ถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) คือการเกิดของก้อนนิ่วไปอุดที่ท่อเปิดของถุงน้ำดี ทำให้มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้และอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง
หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้ถุงน้ำดีทะลุ เนื้อเยื่อตายและเน่า พังผืด และถุงน้ำดีหด หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ
ก้อนนิ่วเป็นสาเหตุถึง 95% ของถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วอาจเกิดจากโคเลสเตอรอล บิลิรูบิน หรือทั้งสองอย่าง และอาจถูกกระตุ้นจากตะกอนน้ำดีที่ค้างอยู่ในท่อน้ำดี
สาเหตุอื่นเช่น การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือยาบางชนิด โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมะเร็งบางชนิด เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบได้
โรคนี้แบ่งเป็น ถุงน้ำดีอักเสบชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดกระทันหัน และชนิดเรื้อรัง ซึ่งจะค่อยๆมีอาการเพิ่มขึ้น ใช้เวลานาน
การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ
ผู้ป่วยที่ถุงน้ำดีอักเสบต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล และต้องงดอาหารและน้ำระยะหนึ่ง จะได้รับสารน้ำทางเส้นเลือดดำในขณะที่อดอาหาร และอาจจะได้รับยาแก้ปวด และยาปฎิชีวนะ
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันต้องรักษาโดยการผ่าตัดเอานิ่วออก เพราะหากทิ้งไว้ ก้อนนิ่วจะทำให้เกิดการอักเสบซ้ำอีกได้ การผ่าตัดนี้ทำแบบผู้ป่วยนอกได้(ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล)
หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่นมีเนื้อเน่าหรือถุงน้ำดีทะลุ ต้องผ่าตัดด่วนเพื่อตัดถุงน้ำดีทิ้ง หากมีการติดเชื้อ มักต้องใส่ท่อเพื่อระบายของเสียจากถุงน้ำดี ออกมานอกร่างกาย
การตัดถุงน้ำดีทิ้ง ทำโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง
การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง แพทย์จะกรีดใบมีดผ่านชั้นผิวหนังไปถึงช่องท้อง สอดกล้องเข้าไป เพื่อช่วยให้มองเห็นอวัยวะภายใน และสอดเครื่องมือผ่านแผลผ่าตัดอีกช่องหนึ่ง ตัดและดึงถุงน้ำดีออกมา
การผ่าตัดผ่านกล้องมีข้อดีตรงที่แผลผ่าตัดเล็ก ผู้ป่วยเจ็บน้อย ฟื้นตัวได้เร็วและมีแผลเป็นเล็ก
หลังจากการผ่าตัดถุงน้ำดีทิ้ง น้ำดีจะไหลจากตับตรงไปที่ลำไส้เล็ก แต่ไม่มีผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยและต่อระบบย่อยอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจท้องเสียบ่อย
อาหารสำหรับโรคถุงน้ำดีอักเสบ
เมื่อผู้ป่วยหายแล้ว การปรับอาหารเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยทำให้การสร้างน้ำดีกลับมาเป็นปกติ
ผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารทีละน้อย ไม่ควรรับประทานอาหารจานใหญ่ๆ เพราะจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก และอาจเกิดนิ่วได้อีก หรือท่อน้ำดีอาจบีบเกร็ง
งดอาการไขมันสูงและอาหารทอด รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็ม และรับประทานโปรตีนที่มีไขมันน้อย
สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ
ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายลูกแพร์เล็กๆติดอยู่กับตับ อยู่ทางขวาของช่องท้อง เมื่อตับสร้างน้ำดีออกมา มันจะไหลมาเก็บในถุงน้ำดี และจะปล่อยออกมาในลำไส้เล็กเพื่อช่วยย่อยไขมัน
ถุงน้ำดีเป็นที่เก็บน้ำดี ของเหลวที่จะหลั่งออกมาหลังจากเรากินอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง น้ำดีช่วยย่อยไขมัน นำ้ดีออกมาจากถุงน้ำดี ผ่านท่อน้ำดีเข้าไปในลำไส้เล็ก
สาเหตุหลักของถุงน้ำดีอักเสบคือ นิ่ว หรือตะกอนน้ำดีที่ไปปิดทางออกของถุงน้ำดีซึ่งบางครั้งเรียกว่านิ่วเทียม
สาเหตุอื่นๆเช่น
-
การบาดเจ็บที่ท้องจากแผลไฟไหม้ การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือบาดแผล หรือจากการผ่าตัด
-
ภาวะช็อก
-
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
-
อดอาหารเป็นระยะเวลานาน
การอักเสบในน้ำดี ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำดีได้
เนื้องอกที่ไปรบกวนการไหลของน้ำดี ทำให้น้ำดีค้างอยู่ในถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีอักเสบได้
อาการถุงน้ำดีอักเสบ
อาการถุงน้ำดีอักเสบคือ ปวดท้องส่วนบนด้านขวา มีไข้ และเม็ดเลือดขาวสูง Leukocytosis
หากถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน จะปวดท้องกระทันหัน ไม่หายและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา จะปวดมากขึ้น และการหายใจลึกทำให้ปวดมากขึ้น อาการปวดจะร้าวไปที่ไหล่หรือหลังด้านขวา
อาการอื่นๆ เช่น
-
ปวดท้องด้านบนขวา
-
ไม่อยากอาหาร
-
เหงื่อออก
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันอาจมีไข้ต่ำๆและหนาวสั่น
หลังอาหาร โดยเฉพาะมื้ออาหารที่มีไขมันสูง อาการจะเลวลง และตรวจเลือดพบว่ามีเม็ดเลือดขาวมากขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cholecystitis/symptoms-causes/syc-20364867
-
https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-is-cholecystitis
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก