จมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

จมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

07.03
3925
0

การสูญเสียกลิ่นโดยสิ้นเชิงคืออาการที่เรียกว่าจมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia) การที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้กลิ่นใด ๆ ได้ อาจทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายโดยไม่รู้ตัวได้ ตัวอย่างเช่นการไม่ได้กลิ่นจะทำให้ไม่ได้กลิ่นแก๊สรั่ว ควันไฟ หรืออาหารบูดเน่าได้

ส่วนมากโรคจมูกไม่ได้กลิ่น เป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจเกิดจากอาการคัดจมูกอย่างรุนแรงเมื่อเป็นหวัด เมื่ออาการหวัดหายไปการรับรู้กลิ่นก็จะกลับมา

แต่บางกรณีโดยเฉพาะที่พบในผู้สูงอายุ โรคจมูกไม่ได้กลิ่นได้นานกว่านั้น และอาการจมูกไม่ได้กลิ่นยังเป็นสัญญาณถึงโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากเกิดอาการควรรียไปพบแพทย์

Anosmia

สาเหตุของโรคจมูกไม่ได้กลิ่น

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคจมูกไม่ได้กลิ่น คืออาการคัดจมูกจากการเป็นหวัด ภูมิแพ้ ติดเชื้อไซนัสอักเสบ หรือคุณภาพอากาศที่ไม่ดี ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ของโรคจมูกไม่ได้กลิ่น ได้แก่ :

โรคริดสีดวงจมูก : การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่มะเร็ง ภายในจมูกและส่วนไซนัส ซึ่งจะปิดกั้นทางเดินของกลิ่นในจมูก

อาการการบาดเจ็บที่จมูกและเส้นประสาทรับกลิ่น อาจเกิดจากการผ่าตัด หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

การได้รับสารเคมีที่เป็นพิษ อย่างยาฆ่าแมลง หรือสารละลายชนิดต่าง ๆ

  • การใช้ยาบางชนิด ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาต้านการอักเสบ ยารักษาโรคหัวใจ และอื่น ๆ

  • การเสพโคเคน

  • ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักมีการเสื่อมสภาพของอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่นเดียวกับการมองเห็นและการได้ยิน การรับกลิ่นของผู้สูงอายุก็สามารถเสื่อมและถดถอยลงตามอายุได้ การรับรู้กลิ่นที่ดีของมนุษย์คือในช่วงวัย 30 ถึง 60 ปี หลังจากอายุ 60 ปีจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ

  • อาการของโรคบางชนิด เช่นโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Muliple Sclerosis) ภาวะขาดสารอาหาร ความบกพร่องที่มาแต่กำเนิด และระดับที่แปรปรวนของฮอร์โมน

  • การเข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสี เพื่อรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ

อาการของโรคจมูกไม่ได้กลิ่น

สัญญาณที่ชัดเจนของโรคจมูกไม่ได้กลิ่นคือการสูญเสียความรับรู้กลิ่นต่าง ๆ บางคนเมื่อเกิดอาการของโรคจมูกไม่ได้กลิ่นจะรู้สึกว่ากลิ่นต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ของบางอย่างอาจมีกลิ่นหายไป

การวินิจฉัยโรคจมูกไม่ได้กลิ่น

การไม่ได้กลิ่นโดยไม่ใช่อาการที่เกิดจากเป็นหวัด หรือภูมิแพ้หรือเมื่อพบอาการแล้วยาวนานต่อเนื่องกว่า 1 หรือ 2 สัปดาห์ให้รีบไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจสอบภายในจมูกของผูป่วยด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อหาติ่งเนื้อ หรือเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตอย่างผิดปกติซึ่งความสามารถทำให้การรับกลิ่นของผู้ป่วยลดลง หรือมีอาการติดเชื้อใด ๆ หรือไม่

แพทย์อาจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทาง อย่างแพทย์โรคหูคอจมูก (ENT) เพื่อหาสาเหตุของโรคจมูกไม่ได้กลิ่น อาจมีการทำ CT scan เพื่อให้ตรวจสอบที่มาของโรคได้ชัดเจนขึ้น

การรักษาโรคจมูกไม่ได้กลิ่น

กรณีที่โรคจมูกไม่ได้กลิ่นเกิดจากอาการคัดจมูกจากหวัด หรือภูมิแพ้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะอาการดีขึ้นได้เอง การใช้ยาลดน้ำมูกก็สามารถเปิดช่องจมูกให้ผู้ป่วยหายใจได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็หากอาการคัดจมูกแย่ลง หรือไม่หายภายใน 2 – 3 วัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ หรืออาการปวดอื่น ๆ  แทรกซ้อนต้องรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

กรณีเกิดติ่งเนื้อ หรือเนื้อเยื่อเข้ามาขัดขวางการได้กลิ่น ก็อาจต้องผ่าตัดเพื่อทำการรักษา

กรณีสงสัยว่ายาชนิดใดมีผลต่อการรับกลิ่นของผู้ป่วย ให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์ และอาจพิจารณาว่ามีแนวทางการรักษาอื่น ๆ ที่ไม่กระทบต่อความสามารถในการรับกลิ่นหรือไม่ ห้ามหยุดรับประทานยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

บางกรณีโรคจมูกไม่ได้กลิ่นก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะเมื่ออายุกลายเป็นปัจจัยของการเกิดอาการ  แต่หากปรับรูปแบบการใช้ชีวิตก็สามารถทำให้การใช้ชีวิตโดยไม่ได้รับกลิ่นมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นได้ เช่น การนำเครื่องตรวจจับควัน หรือและสัญญาณเตือนกรณีเกิดไฟไหมมาใช้งาน กรณีสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารก็ไม่ควรรับประทาน

การสูบบุหรี่ก็เป็นสาเหตุให้ประสาทสัมผัสเสียหายได้ จึงควรเลิกสูบบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนของโรคจมูกไม่ได้กลิ่น

ผลข้างเคียงจากโรคจมูกไม่ได้กลิ่นคือทำให้ความอยากอาหารลดลง หากเป็นเรื้อรังก็จะส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวลด หรือมีรู้สึกซึมเศร้าได้ ในกรณีที่เกิดอาการในผู้สูงวัยที่เสี่ยงที่จะเกิดโรคจมูกไม่ได้กลิ่นอย่างถาวรเพราะระบบประสาทเสื่อมได้ ทำให้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

สรุปภาพรวมโรคจมูกไม่ได้กลิ่น

การรับกลิ่นของมนุษย์เกิดจากกระบวนการรับโมเลกุลของสารที่ให้กลิ่น (เช่นกลิ่นหอมจากดอกไม้) ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทชนิดพิเศษ (เรียกว่าเซลล์รับกลิ่น) ที่อยู่ภายในจมูกเป็นจำนวนมาก เซลล์ประสาทเหล่านี้จะส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อระบุชนิดของกลิ่นต่าง ๆ หากมีสิ่งใดไปขัดขวางกระบวนการเหล่านี้ อย่างอาการคัดจมูก อาการอุดตันของจมูก หรือความเสียหายของเซลล์ประสาทก็อาจทำให้สูญเสียความสามารถในการรับกลิ่นได้

ความสามารถในการรับกลิ่นยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรับรส ผู้ป่วยจะรับรสชาติได้น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *