ปัสสาวะขุ่น (Turbid Urine) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปัสสาวะขุ่น (Turbid Urine) : อาการ สาเหตุ การรักษา

03.02
8346
0

ปัสสาวะขุ่น (Turbid Urine) คืออาการบ่งชี้ถึงภาวะผิดปกติในร่างกาย แต่อาการผิดปกติเพียงเรื่องเดียวอาจยังไม่สามารถระบุที่มาของโรคได้ ในบางกรณีอาการนี้แสดงถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วย เช่น ภาวะขาดน้ำ หรือภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรืออาการป่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไต

สาเหตุของภาวะปัสสาวะขุ่น

ปัสสาวะขุ่นสาเหตุนั้นอาจจะเกิดจากหลายประการ ได้แก่:

ภาวะขาดน้ำ: กรณีมีปัสสาวะขุ่นและมีสีเข้มอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยบริโภคน้ำดื่มไม่เพียงพอ

ทุกคนล้วนมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้เหมือน ๆ กัน กรณีเจ็บป่วยมีอาการท้องเสีย อาเจียน หรือเป็นไข้ที่ทำให้ร่างกายต้องการน้ำมากขึ้น

ผู้ที่ออกกำลังกายหนักหรือออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อน อาจมีความเสี่ยงที่จะขาดน้ำได้ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ

อาการการขาดน้ำนอกจากปัสสาวะขุ่นแล้วยังอาจมีอาการอื่นร่วม ได้แก่ :

  • ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มหรือสีส้ม

  • รู้สึกเพลียเหนื่อยล้า

  • รู้สึกสับสนหรือไม่สามารถรวบรวมสมาธิได้

  • เวียนศรีษะ

  • ปากแห้งและรู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรง

  • ตาแห้ง

  • ปัสสาวะน้อยลง

ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงมากตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการเวียนศีรษะ  สลบไม่ได้สติ หรืออุจจาระเป็นเลือดหรือสีดำ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (UTI): เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะขุ่น หรือมีลักษณะเหมือนน้ำนม หากปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นมากอาจมีภาวะติดเชื้อร่วมด้วย

ความขุ่นในปัสสาวะเกิดจากการที่หนองหรือเลือดปะปนเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ และอาจเกิดจากการสะสมเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ร่างกายใช้จัดการกับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค

นอกจากภาวะปัสสาวะที่ขุ่นแล้ว โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อยังทำให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น:

  • ปวดปัสสาวะอย่างต่อเนื่องไม่หยุด

  • ปัสสาวะครั้งละมาก ๆ หรือกระเพาะปัสสาวะบีบตัวลำบาก

  • ปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ

  • ปัสสาวะขุ่นมีกลิ่นเหม็น

  • ปวดกระดูกเชิงกรานท้องส่วนล่างหรือหลังส่วนล่าง

  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้มมาก

ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและการรักษา การปล่อยให้มีอาการนานเกินไปอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้

ไตติดเชื้อ: อาการติดเชื้อในไตโดยมากมีลักษณะเหมือนโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ หากไม่รีบเข้ารับการรักษา และอาการจะยิ่งแย่ลงหากปล่อยไว้นาน

Turbid Urine

อาการติดเชื้อในไตมีอาการคล้ายคลึงกับโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ แต่จะมีอาการเพิ่มเติมได้แก่:

  • ไข้

  • หนาวสั่น

  • เป็นตะคริว

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า

  • คลื่นไส้และอาเจียน

  • รู้สึกปวดบริเวณหลัง สีข้างหรือขาหนีบ

  • ปัสสาวะสีเข้ม มีเลือดปะปน หรือมีกลิ่นเหม็น

การติดเชื้อในไตต้องได้รับการรักษาทันที หากไม่รีบรักษาการติดเชื้อนี้อาจทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร

โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI): โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดเช่นหนองใน และหนองในเทียมอาจทำให้ปัสสาวะขุ่น เพราะโรคไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงาน และผลิตเม็ดเลือดขาวมาก ๆ จนไปผสมกับปัสสาวะได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหล่านี้ยังทำช่องคลอดหรืออวัยวะเพศเกิดการคัดหลั่งผิดปกติ สัญญาณอื่น ๆ ของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ :

  • อาการคันที่อวัยวะเพศหรืออุ้งเชิงกราน

  • อาการปวดที่อวัยวะเพศโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ปวดในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์

  • ปวดหรือแสบร้อนขณะปัสสาวะหรือการหลั่งน้ำกาม

  • เป็นผื่น เป็นแผลพุพอง หรือแผลลักษณะอื่น ๆ บริเวณอวัยวะเพศ

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที การป้องกันทางเพศยังช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้

ช่องคลอดอักเสบ: ช่องคลอดอักเสบโดยมากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็อาจเป็นการติดเชื้อจากไวรัสหรือเชื้อราได้

บางกรณีร่างกายอาจทำปฏิกิริยากับส่วนผสมในสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้เช่นกัน ปฏิกิริยาเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณช่องคลอดและปากมดลูกโดยไม่มีการติดเชื้อ

อาการอื่น ๆ ของโรคช่องคลอดอักเสบ ได้แก่ :

  • อาการคันรอบ ๆ ช่องคลอด

  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น

  • ช่องคลอดบาง ซีด และมีของเหลวไหลออกมา

  • การเปลี่ยนสีคล้าย cottage cheese

  • กลิ่นคาวหลังมีเพศสัมพันธ์

  • รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ

ต่อมลูกหมากอักเสบ: ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบเป็นสาเหตุของปัสสาวะขุ่นได้

อาการอื่น ๆ ของต่อมลูกหมากอักเสบ ได้แก่ :

  • ความเจ็บปวดระหว่างคัดหลั่ง

  • ปวดหรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ

  • ปัสสาวะบ่อย และถี่

  • เลือดปนเปื้อนในปัสสาวะ

  • ปวดท้อง

  • ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน อวัยวะเพศหรือ ขาหนีบ

นิ่วในไต: นิ่วในไตอาจทำให้ปัสสาวะขุ่นได้ เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุบางชนิดในร่างกาย

นิ่วขนาดเล็กอาจไม่ทำให้มีอาการใด ๆ แต่นิ่วขนาดใหญ่จะปิดกั้นทางเดินปัสสาวะและทำให้เกิดการติดเชื้อที่ทำให้เกิดหนองออกมาปะปนกับปัสสาวะได้

อาการทั่วไปของนิ่วในไตคืออาการปวดอย่างรุนแรง บริเวณใต้ซี่โครงใกล้ ๆ ด้านข้างหรือหลังส่วนล่าง ความเจ็บปวดอาจเกิดบริเวณขาหนีบและลามไปยังท้องส่วนล่างหรือหลังส่วนล่างได้

อาการอื่น ๆ ของนิ่วในไต ประกอบด่วย :

  • ไข้

  • หนาวสั่น

  • อาการปวดขณะปัสสาวะ

  • มีลิ่มสีน้ำตาล แดง หรือชมพูปนเปื้อนในปัสสาวะ

  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น

อาหาร: อาหารบางชนิดอาจทำให้ปัสสาวะขุ่นได้ ผู้ที่รับประทานวิตามินดีหรือฟอสฟอรัสมาก ๆ อาจมีปัสสาวะขุ่นได้ เนื่องจากไตทำหน้าที่กำจัดฟอสฟอรัสส่วนเกินออกจากร่างกาย อาหารที่มีโปรตีนสูง อย่างเนื้อสัตว์ ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนมก็มีปริมาณฟอสฟอรัสสูงเช่นกัน

เบาหวานหรือภาวะที่ไตถูกทำลายจากอาการเบาหวาน: สัญญาณอื่น ๆ ของโรคเบาหวานอาจรวมถึงปัญหาต่างๆเช่น:

  • กระหายน้ำเป็นประจำแม้จะพึ่งดื่มน้ำ

  • ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า

  • ลดน้ำหนัก

  • ปัสสาวะบ่อย ๆ ถี่ ๆ

  • การอักเสบบ่อย ๆ

  • เมื่อเป็นแผลจะหายช้า

หากไม่รีบรักษาเบาหวานอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยความเสียหายของไต

การวินิจฉัยภาวะปัสสาวะขุ่น

หากปัสสาวะขุ่นพร้อมอาการอื่น ๆ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย แพทย์อาจขอตัวอย่างปัสสาวะเพื่อทดสอบการติดเชื้อ และอาจทดสอบอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มเติม และอาจตรวจเลือดเพื่อตรวจความเสียหายของไตร่วมด้วย ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

การรักษาภาวะปัสสาวะขุ่น

การรักษาภาวะปัสสาวะขุ่นขึ้นกับโรคต้นเหตุ การรักษาโดยทั่วไปจะเป็นแยกตามชนิดของโรค ได้แก่ :

อาการขาดน้ำ: การรักษาภาวะขาดน้ำอาจทำได้ง่ายเพียงดื่มน้ำให้มากขึ้นและรับประทานอาหารที่มีปริมาณของเหลวสูง แต่ในกรณีที่ขาดน้ำรุนแรงต้องรีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ : โรคนี้ส่วนมากตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะได้ดี แต่กรณีที่อาการรุนแรง ผู้ป่วยต้องได้รับยารักษาอาการหลอดเลือดดำเพิ่มเติม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: การรักษาขึ้นกับชนิดของโรค ภาวะการติดเชื้ออย่างโรคหนองใน และซิฟิลิส โดยทั่วไปจะตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะได้ดี

นิ่วในไต: นิ่วสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แพทย์อาจให้ยาแก้ปวด แต่หากก้อนนิ่วโตจะเจ็บปวดมาก แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาหรือบำบัดด้วยคลื่นช็อกเวฟเพื่อลดขนาดของนิ่วลง และอาจผ่าตัดหากนิ่วมีขนาดใหญ่มาก

ช่องคลอดอักเสบ: แพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา หรือยาต้านไวรัสเพื่อรักษาช่องคลอดอักเสบ

ต่อมลูกหมากอักเสบ: อาจหายเอง กรณีแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรค ยาปฏิชีวนะจะใช้รักษาอาการได้ แต่กรณีเรื้อรังแพทย์อาจให้ใช้ยาอื่น ๆ เพิ่มเติม

โรคเบาหวาน: ปัญหาเกี่ยวกับไตที่เกิดจากโรคเบาหวานอาจต้องทำการตรวจปัสสาวะเพื่อหาความเสียหายของไต ผู็ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคเบาหวาน

สรุปภาพรวมภาวะปัสสาวะขุ่น

ปัสสาวะที่ขุ่นอาจมีที่มาหลายสาเหตุ การเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่น ๆ คือสิ่งสำคัญที่ช่วยหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน

จดบันทึกอาการต่าง ๆ เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อใช้ในการวินิจฉัยและการรักษาที่ดี การให้ความร่วมมือกับแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ช่วยแก้อาการปัสสาวะที่ขุ่นได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *