โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) : สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) : สาเหตุ อาการ การรักษา

21.01
946
0

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการให้ความหมายในวงกว้างถึงสองเงื่อนไขในการเกิดภาวะปอดอุดกั้น

ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค ผู้ป่วยจะมีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังและถุงลมโป่งพอง หรืออาจจะทั้งสองอย่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก

นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากมีอาการจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร

ปอดอุดกั้นเรื้อรังคือ การให้ความหมายในวงกว้างสองเงื่อนไขในการเกิดภาวะปอดอุดกั้นนั่นคือภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมโป่งพอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง และความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ถุงลมโป่งพองจะทำลายถุงลมในปอด ซึ่งจะทำให้ปอดสูญเสียการขยายตัวและไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง คือ การอักเสบต่อทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้เกิดเมือกในทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบจะเป็นเรื้อรังได้ หากปราศจากการรักษา

อาการของโรคหืด อาจเป็นส่วนของของโรคปอดอุดกั้นซึ่งผู้มีประวัติเป็นโรคหืดจะมีความเสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคนี้ได้ โรคหืดทำให้เกิดการอับเสบของทางเดินหายใจ ซึ่งจะมีอาการกล้ามเนื้อกระตุกและปฏิกริยาตอบสนองที่รุงแรงกับสารที่สูดดมเข้าไป

โรคปอดอุดกั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต ซึ่งสร้างความเสียหายที่ไม่สามารถรักษาได้ต่อปอด ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันและหายใจลำบาก โดยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะรุงแรงอาจไม่สามารถขึ้นบันไดหรือทำอาหารได้ และอาจต้องใช้ยาหรือออกซิเจนเสริม

ในปีค.ศ. 2014 ปอดอุดกั้นเรื้อรังเห็นสาเหตุหลักอันดับสาม ของการตายในสหรัฐ ฯ

อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจมีเพียงบางอาการหรือมีอาการทั้งหมด ดังนี้

  • หายใจไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากออกแรง

  • มีอาการไอเรื้อรัง

  • ร่างกายผลิตเสมหะจำนวนมาก

  • มีอาการเหนื่อยล้า

  • หายใจเสียงดัง

  • หายใจลำบากและอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการในภาวะรุนแรงจะมีอาการ

สำหรับผู้ที่มีอาการในภาวะรุนแรงควรเข้ารับการรักษาโดยทันที หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรค และกว่าร้อยละ 6.4 ของประชากรในสหรัฐ ฯ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค แต่ในความเป็นจริงอาจมีผู้ป่วยที่เป็นปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่านี้

Chronic Obstructive Pulmonary Disease

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังกว่าร้อยละ 75 พบว่าสูบหรือเคยสูบบุหรี่ และสาเหตุนอกเหนือจากการสูบบุหรี่มีดังนี้

  • ได้รับควันบุหรี่มือสอง

  • ได้รับมลพิษทางอากาศ ทั้งจากที่บ้านหรือในที่ทำงาน

  • โรคหืด

  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมาก่อน

หากโรคเกิดในผู้ที่มีอายุไม่ถึง 40 ปี มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ขาดสารอัลฟาวัน แอนติทริปซิน (alpha-1 antitrypsin)

ผู้ที่เป็นโรคหืดก็จะมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากเกิดการอักเสบและการบีบตัวของทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตามการรักษา สามารถลดความเสียหายที่เกิดจากโรคหืดได้

การวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

มีหลายเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของอาการไอและปัญหาด้านการหายใจ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นอาการเหล่านี้จะคงอยู่และจะทรุดลงเรื่อย ๆ สำหรับแพทย์แล้วเพื่อที่จะวินิจฉัยโรคมีดังนี้

  • พิจารณาถึงพฤติกรรมของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการแพทย์ของครอบครัว

  • สอบถามถึงประวัติการสูบบุหรี่และการได้รับมลพิษอื่น ๆ

  • ตรวจร่างกาย เช่น ใช้หูฟังแพทย์ฟังการหายใจ

  • ตรวจสอบผลเพิ่มเติมดังนี้

    • ทดสอบการทำงานของปอด

    • วัดระดับออกซิเจนในเลือดแดง

    • ผลการสแกน เช่น X-Ray หรือ CT Scan

จากการทดสอบการทำงานของปอดสามารถวัดจำนวนและความเร็วของอากาศระหว่างการหายใจ โดยผู้ทดสอบจะต้องออกแรงเป่าลมไปยังท่อที่ต่อกับเครื่องมือที่เรียกว่าสไปโรมิเตอร์ ซึ่งแพทย์จะต้องแปลผล การทดสอบนี้สามารถแยกแยะเงื่อนไขอื่น ๆ ที่บ่งชี้ต่อการเกิดโรคได้

นอกจากนี้แพทย์อาจจะใช้แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอด เพื่อประเมินอาการและความเสี่ยงที่จะแย่ลง

การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ไม่มีทางรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นแต่มีการบำบัดหรือบรรเทาอาการเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ รวมถึงลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และชะลอการทรุดลงของโรคได้

การหยุดสูบบุหรี่

จะช่วยลดอาการของผู้ป่วยและชะลอการเกิดโรค รวมไปถึงการป้องกันการเกิดโรคด้วยเช่นกัน

หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ

  • หลีกเลี่ยงควันไฟ

  • ไม่อยู่ใกล้ผู้สูบบุหรี่

  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการกระจายของสีสเปรย์หรือยาฆ่าแมลง

  • หากอยู่บ้านควรปิดหน้าต่างเมื่อมีมลภาวะทางอากาศ

  • สวมแมสเพื่อป้องกันมลภาวะทางอากาศ

การรักษาด้วยยา

  • การให้ยาขยายหลอดลม (Bronchodilator)

  • การให้ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroid)

  • อาจให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อของแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เช่น หวัด และปอดบวม (Pneumonia)

การบำบัดด้วยออกซิเจนโดยให้ในระดับความเข้มข้นต่ำ

การผ่าตัด

ออกซิเจนบำบัด

หากปริมาณออกซิเจนในเลือดอยู่ในระดับต่ำ แพทย์อาจแนะนำการใส่อุปกรณ์ที่ช่วยให้การหายใจมีระดับออกซิเจนมากขึ้น เช่น การสวมหน้ากากออกซิเจนที่ครอบบริเวณจมูกและปากและมีสายเชื่อมต่อกับถังออกซิเจน ซึ่งผู้ป่วยสามารถมีไว้ใช้ที่บ้านได้

การรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งของผู้เป็นปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ได้แก่

  • การปลูกถ่ายปอดข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

  • การผ่าตัดเพื่อกำจัดเอาถุงลมที่เสียหายในปอดออก (Bullectomy)

  • การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายออก หรือเรียกว่าการผ่าตัดลดปริมาตรปอด

  • การผ่าตัดเปลี่ยนวาล์วของหลอดลมในส่วนที่เสียหายหรือถูกทำลาย

ซึ่งในการผ่าตัดจำเป็นต้องมีแพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

การดูแลร่างกายเพื่อควบคุมโรค

  • การฝึกหายใจ การฝึกหายใจจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนมีประสิทธิภาพ ทำให้กระบังลมขยาย มีเทคนิคมากมายในการฝึกการหายใจ เช่น เทคนิคการหายใจพร้อมจังหวะการลงเท้า (Belly breathing)

  • การฟื้นฟูสภาพปอด

การฟื้นฟูสภาพของปอดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลสามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำแผนการฟื้นฟูสภาพปอด ดังนี้

  • เพิ่มขีดความสามารถต่อความทนในการออกกำลังกาย

  • ฝึกการหายใจ

  • ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร

  • ทำความรู้จักกับปอดให้มากขึ้น

  • เรียนรู้การใช้ยาและผลข้างเคียงจากยา

  • ศึกษาวิธีการที่ให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยที่สุดเพื่อลดการหายใจ หรือเลี่ยงโอกาสที่จะทำให้เกิดการหายใจถี่มากขึ้น

  • หายเกิดภาวะเครียดหรือกดดัน การพบแพทย์จะสามารถช่วยจัดการได้ดีขึ้น

ภาวะแทรกซ้อน

  • อัตราการป่วยขึ้นอยู่กับการหายใจที่สั้นลง

  • สุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า

  • ภาวะสุขภาพโดยรวมแย่ลง

  • โรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน หรือโรคหืด

  • เกิดภาวะวิตกกังวล และหลงลืม ความจำแย่ลง

  • การทำงานลดลง ส่งผลต่อรายได้ที่ตามมา

  • แยกตัวจากสังคม

การเข้ารับคำปรึกษาโดยทีมสุขภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถก้าวผ่านและจัดการกับปัญหาที่ตามมาของโรคได้ดีขึ้น

แนวโน้ม

โรคปอดอุดกั้นเป็นภาวะคุมคามชีวิต และความคาดหวังในการดำรงชีวิตของผู้ป่วย ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณความสามารถของปอดที่ถูกทำลาย หรือการสัมผัสควันบุหรี่

ผู้คนที่สูบบุหรี่และเป็นปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะรุนแรง อาจจะมีชีวิตต่อไปอีกประมาณ 6ปี และลดลงเหลือเพียง 4ปี หากยังสูบบุหรี่

โรคปอดอุดกั้นเป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้วรักษาไม่หาย คนที่สามารถลดการสูบบุหรี่ได้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ด้วย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *