อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

08.06
82607
0

เกี่ยวกับ Azithromycin

Azithromycin คือ ยาปฏิชีวนะที่ใช้กันในวงกว้าง เพื่อรักษาการติดเชื้อบริเวณอก เช่น โรคปอดอักเสบ การติดเชื้อที่จมูกและคอ เช่น ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อที่ผิวหนังเช่น โรคไลม์ และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด

ยาอะซิโธรมัยซินที่นำมาใช้ในเด็ก มักถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคติดเชื้อในช่องหูหรือโรคติดเชื้อที่ทรวงอก

เป็นยาที่สามารถใช้ได้ในระยะยาวเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ทรวงอก

ยาอะซิโธรมัยซินเป็นยาตามแพทบ์สั่งที่มักมาในรูปแบบของแคปซูล ยาเม็ดและยาน้ำเพื่อดื่ม อีกทั้งยังสามารถให้ผ่านการฉีด แต่มักต้องทำภายในโรงพยาบาลเท่านั้น

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาอะซิโธรมัยซิน

  • อะซิโธรมัยซินมักรับประทานวันละหนึ่งครั้ง ควรทานในเวลาเดียวกันทุกวัน
  • หากแพทย์สั่งยาเป็นชนิดแคปซูล คุณควรทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง หากทานแบบชนิดเม็ดหรือยาน้ำ สามารถทานพร้อมหรือไม่พร้อมอาหารได้
  • สำหรับการติดเชื้อส่วนใหญ่อาการควรจะดีขึ้นภายในสองสามวัน แต่ก็ควรทานอย่างต่อเนื่องจนหมด
  • อาการผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่มักเกิดขึ้นจากการใช้ยาอะซิโธรมัยซินคือความรู้สึกคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะหรือการรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป
  • ยาอะซิโธรมัยซินมักเรียกกันในชื่อการค้าว่า ยาแก้อักเสบ Zithromax ซิโทรแม๊กซ์ 

ใครสามารถทานหรือไม่สามารถทานอะซิโธรมัยซินได้บ้าง

ยาอะซิโธรมัยซินสามารถรับประทานได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

แต่ไม่เหมาะสำหรับในบางคน เพื่อความแน่ใจว่ายาดังกล่าวมีความปลอดภัยสำหรับคุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณe:

  • เคยแพ้ยาอะซิโธรมัยซินหรือยาอื่นๆมาก่อน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต
  • มีปัญหาโรคหัวใจ ซึ่งรวมไปถึงการเต้นของหัวใจไม่ปกติ  (หัวใจเต้นผิดจังหวะ)
  • เคยมีอาการท้องเสียเมื่อทานยาปฏิชีวนะมาก่อน
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง -อะซิโธรมัยซินอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอาการที่แย่ลง 
  • โรคเบาหวาน – อะซิโธรมัยซินชนิดน้ำมีส่วนผสมของน้ำตาล

รับประทานอย่างไร และเมื่อไร

อะซิโธรมัยซินมักรับประทานวันละครั้ง เว้นเสียแต่เป็นการฉีด ควรรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน

ปริมาณยาที่ใช้ตามปกติคือ 500 มก ต่อวันเป็นเวลา 3-10 วัน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่เริ่มต้นการรักษา

สำหรับชนิดฉีด คุณอาจได้รับปริมาณยาสูงสุดคือ 1 กรัมหรือ 2 กรัม

ปริมาณยาอาจต่ำลงสำหรับใช้ในเด็ก หรือหากไตหรือตับมีปัญหา

อะซิโธรมัยซินบางครั้งอาจถูกสั่งใช้เป็นระยะเวลานานเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ทรวงอก ในกรณีเช่นนี้มักรับประทาน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มักเป็นวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์

สิ่งสำคัญ

รับประทานให้ครบตามจำนวนที่กำหนด แม้คุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม หากคุณหยุดการรักษาก่อนการติดเชื้ออาจกลับมาเป็นอีกครั้ง

รับประทานอย่างไร

หากแพทย์สั่งจ่ายยาอะซิโทรมัยซินเป็นแบบชนิดแคปซูล คุณควรทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง

หากเป็นชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ คุณสามารถรับประทานพร้อมหรือไม่พร้อมกับอาหารก็ได้

กลืนยาชนิดเม็ดและแคปซูลพร้อมกับน้ำ

อะซิโธรมัยซินชนิดน้ำเหมาะสำหรับเด็กและคนที่มีปัญหาการทานชนิดเม็ด

หากคุณหรือลูกของคุณต้องทานชนิดน้ำ ยามักทานด้วยหลอดฉีดยาหรือช้อนเพื่อวัดปริมาณให้ถูกต้อง หากไม่มีอุปกรณ์ให้ขอเภสัชกร ไม่ควรใช้ช้อนในครัวเพราะไม่ใช่ปริมาณที่ถูกต้อง

ยาชนิดน้ำจะมีรสขมเล็กน้อย ทางที่ดีอาจให้เด็กทานดื่มน้ำผลไม้หลังจากการทานยา

หากลืมกินยาจะต้องทำอย่างไร 

หากคุณลืมกินยาให้รีบกินทันทีที่นึกขึ้นได้ เว้นเสียแต่ว่าใกล้ถึงเวลาของยามื้อถัดไป ในกรณีเช่นนี้ให้ทิ้งมื้อที่ลืมไปได้เลยและไปเริ่มรับประทานยาในมื้อถัดไปได้ตามปกติ

ไม่ควรทานยาเพิ่มเป็นสองเท่าในเวลาเดียวกัน ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นพิเศษเพื่อชดเชยมื้อที่ลืมไป

หากคุณมักชอบลืมทานยาบ่อยๆ การตั้งเวลาเตือนอาจช่วยได้ ลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีในการจำ

ถ้ารับประทานมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น 

การรับประทานยาอะซิโธรมัยซินมากกว่าที่กำหนดไว้โดยไม่ได้ตั้งใจจะไม่เกิดอันตราย แต่อย่างไรก็ตามการทานยาเกินขนาดก็อาจเป็นการเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง เช่นคลื่นไส้หรือท้องเสีย

Azithromycin

ผลข้างเคียง

เหมือนกับยาทั่วไป อะซิโธรมัยซินก็สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน

ผลข้างเคียงทั่วๆไป

ผลข้างเคียงของอะซิโธรมัยซินเกิดขึ้นมากกว่า 1 ใน 100 คน เก็บยาไว้แล้วไปปรึกษาแพทย์หากอาการของผลข้างเคียงรบกวนคุณหรือไม่ยอมหาย

  •  คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสียหรือเริ่มป่วย  
  • ความอยากอาหารลดลง
  • ปวดศีรษะ
  • รู้สึกมึนงงหรือเหนื่อนล้า
  • การรับรู้รสชาติมีการเปลี่ยนแปลง

ผลข้างเคียงรุนแรง

ผลข้างเคียงรุนแรงที่พบได้น้อยมากและเกิดขึ้นได้เพียง 1 ใน 1,000 คน พบแพทย์ทันทีเมื่อ:

  • เจ็บหน้าอกหรือหัวใจเต้นผิดปกติหรือเร็วขึ้น
  • ผิวหรือตาที่เป็นสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือถ่ายอุจจาระสีซดพร้อมกับปัสสาวะสีเข้ม สิ่งนี้อาจเป็นสัญญานของตับหรือกระเพาะปัสสาวะมีปัญหา
  • มีเสียงกริ๊งในหู (โรคมีเสียงในหู) สูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือรู้สึกยืนโคลงเคลง (อาการบ้านหมุน) 
  • ปวดท้องหรือหลังอย่างรุนแรง -อาจเป็นสัญญานเตือนว่าตับอ่อนมีการอักเสบ (ตับอ่อนอักเสบ)
  • ท้องเสีย (อาจเกิดร่วมกับอาการปวดท้องเกร็ง) พร้อมมีมูกหรือเลือด -หากมีอาการท้องเสียรุนแรงโดยปราศจากเลือดหรือมูกเป้นเวลานานเกิน 4 วันควรปรึกษาแพทย์

การเกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง

พบได้ไม่บ่อยในการเกอดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงต่ออะซิโธรมัยซิน

  • มีผื่นขึ้นอาจคัน แดง บวม เป็นตุ่มพองหรือผิวลอก
  • หายใจมีเสียงวี๊ด
  • แน่นหน้าอกหรือลำคอ
  • อาจมีปัญหาในการหายใจหรือพูดคุย
  • บริเวณปาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอเริ่มบวม

วิธีจัดการกับผลข้างเคียง

สิ่งที่ต้องทำคือ:

  • เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ – ทานอาหารอ่อนๆและไม่ทานมากเกินไปหรือมีรสจัดในขณะรับประทานยาชนิดนี้
  • ท้องเสียหรือเริ่มคลื่นไส้ – ดิ่มน้ำเยอะๆหรือน้ำผลไม้คั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ จิบน้ำบ่อยๆทละน้อยหากกำลังเริ่มคลื่นไส้ สีญญานของภาวะขาดน้ำคือการปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือปัสสาวะมีกลิ่นรุนแรง ไม่ควรทานยาทุกชนิดเพื่อรักษาอาการท้องเสียและคลื่นไส้โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ไม่อยากอาหาร – รับประทานเมื่อคุณรู้สึกหิวจริงๆ สิ่งที่อาจช่วยได้คือแบ่งทานเป็นมื้อเล็กๆและบ่อยกว่าปกติ ทานอาหารว่างเมื่อหิว ด้วยอาหารว่างสารอาหารที่มีแคลลอรี่และโปรตีนสูง เช่นผลไม้แห้งและถั่ว
  • ปวดศีรษะ – พักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอยาแก้ปวดหากจำเป็น ปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดศีรษะนานเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์หรือมีอาการปวดรุนแรง
  • รู้สึกมึนงงหรือเหนื่อยล้า – หากคุณรู้สึกเวียนมึนศีรษะเมื่อลุกขึ้นยืน ให้ลองค่อยๆลุกอย่างช้าๆหรือนั่งอยู่กับที่จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น หากคุณเริ่มมึนศีรษะให้นอนลงเพื่อไม่ให้หน้ามืด จากนั้นให้นั่งจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น ไม่ควรขับรถหรือใช้อุปกรณ์เครื่องกลหากคุณรู้สึกเวียนศีรษะหรือเหนื่อยล้า ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หากพบว่าอาจทำให้อาหารแย่ลง
  • การรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป – ปรึกษาแพทย์หากสิ่งนี้สร้างความรำคาญให้แก่คุณ

หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่กำลังให้นมบุตร

อะซิโธรมัยซินปกติมักไม่แนะนำให้ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร แต่แพทย์ก็อาจสั่งจ่ายยานี้หากพบว่าการรับประทานยาอะซิโธรมัยซินส่งผลมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง

ข้อควรระวังกับยาอื่นๆ

มียาบางชนิดที่ไม่ควรใช้ร่วมกับอะซิโธรมัยซิน

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณรับประทานยาดังต่อไปนี้ก่อนเริ่มต้นใช้ยาอะซิโธรมัยซิน:

  • ยาลดกรดสำหรับอาหารไม่ย่อย
  • ยาเออโกทามีนหรือยาไดไฮโดรเออร์โกตามีน -สำหรับไมเกรน
  • วอร์ฟาริน -เพื่อเจือจางเลือดหรือป้องกันเลือดแข็งตัว
  • ซิโคสปอรินหรือทาโครลิมัส – เป็นยาที่หยุดการเกิดปฏิกิริยารุนแรงเกินไปของระบบภูมิต้านทาน
  • ยาโคลชิซินสำหรับโรคเกาต์
  • ดิจ๊อกซินสำหรับหัวใจมีปัญหา
  • ไรฟาบูติน – ยาปฏิชีวนะ
  • เนลฟินาเวียร์ – ยาสำหรับโรคเอชไอวี
  • ยาสแตตินเพื่อลดคอเรสเตอรอล – เช่น ซิมวาสแตตินและอะทอร์วาสแตติน

คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยหากคุณกำลังทานยาทึกชนิดสำหรับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น อะมิโอดาโรนหรือโซทาลอล

ยาอะซิโธรมัยซินในบางครั้งอาจส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือไม่ควรทานยานี้ร่วมกับยาอื่นๆที่อาจส่งผลข้างเคียงแบบเดียวกัน

เพราะเหตุดังกล่าวนี้เอง จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังทานยาที่อาจส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจที่เป็นผลข้างเคียง

ซึ่งรวมไปถึง:

  • ยาต้านเศร้า – เช่นไซตาโลแพรม 
  • ยาต้านอาการทางจิต – ใช้เพื่อรักษาอาการทางจิตใจแบบรุนแรง
  • ยาแก้อาเจียนบางชนิด – เช่น ดอมเพอริโดน
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด – เช่น มอกซิฟลอกซาซิน

ตรวจสอบเอกสารกำกับยาที่มากับยาและปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์หากรู้สึกเป็นกังวล

การใช้อะซิโธรมัยซินร่วมกับสมุนไพรและอาหารเสริม

ยังไม่มีปัญหาที่ชัดเจนในการใช้ร่วมกับยารักษาสมุนไพรหรืออาหารเสริมที่เกิดขึ้นร่วมกับอะซิโธรมัยซิน


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *