ภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) หมายถึงมีการมีกรดเกินในร่างกาย ปกติร่างกายจะรักษาสมดุลกรดด่างในร่างกาย เพื่อให้อยู่ในภาวะสุขภาพที่ดีที่สุด หากมีสภาวะกรดหรือด่างมากไปในร่างกาย ทำให้เกิดโรคได้
ภาวะเลือดเป็นกรดเกินในร่างกาย ทำให้ร่างกายต้องปรับและกำจัดความเป็นกรด โดยปกติแล้วปอดและไตมีความสามารถขับกรดส่วนเกินออกจากร่างกายได้ แต่ถ้ามีกรดเกินมากทำให้ไตและปอดทำงานหนัก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
อาการเจ็บป่วย ยา และอาหาร ก่อให้เกิดภาวะกรดเกิน บางกรณีภาวะนี้สามารถปรับคืนได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะกรดเกินอย่างร้ายแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
สาเหตุของภาวะเลือดเป็นกรด
สาเหตุของภาวะเลือดเป็นกรดนั้นมีหลากหลาย เช่น
ภาวะกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญ(Metabolic acidosis)
เกิดเมื่อมีการสร้างกรดในร่างกายมากเกินไป จากกระบวนการเผาผลาญที่ผิดปกติ การเจ็บป่วยหลายชนิดเป็นสาเหตุของกรดเกิน เช่น
-
ท่อทางเดินน้ำดีทะลุ
-
ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ยังไม่ทราบแน่นอนว่าภาวะต่าง ๆ นี้ก่อให้เกิดกรดเกินได้อย่างไร หรือกรดเกินกระตุ้นให้เกิดภาวะนั้น ๆ อาจเนื่องจากภาวะเหล่านี้ก่อให้เกิดวงจรการสร้างกรดเพิ่ม ทำให้อาการเลวลง
บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ แต่ถ้ามีอาการอาจเกิดอาการเช่น
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ต้องหายใจยาว ลึกกว่าปกติ
- ปวดศีรษะ
- อ่อนแรงและอ่อนเพลีย
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ไม่อยากอาหาร
- สับสน
หากพบว่ามีอาการดังข้างต้น ควรพบแพทย์ทันที
ภาวะกรดเกินจากหลอดเลือดฝอยที่ไตผิดปกติ(Renal tubular acidosis)
โรคของไตหรือภาวะไตวาย ก่อให้เกิดกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญ ไตมีหน้าที่กำจัดกรดส่วนเกินออกทางปัสสาวะ หากไตมีปัญหาก็ไม่สามารถขับกรดออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไตยังช่วยปรับระดับไบคาร์บอเนตในร่างกายให้สมดุลย์ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี
อาการหนึ่งของกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญ คือระดับไบคาร์บอเนตในเลือดลดลง แสดงให้เห็นว่าเลือดมีกรดมากขึ้น (ค่าปกติคือ 22-26 mEq/L)
ภาวะกรดเกินจากระบบหายใจ(Respiratory acidosis)
เกิดเมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากพอ เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ค้างในร่างกายจึงทำให้เลือดเป็นกรด
สาเหตุ
-
ยาที่มีผลกดระบบประสาทส่วนกลางเช่น ยากลุ่ม opioids
-
ความผิดปกติที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อเสื่อม หรือโรค Guillain-Barre
อาการ แตกต่างกันไป ขึ้นกับสาเหตุ เข่น
-
หายใจมีเสียงวี๊ด
-
หายใจลำบาก
-
นอนหลับไม่สนิท
-
ผิวหนังสีซีดหรือเขียว เนื่องจากออกซิเจนในเลือดน้อย
ภาวะกรดเกินจากอาหาร (Diet-induced acidosis)
อาหารและเครื่องดื่มบางอย่าง อาจเพิ่มความเป็นกรดในร่างกาย ไม่ได้ขึ้นกับความเป็นกรดด่างของอาหารและเครื่องดื่มนั้น แต่จากการที่อาหารมีผลต่อระดับกรดด่างของร่างกายเมื่อมันเข้าไปในร่างกายแล้ว
อาหารที่มีภาวะกรดสูง เช่น
-
กรดอมิโนที่มีซัลเฟอร์ พบใน เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม
-
เกลือ ซึ่งจะทำให้ไตขับกรดออกยากขึ้น
-
กรดฟอสฟอริก เช่นในเครื่องดื่มรสซ่า
ภาวะกรดเกินจากยา(Drug-induced acidosis)
ยาบางชนิดเพิ่มกรดในร่างกาย เช่น
-
ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์
-
ยาปฎิชีวนะ เช่น trimethoprim
-
ยาต้านรีโทรไวรัส(ยารักษาอาการติดเชื้อเอชไอวี)
-
ยากลุ่ม statin
การรักษาภาวะกรดเกินในเลือด
ขึ้นกับชนิดและสาเหตุของภาวะกรดเกิน
ภาวะกรดเกินจากการเผาผลาญหรือจากหลอดเลือดฝอยที่ไต(Metabolic or renal tubular acidosis)
ไบคาร์บอเนต ซึ่งมีภาวะเป็นด่าง(ตรงข้ามกับกรด) ช่วยปรับสมดุลกรดด่างในเลือด มีผลการศึกษาจำนวนเล็กน้อยพบว่ายาเม็ดโซเดียมไบคาร์บอเนทหรือโซเดียมซิเตรท อาจช่วยประคองไม่ให้โรคไตเลวลง แต่การจะตัดสินใจใช้การรักษาชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
ภาวะกรดเกินจากระบบหายใจ (Respiratory acidosis)
การรักษา ขึ้นกับสาเหตุของการเกิดกรดเกิน แต่ก็เน้นเรื่องการทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น อาจให้ยาขยายหลอดลมเพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น และช่วยลดภาระให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ
ภาวะกรดเกินจากอาหาร (Diet-induced acidosis)
อาหารที่มีโปรตีนจากพืชช่วยป้องกันการเพิ่มของกรดในร่างกาย
การรับประทานผักและผลไม้ให้มากทุกวัน ช่วยเพิ่มความเป็นด่างในเลือด
สรุปภาวะกรดเกินในเลือด
ภาวะกรดเกินคือการมีระดับกรดในเลือดมาก ทำให้สมดุล กรดด่างในร่างกายเสียไป หากไตและปอดไม่สามารถกำจัดกรดส่วนเกินออกจากร่างกายได้ จะเกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
หากโรคหรือภาวะสุขภาพก่อให้เกิดกรดเกิน ต้องมีการรักษาเพื่อลดภาวะกรดเกิน หากผู้ป่วยได้รับยาที่ทำให้มีกรดในร่างกาย ควรต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อทราบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
อาหารที่มีเกลือมาก น้ำอัดลม และโปรตีนจากสัตว์ ก่อให้เกิดกรดเกิน ควรรับประทานให้พอเหมาะและรับประทานผักและผลไม้เพิ่ม
หากมีอาการของกรดเกิน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา หากมีอาการรุนแรงเช่น หายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ทันที
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก