มะเร็งมดลูก (Uterine Cancer)

มะเร็งมดลูก (Uterine Cancer)

19.11
940
0

มะเร็งมดลูกคือ

มะเร็งมดลูกเกิดขึ้นเมื่อมีเซลล์ผิดปกติพัฒนาในมดลูก และเริ่มเจริญเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ มะเร็งมดลูกมี 2 ประเภทหลัก 

  1. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเริ่มต้นที่เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) คิดเป็นประมาณ 95% ของมะเร็งมดลูก
  2. เนื้องอกในมดลูกซึ่งพัฒนาในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ (Myometrium) เป็นมะเร็งมดลูกรูปแบบที่หาได้ยากกว่า

อาการมะเร็งมดลูก

อาการที่พบบ่อยได้แก่ เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน อาการทั่วไปอื่นๆ ได้แก่

  • ประจำเดือนมาหนักกว่าปกติ หรือมาไม่ปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • ประจำเดือนมาไม่หยุด
  • ตกขาวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • การลดน้ำหนักที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ลำไส้แปรปรวน
  • อาการปวดท้อง

แม้ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ควรไปรับการตรวจกับแพทย์เช่นกัน เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่สำคัญ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะลำไส้แปรปรวน

มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร

ปัจจัยบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งมดลูก มีดังต่อไปนี้

  • วัยหมดประจำเดือน
  • เยื่อบุผนังโพรงมดลูกหนา
  • ไม่เคยมีบุตร
  • มีความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • น้ำหนักเกิน หรืออ้วน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมาก่อน
  • มีโรคทางพันธุกรรม เช่น Cowden syndrome หรือ Lynch syndrome
  • เคยเป็นเนื้องอกในรังไข่
  • กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ
  • ใช้ฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือการรักษาภาวะเจริญพันธุ์
  • เคยฉายรังสีที่อุ้งเชิงกราน
  • การใช้ Tamoxifen เพื่อรักษามะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งมดลูก

สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งมดลูก การผ่าตัดเป็นการรักษาที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมะเร็งได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ และยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

การผ่าตัดมดลูก

การผ่าตัดที่พบบ่อย คือ การผ่าตัดเอามดลูก และปากมดลูกออก ขั้นตอนนี้เรียกว่า การตัดมดลูกออกทั้งหมด  แต่ถ้าหากผ่าตัดเอาท่อนำไข่ และรังไข่ทั้งสองข้างออกด้วย จะเรียกว่า Salpingo-oophorectomy 

รังไข่มักจะถูกกำจัดออก เพื่อลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมาอีก เนื่องจากรังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่อาจทำให้มะเร็งเติบโตได้

การรักษาด้วยรังสี (รังสีบำบัด)

การบำบัดด้วยรังสี การใช้รังสีเอกซ์ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง มักใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติม เพื่อลดโอกาสที่มะเร็งจะกลับมา แพทย์จะอาจแนะนำให้ใช้เป็นการรักษาหลักหากคุณไม่แข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด

การใช้ฮอร์โมนบำบัด

การบำบัดด้วยฮอร์โมน แพทย์จะสั่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการมะเร็งลุกลาม หรือถ้ามะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ  เป็นทางเลือกการรักษา ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนหลักในการรักษาสตรีที่เป็นมะเร็งมดลูก สามารถช่วยลดขนาดมะเร็งบางชนิด และควบคุมอาการ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์ของยาเลื่อนประจำเดือน

การใช้เคมีบำบัด

เคมีบำบัดใช้ในการรักษามะเร็งมดลูกบางชนิด หรือเมื่อมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำอีกหลังการผ่าตัด หรือการฉายรังสี  หรือหากมะเร็งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน สามารถใช้ควบคุมมะเร็ง และบรรเทาอาการได้ เป็นการใช้เคมีบำบัดผ่านทางเส้นเลือด ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การดูแลแบบประคับประคอง

การดูแลแบบประคับประคองสำหรับโรคมะเร็งมดลูก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยการบรรเทาอาการของมะเร็ง สามารถชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งมดลูก สามารถบรรเทาอาการปวด และช่วยจัดการอาการอื่นๆ ได้อีกด้วย การรักษาอาจรวมหลายๆ วิธีที่ได้กล่าวมาในด้านบนไว้ด้วยกัน เช่น การฉายรังสี เคมีบำบัด หรือการรักษาด้วยยาอื่นๆ


นี่คือที่มาแหล่งข้อมูลของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *