โรคดึงผม (Trichotillomania) คือ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มทางจิตเวช คนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองจะมีความอยากดึงผมตัวเองอยู่ตลอดเวลา
หลายคนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองอาจไม่ทราบว่าเป็นโรคที่สามารถวินิจฉัยโรคได้ ผู้ป่วยอาจคิดง่ายๆว่าการดึงผมตัวเองเป็นเพียงพฤติกรรมที่ไม่ดี หลายรายที่เกิดภาวะดึงผมตัวเองมักมีอาการทางร่างกายและจิตใจที่รุนแรงอื่นๆร่วมได้
ในบทความนี้จะอธิบายถึงอาการและสาเหตุของโรคดึงผมตัวเอง รวมถึงทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสม
โรคดึงผมตัวเองคืออะไร
คนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองจะมีความรู้สึกอยากดึงผมตัวเองอย่างรุนแรงมาก
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักชอบดึงผมตนเองออกหนังศีรษะ แต่ในบางรายก็อาจชอบดึงขนหนวด ขนตา หรือขนคิ้ว
ในผู้ป่วยโรคดึงผมตัวเองบางรายอาจมีการกินเส้นผมที่ตัวเองดึงออกมาด้วย อาการนี้เรียกว่าโรคชอบกินเส้นผม เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคดึงผมตัวเองมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น และบางคนอาจติดอาการโรคนี้ไปอย่างต่อเนื่องหรืออาจเป็นช่วงๆจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
โรคดึงผมตัวเองส่งผลกระทบต่อใครบ้าง
แพทย์คาดว่าคงมีผู้ที่เป็นโรคดึงผมตัวเองในจำนวนมากแต่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน
อัตราการเกิดโรคดึงผมตัวเองระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในช่วงวัยรุ่นเฉลี่ยแล้วพบได้พอๆกัน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่มีรายงานการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้คนมีอาการโรคดึงผมตัวเอง
บางรายงานบอกว่าการดึงผมตัวเองเป็นการช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายหรือความเครียด ในผู้ป่วยบางรายพบว่าการดึงผมตัวเองเป็นวิธีการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคดึงผมตัวเอง อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้:
- มีประวัติทางกรรมพันธุ์: คนที่มีญาติใกล้ชิดเช่นพี่ น้อง พ่อ แม่ ลูก เป็นโรคดึงผมตัวเอง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ด้วยได้เช่นกัน
- ได้รับบาลแผลทางใจในวัยเด็ก: คนที่ในวัยเด็กเคยมีบาดแผลทางใจอาจเกิดโรคดึงผมตัวเองได้มากกว่าคนอื่น แต่ยังไรก็ตามก็ยังไม่มีการค้นคว้าใดที่มากพอจะมาสนับสนุนความคิดนี้
อาการของโรคดึงผมตัวเอง
คนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองอาจเคยมีอาการทางจิตใจและทางร่างกายดังต่อไปนี้:
- ชอบดึงผมตัวเองซ้ำๆและบ่อยๆโดยไม่รู้ตัว
- รู้สึกผ่อนคลายหลังได้ดึงผมตัวเอง
- ไม่สามารถหยุดตัวเองให้ดึงผมตัวเองได้ทั้งๆที่ใจก็อยากจะหยุด
- พฤติกรรมการดึงผมสัมพันธ์กับความวิตกกังวลและความเครียด
- มีความต้องการทำพฤติกรรมซ้ำๆที่เกี่ยวข้องกับเส้นผม (เช่น การนับเส้นผมหรือการม้วนเส้นผม)
- เป็นโรคชอบกินเส้นผม
- ผิวหนังระคายเคืองหรือเสียวแปลบตรงบริเวณที่มีผลกระทบ
- มีรอยแหว่งของผมที่หายไปหรือหัวล้านเป็นจุดๆที่สังเกตเห็นได้เนื่องจากการดึงผม
การรักษาโรคดึงผมตัวเอง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคดึงผมตัวเองส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องรับการรักษา
คนส่วนมากมักไม่ทราบว่าภาวะนี้ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง และมักคิดเองว่าการดึงผมเป็นเพียงพฤติกรรมที่ไม่ดีเท่านั้น หลายๆรายจึงต่อต้านการไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยหาเหตุผล
แพทย์จึงมักไม่ได้วินิจฉัยผู้ที่เป็นโรคชอบดึงผมตัวเองทุกราย ซึ่งนั้นหมายความว่าแพทย์จึงมีข้อมูลไม่มากนักในการทำการรักษาเพื่อให้ได้ผลที่ดี
แต่อย่างไรก็ตามด้วยการค้นคว้าที่มีอยู่จำกัดก็พบว่าการบำบัดด้านพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยาก็สามารถช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้มีอาการดีขึ้นได้
พฤติกรรมบำบัด
การจากศึกษาในปี 2012แสดงให้เห็นว่าการใช้พฤติกรรมบำบัดด้วยเทคนิค habit reversal therapy (HRT) สามารถช่วยรักษาผู้ที่เป็นโรคดึงผมตัวเองได้ผลดี เทคนิค HRT มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้:
- ฝึกการรู้เท่าทันตัวเอง: โดยการให้ผู้ป่วยแยกแยะปัจจัยทางจิตและทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการดึงผม
- ฝึกให้สร้างพฤติกรรมตอบสนองแข่งกัน: เป็นการฝึกให้ทำพฤติกรรมอื่นแทนพฤติกรรมการดึงผม
- สร้างแรงจูงใจและปฏิบัติตาม: ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกิจกรรมและสร้างพฤติกรรมที่เตือนให้เห็นความสำคัญของการทำตามขั้นตอน HRT รวมถึงการได้รับคำชมจากครอบครัวและเพื่อนในการผ่านแต่ละขั้นตอนของการบำบัด
- ฝึกการผ่อนคลาย: ให้ผู้ป่วยฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่นการนั่งสมาธิและหายใจลึกๆ เพื่อช่วยลดความตึงเครียดและการดึงผมลง
- ฝึกทำพฤติกรรมใหม่ๆ: เป็นการสร้างทักษะใหม่ๆในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ๆแบบอัตโนมัติ
การรักษาด้วยยา
ในปี 2013 พบว่ามียาที่สามารถรักษาโรคชอบดึงผมที่ให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป
จากการทดลอง8ตัว โดยมี7ตัวเป็นยาหลอก ซึ่งเป็นยาดังต่อไปนี้:
- ยาต้านซึมเศร้าเอสเอสอาร์ไอ เป็นกลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า
- ยาโคลมิพรามีน เป็นยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก
- ยานาลเทรกโซน
- ยาโอแลนซาปีน เป็นยาต้านอาการทางจิต
- ยาเอ็น-อะเซทิลซิสเทอิน
พบว่ามีเพียงยาโอแลนซาปีน ยาเอ็น-อะเซทิลซิสเทอิน ,และยาโคลมิพรามีนเท่านั้นที่สามารถรักษาโรคโรคชอบดึงผมได้ผล
แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาที่มีตัวอย่างไม่มากนักยังไม่มีรายงานถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน
จากบทความของ American Journal of Psychiatry พบว่ามีผู้ป่วยราว 20เปอร์เซ็นต์ของคนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองมักเอาผมที่ดึงออกมามากิน
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นอันตรายที่เกิดจากพฤติกรรมนี้คือการเกิดก้อนผมในท้อง ทางการแพทย์เรียกว่าโรคก้อนขน
โรคก้อนขนทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการเสียหาย ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคก้อนขนคือ:
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- ลำไส้อุดตัน
- โลหิตจาง
หากโรคก้อนขนไปอุดตันในลำไส้อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อนำก้อนขนออกมาI
คนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองมักมีคุณภาพชีวิตต่ำ
คนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองอาจประสบกับภาวะตึงเครียดหรือความวิตกกัวลมากจนไม่สามารถควบคุมความอยากในการดึงผมตัวเองได้ และยิ่งไม่มีผมก็จะยิ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเป็นกังวลเพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้
บทสรุป
โรคดึงผมตัวเองคือโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักแต่โรคสามารถส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อคุณภาพชีวิต
หลายคนยังไม่เคยทราบว่ามีการรักษาสำหรับโรคดึงผมที่เหมาะสม ด้วยการนำเทคนิค HRT มาใช้ ที่ได้ผลดีในการรักษากับผู้ป่วยส่วนใหญ่
พบว่าการใช้ยาสามารถช่วยลดอาการของโรคดึงตัวเองลงได้
หากสงสัยว่าอาจเป็นโรคดึงผมตัวเองควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจแนะนำการรักษาแบบพิเศษเช่นพฤติกรรมบำบัด เพื่อเป็นการทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trichotillomania/symptoms-causes/syc-20355188
- https://www.nhs.uk/conditions/trichotillomania/
- https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/trichotillomania
- https://childmind.org/guide/trichotillomania/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก