ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร
ดัชนีมวลกาย (ค่าBMI) คือการวัดน้ำหนักของบุคคลเทียบกับส่วนสูงของร่างกาย เป็นสิ่งบ่งชี้ที่มากกว่าการวัดไขมันในร่างกายทั้งหมดของร่างกายโดยตรง
ค่าดัชนีมวลกายสัมพันธ์กับปริมาณไขมันทั้งหมดในร่างกาย หมายความว่าหากค่าBMI เพิ่มขึ้น ไขมันทั้งหมดในร่างกายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
องค์การอนามัยโลกได้กำหนด ค่าดัชนีมวลกายในผู้ใหญ่ที่ 25 ถึง 29.9 แสดงว่ามีน้ำหนักเกิน – หากมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคอ้วน – ค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า 18.5 ถือว่ามีน้ำหนักน้อย และค่าBMI ปกติ คือ 18.5 ถึง 24.9
การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
ค่าดัชนีมวลกายได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ และได้จ่กก่ีประมาณโดยใช้ตารางจับคู่ระหว่างส่วนสูงหน่วยเป็นนิ้วต่อน้ำหนักหน่วยเป็นกิโลกรัม เพื่อประมาณค่าดัชนีมวลกาย ผู้สนใจสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้เอง
สูตรคำนวนBMI = (น้ำหนักเป็นกิโลกรัม) หารด้วย (ความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง)
ค่าBMI ปกติคือค่าที่อยู่ระหว่าง 18.5 ถึง 24.9 บ่งชี้ว่าบุคคลนั้นอยู่ในช่วงน้ำหนักปกติ ตามส่วนสูงของร่างกาย แผนภูมิBMI ใช้เพื่อจัดหมวดหมู่บุคคลว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
ดัชนีมวลกาย (BMI) กับสถานะน้ำหนัก
ต่ำกว่า 18.5 น้ำหนักน้อย
18.5 – 24.9 น้ำหนักปกติ
25.0 – 29.9 น้ำหนักเกิน
มากกว่า 30.0 อ้วน
ความเกี่ยวข้องของ BMI กับสุขภาพ
ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวบ่งชี้ระดับไขมันในร่างกายโดยรวม ตามสถิติของบุคคลเป็นจำนวนมาก จึงสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ความเสี่ยงต่อสุขภาพได้
บุคลากรทางการแพทย์นำการคิดBMI มาใช้เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วน และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน และน้ำหนักเกินด้วย
ตัวอย่างปัญหาทางสุขภาพของผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูง ได้แก่:
- ไขมันในเลือดสูง หรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับไขมันอื่น ๆ
- โรคเบาหวานประเภท 2
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- ความดันโลหิตสูง
- มะเร็งบางชนิด
- โรคถุงน้ำดี
- ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ และการนอนกรน
- เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
- โรคข้อเข่าเสื่อมและโรคข้อต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้คำนวณความเสี่ยงต่อสุขภาพ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด ประวัติทางสุขภาพของครอบครัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ อายุ เพศ รอบเอว การออกกำลังกาย ช่วงวัยที่หมดประจำเดือน การสูบบุหรี่ ฯลฯ จะถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ
BMI สามารถวิเคราะห์ผลได้กับทุกคนหรือไม่
ส่วนมากค่าดัชนีมวลกายสามารถใช้วัดความอ้วนได้ แต่ค่าดัชนีมวลกายไม่มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปริมาณของกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และเนื้อเยื่ออื่น ๆ
บางคนค่าBMI ที่ใช้วัดไขมันในร่างกายได้แม่นยำกว่าคนอื่น ๆ เช่นกรณีของผู้ที่มีกล้ามเนื้อมาก แต่เมื่อคำนวนBMI กลับถูกจัดอยู่ในประเภท “น้ำหนักเกิน” ได้ ทั้งที่พวกเขามีสุขภาพที่ดีและฟิตมาก บุคคลเหล่านี้ที่มีระดับไขมันในร่างกายต่ำ แต่เมื่อคำนวนตามน้ำหนักและส่วนสูงกลับได้ค่าบีเอ็มไอที่เท่ากับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
เช่นเดียวกันผู้สูงอายุ และผู้ที่มีร่างกายอ่อนแออาจถูกจัดอยู่ในประเภทน้ำหนักปกติได้ เมื่อมีมวลกล้ามเนื้อน้อยและมีไขมันในร่างกายสูง
การหาดัชนีมวลกายอาจไม่แม่นยำ เมื่อใช้ในกรณีที่ยังเป็นเด็กและวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ ผู้ที่มีโครงร่างกายใหญ่ หรือรูปร่างเล็ก สตรีมีครรภ์ และบุคคลที่มีกล้ามเนื้อมากจำเป็นต้องได้รับการประเมิน และตีความอย่างรอบคอบ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก