อาการเพ้อ (Delirium) เกิดจากสภาวะทางจิตใจที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน ได้แก่วิธีคิดและพฤติกรรมรวมถึงระดับจิตสำนึก ซึ่งภาวะทางอารมณ์เหล่านี้ส่งผลต่อความจำเเละสมาธิ
ปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับอาการเพ้อได้ทั้งหมดแต่มีเเนวโน้มว่าโรคนี้เกี่ยวข้องกับอายุและภาวะถอนพิษสุรารวมถึงโรคบางชนิด
ในบทความนี้มีข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับประเภทของอาการเพ้อและอาการที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในบทความนี้ยังพูดถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของอาการเพ้อ ครอบคลุมถึงการวินิจฉัยโรครวมถึงทางเลือกในการรักษาและลักษณะอาการที่ควรไปพบแพทย์
อาการเพ้อคืออะไร
ผู้มีอาการเพ้ออาจมีอาการสมาธิสั้น คิดมาก ความจำเสื่อมและนอนหลับยาก
อาการเพ้อเกิดจากการเปลี่ยนทางสภาวะจิตใจของคนที่เข้าไปขัดขวางความสามารถในการใช้สมาธิจดจ่อ ความจำและการนอนหลับ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความแปรปรวนในระดับสติสัมปชัญญะอีกด้วย
อาการเพ้อสามารถเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะถอนพิษสุราและการใช้ยาบางชนิดรวมถึงเป็นอาการของโรคบางอย่าง
ข้อมูลจากคู่มือสุขภาพจิตปี ค.ศ. 2013 ระบุว่าอาการเพ้อมีความเชื่อมโยงกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมดังต่อไปนี้ได้แก่ การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและภาวะสมองเสื่อมอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงมีความเสี่ยงของการเกิดอาการเพ้อสูง
นอกจากนี้อาการเพ้อยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด และวินิจฉัยอาการได้ยาก
ประเภทและอาการ
แพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอาการ 3 อย่างดังต่อไปนี้มีภาวะสับสนเฉียบพลันหรือมีอาการเพ้อ ซึ่งแต่ละอาการมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้
- ภาวะเพ้อแบบง่วงซึมสับสน : หลายคนอาจรู้สึกเหนื่อยล้าหรือซึมเศร้าหรือเคลื่อนไหวเชื่องช้ากว่าปกติ
- ภาวะเพ้อแบบกระวนกระวาย : ทำให้เกิดความรู้สึกกระสับกระส่ายและรู้สึกกังวลหรือมีอารมณ์ก้าวร้าว
- ภาวะเพ้อแบบผสมผสาน : มีอาการผสมผสานระหว่างภาวะเพ้อแบบง่วงซึมสับสนและภาวะเพ้อแบบกระวนกระวาย
ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเพ้ออาจไม่มีอาการใดๆแสดงออกทางกายภาพ แพทย์เรียกภาวะนี้ว่าอาการเพ้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
อาการเพ้อทุกประเภทมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการสับสนหรืองุนงง
- ความจำเสื่อม
- พูดไม่ชัดเจนหรือไม่สามารถพูดให้ถูกต้องได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิจดจ่อ
- อาการประสาทหลอน
- มีรูปแบบการนอนเปลี่ยนแปลงไป
- มีอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุโรคเพ้อ
ปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการเพ้อ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อในสมองและความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทรวมไปถึงภาวะเครียดเรื้อรังเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเพ้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเพ้อมีดังต่อไปนี้
- การติดเชื้อเช่นโรคปอดบวมและติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ
- มีระดับฮอร์โมนแอซิติลโคลีนหรือโพามีนไม่สมดุลกัน
- เนื้องอกในสมอง
- ปวดหัวอย่างรุนเเรง
- ตับหรือไตวาย
- การดื่มแอลกอฮอล การใช้ยา หรือ การใช้ยาที่ผิดปกติ
- การใช้ยาบางชนิดเช่นยารักษาความดันเลือด ยานอนหลับและยาระงับประสาท
- การสัมผัสกับสารพิษ
- ภาวะขาดการนอนหลับอย่างรุนเเรง
การรักษาอาการเพ้อ
แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการที่เกิดจากอาการเพ้อ
องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยังไม่ได้มีการรับรองยาชนิดใดที่สามารถใช้รักษาอาการเพ้อโดยเฉพาะ โดยปกติการรักษาเบื้องต้นมักมุ่งเน้นที่การระบุอาการเเละรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
ถ้าหากเกิดภาวะเพ้อเนื่องจากการเปลี่ยนชนิดยาหรือหยุดเข้ารับการรักษาซึ่งสิ่งที่สำคัญ
แพทย์อาจสั่งยาให้ผู้ป่วยใช้เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากภาวะเพ้อ ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยบางคนที่มีอาการติดเชื้อจากเเบคทีเรีย แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะรักษาอาการนี้
แพทย์สามารถจัดยาที่ใช้รักษาอาการทางจิตในปริมาณเล็กน้อยให้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนเเรงหรืออันตราย อย่างเช่นมีอาการกระวนกระวายใจหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างรุนเเรง ตัวอย่างของยาทางจิตเวชที่แพทย์ใช้รักษาอาการเพ้อได้แก่
- ยาต้านอาการซึมเศร้า
- ยาระงับประสาท
- ยาโดพามีน บล็อกเกอร์
ข้อมูลจากบทความจากงานวิจัยปี 2018 ระบุว่าผู้ที่มีอาการเพ้ออาจมีอาการสับสนเฉียบพลันหลายวันไปจนถึงหลายเดือนหลังจากได้รับการรักษาอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะเพ้อ
ควรไปพบเเพทย์เมื่อไหร่
ควรไปพบเเพทย์เมื่อพบว่าคนที่คุณรู้จักหรือคนที่คุณรักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือมีอาการของภาวะเพ้อที่เราได้กล่าวไปในบทความนี้
บทสรุป
อาการเพ้อเกิดจากสภาวะทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ซึ่งมักทำให้เกิดอาการสับสน มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำหรือมีภาวะอารมณ์แปรปรวนหรือมีปัญหาด้านสติสัมปชัญญะ
ควรไปพบเเพทย์เมื่อคุณหรือคนที่รักเคยมีอาการใดอาการหนึ่งที่เกิดจากสภาวะเพ้อ
การติดเชื้อและความไม่สมดุลของสารเคมีหรือการใช้ยาบางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเพ้อได้ การวินิจฉัยพบโรคที่รวดเร็วและการรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนได้ในอนาคต
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/delirium/symptoms-causes/syc-20371386
- https://www.healthline.com/health/delirium
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15252-delirium
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก