โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อย คือ ชนิดที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของโครงสร้างในหัวใจหรือหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease ) ซึ่งถูกเรียกว่าความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติที่รุนแรงและพบได้บ่อยที่สุด
ส่วนที่ผิดปกติอาจจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในหัวใจหรือหลอดเลือดใกล้เคียง หรืออาจทำให้เลือดไหลเข้าหัวใจไม่ปกติ
ในอดีต ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจพิการนี้จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวจนถึงวัยผู้ใหญ่ สุขภาพในอนาคตขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคนี้ตั้งแต่เด็กควรได้รับการเฝ้าดูอาการอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคที่ซับซ้อนอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลในระยะยาว
อาการหัวใจพิการ
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดอาจมีอาการเหล่านี้ :
- หายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- ริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้า มีสีเขียว
- โตช้า ป้อนอาหารยาก และเบื่ออาหารในทารก
- ออกซิเจนในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการหายใจเร็วเกินไป
- เหงื่อออก โดยเฉพาะเมื่อถูกป้อนอาหาร
- เป็นลม
- ตัวเล็ก หรือ มีน้ำหนักน้อย
- รู้สึกว่าหายใจเข้าไปไม่พอ โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกาย
- เหนื่อยมาก
อาการเหล่านี้อาจไม่แสดงเมื่อตอนที่เพิ่งคลอด แต่จะแสดงเมื่อเริ่มโตขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมักเป็นผลลัพท์มาจากระยะเริ่มแรกในการพัฒนาของทารก
ความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นกับมารดาระหว่างตั้งครรภ์:
-
เป็นโรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
-
รับประทานยาบางชนิด เช่น isotretinoin (ยารักษาสิว)
-
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
พันธุกรรมก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคนี้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก
เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมหัวใจในระหว่างที่ยังเป็นเด็ก ในหลายเคส หัวใจจะกลับมาทำงานได้อย่างปกติอีกครั้งหลังการรักษา
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจมีปัญหาต่าง ๆ ได้เมื่อเติบโตขึ้น
แต่หากเกิดเนื้อเยื่อที่มีแผลเป็นขึ้นจากการผ่าตัด อาจเป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ ได้
ผู้ป่วยอาจมีอาการต่อไปนี้:
-
อาการตัวเขียว
-
เวียนหัว และ เป็นลม
-
อวัยวะ หรือ เนื้อเยื่อในร่างกายบวม
-
หายใจไม่ออก
-
อ่อนเพลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
อาการและสัญญาณต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรงในตอนเด็กที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป
การรักษาโรคหัวใจพิการ
จากข้อมูลของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ประมาณ 1 ใน 4 ของทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดในปีแรกหลังคลอด
บางครั้ง อาการจะดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือความผิดปกตินั้นน้อยมากจนไม่ต้องรักษา
การรอดูอาการจะช่วยให้ทราบว่าผู้ป่วยต้องการยา การผ่าตัด หรือไม่
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจต้องเข้ารับการรักษาเมื่ออายุเท่าใดก็ได้ เช่น ยาเพื่อลดความดัน
การผ่าตัด
หากผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด แพทย์อาจทำสิ่งเหล่านี้:
-
ทำการผ่าตัดผ่านทางท่อ
-
ทำการผ่าตัดเปิดหัวใจ
วิธีการผ่าตัดขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติที่ผู้ป่วยมี
ทางเลือกต่าง ๆ มีดังนี้:
-
การซ่อมแซม
-
การปลูกถ่ายหัวใจ
-
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม
-
การขยายหลอดเลือดหัวใจ
แพทย์อาจใช้บอลลูนในการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูนเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ซึ่งทำได้โดยการส่งบอลลูนเล็ก ๆ ผ่านท่อเข้าไปขยายลิ้นหัวใจ
ขดลวดตาข่ายสามารถช่วยให้ลิ้นหัวใจไม่ตีบตันอีก
นี่คือที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก