ปัสสาวะ (Urinary Retention)ไม่ออกคือการที่ปัสสาวะไม่สุด มักต้องปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะทันทีหลังเพิ่งปัสสาวะไป หรือปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง จากปัญหาของช่องเชิงกรานหรือต่อมลูกหมาก หรือเฉียบพลัน เช่นจากการติดเชื้อ
สาเหตุปัสสาวะไม่ออก
อาการปัสสาวะไม่ออกมีปัจจัยและเงื่อนไขหลายอย่างที่ทำให้ปัสสาวะไม่ออก เช่น
-
การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่นจากนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
-
ท่อปัสสาวะบวมจากการอักเสบหรือบาดเจ็บ
-
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงระบบทางเดินปัสสาวะเสียหายจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง
-
จากต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ เนื้องอก หรือมะเร็งของต่อมลูหมาก
-
ยาที่มีผลต่อระบบประสาท
-
ท้องผูกรุนแรง อุจจาระในลำไส้ใหญ่ไปกดท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ
-
ยาสลบ อาจมีผลกดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงทางเดินปัสสาวะชั่วคราว ทำให้ปัสสาวะไม่สุด
-
cystocele เกิดจากบางส่วนกระเพาะปัสสาวะหย่อนลงมาในช่องคลอด กดกระเพาะปัสสาวะ
-
ปัญหาจากอุ้งเชิงกราน ที่ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทเสียหน้าที่ไป เช่นบาดเจ็บจากการคลอดหรือบาดเจ็บทางร่างกายอื่นๆ
อาการปัสสาวะไม่ออก
อาการฉี่ไม่ออกหรือ ปัสสาวะไม่หมด มีสองประเภทคือ เรื้อรังและเฉียบพลัน
ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง
อาการจะค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาเป็นเดือนหรือปี และเกิดอยู่นาน มีอาการดังนี้
-
ปัสสาวะลำบาก อาจเกิดต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
-
ปวดปัสสาวะอีกแม้ว่าเพิ่งปัสสาวะเสร็จ
-
ปัสสาวะอ่อน น้ำปัสสาวะไม่พุ่งเป็นสาย หรือปัสสาวะขัดน้ำปัสสาวะหยุดเป็นช่วง
-
ต้องเบ่งเพื่อให้ปัสสาวะออก
-
ไม่ปวดปัสสาวะจึงไม่สามารถปัสสาวะให้สุดได้
-
ปัสสาวะบ่อย
-
ปัสสาวะมากกว่า 8 คร้ังต่อวัน
-
ปัสสาวะเล็ด โดยเฉพาะถ้าปล่อยไว้นาน ไม่ได้รักษา
ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาจเกิดจากการอุดตันในท่อปัสสาวะ หรือส่วนอื่นๆของทางเดินปัสสาวะ มีอาการ
-
ไม่สามารถปัสสาวะได้
-
ปวดปัสสาวะมาก
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการของการติดเชื้อร่วมด้วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น แต่แม้ว่าจะไม่มีอาการเหล่านี้ ก็ควรไปพบแพทย์ทันที
ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ได้สังเกตว่าตนมีอาการปัสสาวะไม่สุด จนกระทั่งเกิดอาการปัสสาวะเล็ด ดังนั้นถ้ามีอาการปัสสาวะเล็ด ควรไปพบแพทย์เช่นกัน
การรักษาอาการปัสสาวะไม่ออก
การรักษาขึ้นกับสาเหตุ บางสาเหตุรักษาได้ง่าย การรักษาที่แพทย์ให้ เช่น
-
ยาปฎิชีวนะ ถ้ามีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
-
กายภาพบำบัด ถ้ามีความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน
-
เปลี่ยนยา ถ้ายานั้นมีผลต่อการปัสสาวะไม่สุด
-
ใช้ท่อสวนปัสสาวะ
-
ถ่างท่อปัสสาวะ เพื่อรักษาการตีบหรืออุดตัน
-
ใส่ท่อถาวรไว้ในท่อปัสสาวะ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
-
ผ่าตัดต่อมลูกหมากออก หรือตัดเนื้อเยื่อต่อมที่โตผิดปกติออก
-
ผ่าตัดรักษา cystocele
บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเช่น ให้ดื่มน้ำมากขึ้น รีบไปห้องน้ำถ้าเริ่มปวดปัสสาวะ หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น
สรุป
การปัสสาวะไม่ออก ทำให้เจ็บปวดและไม่สบายกาย หากเกิดอย่างเฉียบพลันและทำให้ปัสสาวะไม่ได้ ทำให้เจ็บปวดและน่ากลัว
การรักษาที่ล่าช้ายิ่งทำให้อาการเลวลง อาการปัสสาวะไม่ออกรักษาได้ ไม่ควรอายที่จะไปพบแพทย์
แพทย์ทั่วไปสามารถวินิจฉัยและรักษาได้ บางกรณีอาจต้องส่งต่อให้แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือผู้เชี่ยวชาญทางลำไส้ใหญ่หรืออุ้งเชิงกราน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.niddk.nih.gov/health-information/urologic-diseases/urinary-retention
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15427-urinary-retention
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก