทรานิลไซโปรมีนและอื่นๆ

หลังจากหยุดรับประทานยาทราโซโดน จะต้องรอคอยอย่างน้อย 14 วันก่อนที่จะเริ่มรับประทานยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็ทเอโอไอ ได้อีกครั้ง

แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีการรับประทานยาสารกระตุ้น ยาโอปิออยด์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือยาต้านเศร้า ยาอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ โรคพาร์กินสัน ปวดหัวไมเกรน การติดเชื้อรุนแรงหรือยาแก้คลื่นไส้และอาเจียน การเกิดปฏิกิริยากับยาทราโซโดนอาจทำให้เกิดภาวะที่รุนแรงที่เรียกว่า เซโรโทนิน ซินโดรม ได้

เพื่อให้แน่ใจว่ายามีความปลอดภัย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีสิ่งต่อไปนี้:

  • โรคตับหรือไต
  • โรคหัวใจหรือเคยมีภาวะหัวใจวายเมื่อไม่นานมานี้
  • ลิ่มเลือดผิดปกติหรือมีเลือดออก
  • ภาวะชักหรือโรคลมชัก
  • ต้อหินมุมแคบ
  • ติดยาหรือมีความคิดฆ่าตัวตาย
  • โรคอารมณ์สองขั้ว

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ปวดศีรษะไมเกรนมีสาเหตุจากอะไร

ในคนวัยหนุ่มสาวบางรายที่มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเมื่อรับประทานยาต้านเศร้าในครั้งแรก แพทย์ควรตรวจดูความคืบหน้าเมื่อมาพบแพทย์ ครอบครัวหรือผู้ดูแลวรได้รับการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์หรืออาการที่เกิดขึ้น

การรับประทานยาทราโซโดนในระหว่างการตั้งครรภ์สามารถทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ แต่การหยุดทานยาอาจไม้ปลอดภัยสำหรับคุณ ห้ามเริ่มหรือหยุดยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

หากกำลังตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจติดตามผลกระทบของยาทราโซโดนในเด็ก

อาจไม่ปลอดภัยในการให้นมบุตรหากรับประทานยาดังกล่าวนี้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงทุกๆความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ยาทราโซโดนยังไม่ได้รับอนุมัติให้มีการใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

Trazodone

ยา Trazodone ควรรับประทานอย่างไร

รับประทานยาทราโซโดนตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามข้อแนะนำตามฉลากยาและอ่านคู่มือยาอย่างละเอียด แพทย์อาจมีการปรับเปลี่ยนปริมาณขนาดยาในบางครั้ง

รับประทานยาทราโซโดนหลังมื้ออาหารหรืออาหารว่าง

อาจต้องใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ก่อนที่อาการจะดีขึ้น ใช้ยาตามคำแนะนำและแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการยังไม่ดีขึ้น

ไม่ควรหยุดยาทันทีหรือหากมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ (เช่น มึนงง อาเจียน กระสับกระส่าย เหงื่อออก สับสน ชา เสียวซ่าหรือรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต) ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการหยุดใช้ยาทราโซโดนอย่างปลอดภัย

เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้องห้างจากความชื้น ความร้อนและแสงแดด

ข้อมูลปริมาณขนาดยา

ปริมาณขนาดยาซึมเศร้าสำหรับผู้ใหญ่:

ปริมาณยาเบื้องต้น: 150 มก.ชนิดรับประทานต่อวันโดยแบ่งปริมายารับประทาน อาจเพิ่มทีละ 50 มก.ต่อวันทานติดต่อกัน 3 ถึง 4 วัน

ปริมาณขนาดยาสูงสุด:

-ผู้ป่วยใน: 600 มก./วัน

-ผู้ป่วยนอก: 400 มก./วัน

ข้อแนะนำ:

-ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสอบประวัติคนในครอบครัวเพื่อดูว่าเคยมีใครได้รับการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติหรืออาการเกือบพุ้งพล่านมาก่อน

-ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามดูอาการถอนยาเมื่อหยุดการบำบัด

-หลังจากเกิดการตอบสนองที่เหมาะสมตามเป้าที่ตั้งไว้ อาจลดปริมาณขนาดยาลงโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษา.

-หากมีอาการง่วงนอน สัดส่วนหลักของยาในแต่ละวันอาจต้องรับประทานในช่วงเวลาก่อนนอนหรือการลดปริมาณขนาดยาลงอาจเป็นที่จำเป็น 

-ยานี้ควรรับประทานหลังอาหารหรือหลังอาหารว่างไม่นานนัก

การใช้: ใช้รักษาโรคซึมเศร้า

จะเกิดอะไรขึ้นหากลืมรับประทานยา 

รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ให้ข้ามมื้อยาที่ลืมหากใกล้เวลาทานยาในมื้อถัดไป ห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็นสองเท่าในครั้งเดียว

จะเกิดอะไรขึ้นหากรับประทานยาเกินขนาด 

โทรฉุกเฉินทันที การรับประทานยาเกินขนาดอาจทำให้เสียชีวิตได้หากทานยาทราโซโดนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยากลุ่มบาร์บิทูเรตเช่น ฟีโนบาร์บิทัลหรือยากล่อมประสาทเช่น ไดอะซีแพม (แวลเลียม)

อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจรวมไปถึงอาการมึนงงรุนแรง อาเจียน การแข็งตัวขององคชาตทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือยาวนาน หัวใจเต้นแรงหรือเร็ว ชัก (หมดสติหรือกระตุก) หรือหายใจช้าหรือหยุดหายใจ

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคืออะไร

ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรืออาจเสียชีวิตได้

ปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน แอดวิล อัลลีฟ มอทรินและอื่นๆ การใช้ยากลุ่ม NSAID ร่วมกับยาทราโซโดนอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย

หลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำกิจกรรมที่เป็นอันตรายไปจนกว่าจะรู้ว่ายานี้ส่งผลต่อตัวคุณอย่างไร การเกิดปฏิกิริยาสามารถทำให้เกิดความเสียหายได้

หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอนเร็วเกินไป อาจรู้สึกวิงเวียนศีรษะได้

ผลข้างเคียงของยาทราโซโดน

พบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือหากมีสัญญานการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อยาทราโซโดน: มีผื่นขึ้น หายใจลำบาก บวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอ

หยุดรับประทานยาทราโซโดนและโทรหาแพทย์ทันทีหากมีอาการการแข็งตัวขององคชาติที่มีความเจ็บปวดนานเกินกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินและสามารถนำไปสู่อาการรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไข

รายงานทุกอาการใหม่ๆหรืออาการที่แย่ลงให้แพทย์ทราบ เช่น พฤติกรรมหรืออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง วิตกกังวล ตื่นตระหนก การนอนหลับมีปัญหาหรือรู้สึกวู่วาม หงุดหงิด กระสับกระส่าย ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว กระวนกระวาย ร้อนรน(ทั้งทางจิตใจหรือทางร่างกาย) ซึมเศร้ามากขึ้นหรือมีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายหรือทำรายตัวเอง

โทรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:

  • หัวใจเต้นแรงหรือเร็ว รู้สึกกระพือที่บริเวณหน้าอก หายใจสั้นและเวียนศีรษะฉับพลัน (คล้ายจะหมดสติ)
  • หัวใจเต้นช้า
  • มีความคิดหรือพฤติกรรมผิดปกติ
  • ฟกช้ำง่าย มีเลือดออกผิดปกติ
  • ระดับโซเดียมในร่างกายต่ำ – ปวดศีรษะ สับสน ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด อ่อนแรงรุนแรง อาเจียน ไม่มีสมาธิ รู้สึกไม่มั่นคง

พบแพทย์ทันทีหากมีอาการของเซโรโทนิน ซินโดรม เช่น กระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน มีไข้ เหงื่อออก ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อแข็งตัว ชักกระตุก ไม่มีสมาธิ คลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสีย

ผลข้างเคียงทั่วไปของยาทราโซโดนอาจรวมไปถึง:

  • ง่วงนอน มึนงง เหนื่อยล้า
  • บวม
  • น้ำหนักตัวลด
  • การมองเห็นไม่ชัด
  • ท้องเสีย ท้องผูก
  • คัดจมูก
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *