ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal) : อาการ สาเหตุ การรักษา

22.05
2072
0

ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawl) คือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น เมื่อผู้มีอาการหยุดดื่มแอลกอฮอล์อย่างกะทันหัน จนเกิดความผิดปกติของร่างกาย

ความผิดปกติของการดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง เรียกว่าการติดสุรา หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง เมื่อร่างกายของคน ๆ หนึ่งดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ต่อเนื่องนานเกินไป ร่างกายของพวกเขาจะเกิดความสัมพันธ์กับแอลกอฮอล์ได้

แอลกอฮอล์เป็นสารกดประสาท ความผิดปกติของร่างกายจะเกิดเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน หรือดื่มอย่างหนักมาก โดยจะเกิดการเปลี่ยนของสารเคมีในสมองของผู้ดื่มคนนั้น ๆ เนื่องจากการสัมผัสกับสารเคมีในแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนในสมอง รวมถึงสารสื่อประสาทโดปามีน และกรดแกมมาอะมิโนบิวทิริก (GABA) ซึ่งส่งผลต่อความตื่นเต้น และตื่นตัว

การผลิตสารสื่อประสาทนี้จะได้รับผลกระทบเมื่อนักดื่มหยุด หรือลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงทันที สมองต้องปรับตัวใหม่เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะถอนตัวได้

สาเหตุของอาการของภาวะถอนพิษสุรา

ความแตกต่างระหว่างอาการของภาวะถอนพิษสุรากับอาการเมาค้าง

แม้ว่าอาการของภาวะถอนพิษสุราจะคล้ายกับอาการเมาค้างบางประการ แต่ก็ถือว่าไม่ใช่อาการเดียวกัน เนื่องจากอาการของภาวะถอนพิษสุราและอาการเมาค้างมีสาเหตุที่แตกต่างกัน

อาการเมาค้างเกิดขึ้นเมื่อนักดื่มดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปในครั้งเดียว ส่วนอาการของภาวะถอนพิษสุราเกิดเมื่อนักดื่มหยุดหรือลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงอย่างกะทันหัน

อาการเมาค้างเนื่องจากแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์หมดฤทธิ์ผลข้างเคียงเหล่านี้จะนำไปสู่อาการเมาค้าง อาการที่พบบ่อย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย

ส่วนภาวะถอนพิษสุรา ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการใช้แอลกอฮอล์ เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยคุ้นเคยกับแอลกอฮอล์ระดับหนึ่งที่อยู่ในระบบร่างกายของผู้ป่วย

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนกลาง และการผลิตสารสื่อประสาทในสมอง เมื่อหยุดหรือลดปริมาณแอลกอฮอล์กะทันหันจึงเกิดภาวะถอนพิษสุราได้

อาการของภาวะถอนพิษสุรา

ผู้ที่มีอาการถอนพิษสุราอาจมีอาการได้หลากหลาย ขึ้นกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม รูปแบบของร่างกาย เพศ อายุ และสุขภาพร่างกายต่าง ๆ

อาการทั่วไปของอาการถอนพิษสุรา ได้แก่ :

ไม่บ่อยนักที่ผู้คนจะมีอาการรุนแรงของกลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์ อาการรุนแรงเรียกว่า อาการกระสับกระส่ายอย่างรุนแรงเนื่องจากพิษสุราเรื้อรังหรือ DTs

อาการของ DTs ได้แก่ :

  • ตัวสั่นอย่างรุนแรง
  • ความดันโลหิตสูง
  • เห็นภาพหลอน
  • สับสนมาก
  • อาการชัก
  • อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น

DTs อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ในกรณีอาการเกิดที่สมองอย่างรุนแรง อาจเกิดปัญหาการควบคุมการหายใจ และการไหลเวียนโลหิต

ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจวายได้

เมื่อใดที่ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์

ผู้ที่คิดว่าตนเองอยู่ได้โดยต้องอาศัยแอลกอฮอล์ คนผู้นั้นควรไปพบแพทย์

ความผิดปกติจากการใช้แอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้

สำหรับผู้ที่พยายามกำจัดแอลกอฮอล์ออกไปจากร่างกาย จำเป็นต้องกระทำภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ มิฉะนั้นอาจมีอาการของภาวะถอนพิษสุราที่รุนแรงได้

Alcohol Withdrawal

การวินิจฉัยอาการของภาวะถอนพิษสุรา

แพทย์มักวินิจฉัยกภาวะถอนพิษสุราโดยการซักประวัติการรักษาของผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกาย

แพทย์อาจขอหลักฐานการดื่มแอลกอฮอล์ที่ลดลง เมื่อผู้ป่วยเคยดื่มหนักเป็นประจำมาก่อน

นอกจากนี้แพทย์จะขอตรวจเลือดที่เรียกว่าการทดสอบความเป็นพิษเพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายของผู้ป่วย การตรวจเลือดและการทดสอบด้วยภาพจะทำให้ทราบว่าอวัยวะใดบางที่ได้รับผลกระทบ เช่น ตับ ได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่

การรักษาอาการของภาวะถอนพิษสุรา

ทางเลือกในการรักษาอาการภาวะถอนพิษสุราคือการดูแลแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการ

แพทย์มักใช้ยาที่เรียกว่าเบนโซไดอะซีปีน ในการลดอาการของภาวะถอนพิษสุรา

การใช้แอลกอฮอล์อย่างหนักจะทำให้เกลือแร่ และวิตามินที่สำคัญหมดไปจากร่างกายได้ เช่น โฟเลต แมกนีเซียม และไทอามีน แนวทางการรักษาจึงต้องรวมถึงการแก้ไขปริมาณเกลือแร่ และมัลติวิตามินต่าง ๆ

เป้าหมายในการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากปริมาณแอลกอฮอล์ คือ:

  • ควบคุมให้การเลิกสุราดำเนินไปอย่างปลอดภัย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลิกสุราได้สำเร็จ
  • รักษาความภาคภูมิใจของผู้ป่วยในระหว่างที่พยายามเลิกสุรา และปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีมนุษยธรรม
  • เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการรักษาอาการติดสุราที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการล้างพิษสุรา

เมื่อนักดื่มกำลังล้างพิษจากแอลกอฮอล์ อาจเกิดอาการได้ตั้งแต่ 6 ชั่วโมง ถึง ไม่กี่วัน หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ครั้งสุดท้าย

อาการอาจค่อย ๆ แย่ลงในช่วง 2 หรือ 3 วันแรก

อาการส่วนมากจะลดลงเมื่อผ่านไปประมาณ 5 วัน หลังจากเลิกสุรา บางกรณีอาการอาจไม่รุนแรงแต่เกิดขึ้นได้นานหลายสัปดาห์ แม้ว่านักดื่มบางคนเลือกที่จะล้างพิษสุราด้วยตนเองที่บ้าน แต่การขอความช่วยเหลือจากแพทย์จะช่วยให้การล้างขึ้นดำเนินไปอย่างปลอดภัย

อาการอาจรุนแรง และคาดเดาได้ยากว่าผู้ป่วยรายใดจะเกิดอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากภาวะถอนพิษสุรา เช่น เห็นภาพหลอน หรืออาเจียนเป็นเวลานานควรเข้ารับการรักษาทันที

ผู้ที่มีอาการรุนแรงควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อทำล้างสารพิษบางส่วน หรือให้หมดไปจากร่างกาย โดยแพทย์จะติดตามความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ยาช่วยเสริมกระบวนการล้างพิษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การป้องกันภาวะถอนพิษสุรา

วิธีที่ได้ผลที่สุดในการป้องกันภาวะถอนพิษสุราคือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น

การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางคือการดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้ว หรือน้อยกว่าในแต่ละวัน ในกรณีของนักดื่มหญิงและ 2 แก้ว หรือน้อยกว่าในแต่ละวัน ในกรณีของนักดื่มชาย อย่างไรก็ตามพบว่าหากนักดื่มมีความผิดปกติในการดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว สามารถช่วยป้องกันอาการภาวะถอนพิษสุราได้โดยปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการถอนพิษสุราอย่างปลอดภัย

ปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ประวัติครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ภาวะซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ และปัจจัยทางพันธุกรรม

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองเกิดความผิดปกติจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรืออยู่ได้โดยต้องพึ่งพาแอลกอฮอล์ให้รีบขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *