แอนาฟิแล็กซิส Anaphylaxis คือ
แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) เป็นอาการแพ้อย่างรุนแรงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที หากคุณมีปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กติก (Anaphylactic shock) คุณต้องฉีดอะดรีนาลีนโดยเร็วที่สุด จำเป็นขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือสามารถโทร 1669 เพราะหากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจถึงตายได้
อะดรีนาลีนสามารถยับยั้งอาการได้ภายในไม่กี่นาที แต่หากยังไม่หายไป แพทย์จะทำการให้อะดรีนาลีนอีกครั้งในเวลาถัดมา
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Anaphylactic shock คือ
Anaphylactic shock คือ อาการจากแอนาฟิแล็กซิส โดยหาได้ยาก และคนส่วนใหญ่หายจากโรคนี้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับการแพ้ยาใดๆ ที่คุณมีก่อนการรักษาพยาบาลใดๆ รวมถึงการดูแลทันตกรรม เป็นความคิดที่ดีที่จะสวมสร้อยข้อมือหรือจี้แจ้งเตือนทางการแพทย์หรือพกการ์ดที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ของคุณ หากคุณเคยมีปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กติกมาก่อน คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นอีก รวมทั้งหากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้หรือเป็นโรคหอบหืด
อาการ Anaphylactic
สัญญาณแรกของปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กติกอาจดูเหมือนอาการภูมิแพ้ทั่วไป คือ น้ำมูกไหลหรือผื่นที่ผิวหนัง แต่ภายในเวลาประมาณ 30 นาที สัญญาณที่ร้ายแรงกว่านั้นจะตามมา ได้แก่
- อาการไอ
- หายใจดังเสียงฮืด ๆ
- เจ็บหน้าอก
- เป็นลม
- วิงเวียนศีรษะ
- อ่อนแรง
- ลมพิษ
- ผื่น และคัน บวม หรือแดง
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูกและจาม
- หายใจลำบาก
- หัวใจเต้นเร็ว
- ปากหรือลิ้นบวม หรือคัน
- เสียงแหบ
- กลืนลำบาก
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ชีพจรอ่อน
รวมทั้งสามารถช็อก และหมดสติได้ มีโอกาสมากถึง 1 ใน 5 คนอาจมีปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กติกครั้งที่ 2 ภายใน 12 ชั่วโมงนับจากครั้งแรก สิ่งนี้เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิสแบบไบเฟสิก
สาเหตุของแอนาฟิแล็กซิส
แอนาฟิแล็กซิสจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีแอนติบอดี้ ซึ่งมักจะต่อสู้กับการติดเชื้อ แต่ทำปฏิกิริยากับสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายอย่างอาหารมากเกินไป อาจไม่เกิดขึ้นในครั้งแรกที่คุณสัมผัสกับสารก่ออาการ แต่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป ในเด็กสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ อาหาร สำหรับผู้ใหญ่สาเหตุหลักมาจากการใช้ยา อาหารที่พบว่าทำให้อาการเกิดในเด็ก ได้แก่
- ถั่ว
- หอย
- ปลา
- น้ำนม
- ไข่
- ถั่วเหลือง
- ข้าวสาลี
สำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่
- หอย
- ถั่ววอลนัท
- เฮเซลนัท
- เม็ดมะม่วงหิมพานต์
- พิสตาชิโอ
- ไพน์นัท
- อัลมอนด์
บางคนมีความอ่อนไหวมากจนแม้แต่กลิ่นของอาหารก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ บางคนอาจแพ้สารกันบูดบางชนิดในอาหาร
ยาที่มักกระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่
- เพนิซิลลิน
- ยาคลายกล้ามเนื้อแบบยาสลบ
- แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และ NSAIDs อื่น ๆ
- ยากันชัก
สภาพแวดล้อมที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่
- ละอองเรณู
- ผึ้ง ตัวต่อ แตน และมดไฟกัดต่อย
- น้ำยางที่พบในถุงมือโรงพยาบาล ลูกโป่ง และหนังยาง
การรักษา Anaphylaxis
อะดรีนาลีนเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับภาวะ Anaphylaxis และควรฉีดยาทันที และหากคุณเคยมีปฏิกิริยาภูมิแพ้มาก่อน คุณควรพกอะดรีนาลีนอย่างน้อยสองโดสติดตัวตลอดเวลา
อะดรีนาลีนจะหมดอายุหลังจากผ่านไปประมาณ 1 ปี ดังนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่ายายังไม่หมดอายุ แต่หากเกิดกรณีฉุกเฉินก็ควรใช้
หลังจากนั้นควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์จะให้อะดรีนาลีนเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถหายใจได้จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และหากไม่หายดีทำการผ่าตัดเจาะคอซึ่งจะใส่ท่อเข้าไปในหลอดลมโดยตรง แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากมีอาการ หรือสงสัยว่าเข้าข่ายให้รีบไปพบแพทย์โดยฉุกเฉิน
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก