เรื่องที่ต้องรู้เมื่อปวดหัวข้างซ้าย (What Causes Headaches on The Left Side)

เรื่องที่ต้องรู้เมื่อปวดหัวข้างซ้าย (What Causes Headaches on The Left Side)

03.11
1271
0

ปวดหัวข้างซ้าย

อาการปวดหัวข้างซ้ายมีสาเหตุหลายประการ การทำความเข้าใจสาเหตุเหล่านั้น จะช่วยให้การรักษาสามารถจัดการกับความเจ็บปวดได้ และทำให้ทราบว่าเมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

ประมาณ 50% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกมักมีอาการปวดหัว อาการปวดหัวบางอย่างเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย และหายได้เอง แต่อาการปวดศีรษะบางครั้งอาจรุนแรง และจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นจนส่งผลต่อการมองเห็น คลื่นไส้ หรืออาการอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความกังวล ให้ไปพบแพทย์ หากผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ และอ่อนแรงอย่างกะทันหัน และรุนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย หรือทำให้เกิดความสับสน ควรเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ปวดไมเกรนทำอย่างไรให้ดีขึ้น อ่านต่อที่นี่

ลักษณะโดยรวมของอาการปวดหัวข้างซ้าย

อาการปวดหัวมีหลายประเภท ซึ่งรวมถึงอาการปวดหัวข้างซ้าย อาการปวดหัวไมเกรน และปวดแบบคลัสเตอร์

โดยทั่วไป แพทย์จำแนกอาการปวดหัวเป็น “ระดับหลัก” หรือ “ระดับรอง” ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวอย่างเดียวตืออาการปวดระดับหลัก แต่อาการปวดศีรษะระดับรองคือ อาการที่เกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น :

อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบ รวมถึงการปวดหัวด้านซ้ายด้วย

 ปวดหัวไมเกรน

ไมเกรนอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวซีกซ้ายระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการปวดหัวไมเกรนอาจเกิดช่วงสั้น ๆ และรุนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของศรีษะ อาจปวดเบ้าตาซ้าย หรือขวา หรือขมับ แล้วลุกลามไปทั่วศีรษะ

ไมเกรนชนิดที่พบได้ยาก คือ ไมเกรนแบบอัมพาตครึ่งซีก ทำให้เกิดความอ่อนแอที่แขนขา และใบหน้าที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย

อาการไมเกรนมักเกิดได้นาน 4 – 72 ชั่วโมง วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนคือ การนอนลงในห้องมืด และพักผ่อนจนกว่าอาการจะหาย

สาเหตุของโรค ได้แก่ :

  • ความเครียดถือเป็นปัจจัยหลัก
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
  • อาหารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ชีส และช็อกโกแลต
  • นอนมาก หรือน้อยเกินไป
  • ไฟที่ส่องสว่างเกินไป หรือไฟกะพริบ
  • กลิ่นต่าง ๆ อย่างน้ำหอม

ปวดหัวแบบคลัสเตอร์

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์จะทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว จี๊ดๆที่รุนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ โดยมักเกิดขึ้นที่บริเวณดวงตา ความเจ็บปวดอาจรุนแรงมาก และอาจรู้สึกเหมือนถูกทิ่มแทง แสบร้อน หรือปวดลึกถึงกระดูก

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์อาจเกิดขึ้นนาน 4 – 12 สัปดาห์ จากนั้นจึงหยุดไปอาจหายไปนานหลายปี

อาการทั่วไป ได้แก่ :

  • ปวดหลังตาข้างเดียว ขมับ หรือหน้าผากข้างใดข้างหนึ่ง
  • อาการปวดที่เกิดตอนกลางคืน มักเกิดอาการ 1 – 2 ชั่วโมงหลังเข้านอน
  • อาการปวดมักรุนแรงที่สุด หลังเกิดอาการ 5 – 10 นาที
  • อาการปวดที่รุนแรงจะกินเวลานาน 30-60 นาที
  • อาการปวดจะลดความรุนแรงลง แต่อาจดำเนินต่อเนื่องไปอีก 3 ชั่วโมง

What Causes Headaches on The Left Side

อาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่:

  • อาการคัดจมูก หรือน้ำมูกไหล
  • หนังตาหย่อนคล้อย
  • น้ำจาไหล และตาแดงข้างเดียว
  • หน้าแดง หรือเหงื่อออก

ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส และเส้นประสาท และหลอดเลือดของระบบไตรเจมินัล ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาและใบหน้า

อาการปวดศีรษะแบบ Cervicogenic

อาการปวดศีรษะประเภทนี้เกิดจากการบาดเจ็บที่คอ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ หรือข้อต่ออักเสบ หรือการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังส่วนบน

ลักษณะอาการ ได้แก่:

  • ปวดหัวระดับปานกลางถึงรุนแรง เริ่มบริเวณคอ ลามไปที่ดวงตา และใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
  • คอเคล็ด และเคลื่อนไหวได่น้อยลง
  • ปวดรอบดวงตา คอ ไหล่ และแขน
  • คลื่นไส้
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ความไวต่อแสง และเสียง

การฉีดสเตียรอยด์ และยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน (แอดวิล) จะเป็นวิธีแก้ปวดหัวข้างเดียวได้ มักหายไปภายใน 3 เดือน แต่อาจเป็นซ้ำอีกได้ โดยความถี่ และความรุนจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

หลอดเลือดอักเสบ

ภูมิต้านทานที่ผิดปกติของร่างกาย อาจทำให้หลอดเลือดเป็นอันตราย จนนำไปสู่โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) ได้

โรคหลอดเลือดอักเสบที่พบบ่อยคือ โรคหลอดเลือดแดงในสมองส่วนขมับ (Temporal Arteritis) ซึ่งส่งผลต่อหลอดเลือดในศีรษะ พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

โรคหลอดเลือดอีกเสบอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวจี๊ดๆที่รุนแรง และไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ อาการปวดจะรุนแรงที่สุดภายใน 1 นาที และต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 5 นาที และอาจเกิดอาการได้นานขึ้น หากโรคมีอาการรุนแรงขึ้น

อาการอื่น ๆ ได้แก่:

  • สูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน
  • ปวดข้างเดียว หรือหลังตา
  • ปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร

หากมีอาการเหล่านี้วิธีทำให้หายปวดหัวคือ การไปพบแพทย์ และหากไม่รักษาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

หลอดเลือดโป่งพองในสมอง

หลอดเลือดโป่งพองในสมองมักเกิดบริเวณที่อ่อนแอในหลอดเลือดสมอง มักไม่เกิดอาการ เว้นแต่หลอดเลือดจะแตกออก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการตกเลือดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

บุคคลอาจมีอาการปวดหัวจี๊ด ๆ ข้างเดียวแบบฉับพลัน และรุนแรง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนถูกตีที่ศีรษะอย่างแรง หรือด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย

อาการอื่น ๆ ได้แก่:

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *