ง่วงนอนตลอดเวลา (Drowsiness)

ง่วงนอนตลอดเวลา (Drowsiness)

16.07
1056
0

ทำไมจึงรู้สึกยังไม่ได้นอนตลอดเวลา

อาการง่วงนอนที่เกิดขึ้นทั้งวัน ง่วงนอนมาก ๆ ตลอดเวลาโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับ ปัญหาที่เกี่ยวกับการนอนหลับจะส่งผลต่อการทำกิจกรรมระหว่างวันอย่างชัดเจน และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งนอกจากอาการง่วงนอนทั้งวัน ง่วงนอนตลอดเวลาแล้ว ผู้ป่วยบางคนยังอาจมีอาการอื่นร่วม ดังนี้

  • นอนตื่นสาย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้นอนดึก
  • นอนไม่หลับ รู้สึกตัวตื่นกลางดึกบ่อย ๆ
  • หงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
  • ไม่มีสมาธิ ลืมง่าย เกิดปัญหาด้านความทรงจำ
  • ปวดศีรษะในช่วงเช้า

สัญญานของปัญหาสุขภาพ

อาการง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งที่นอนมาก หรือหาวบ่อย หาวถี่ ซึ่งอาจเป็นอาการที่ร่างกายกำลังพยายามบ่งบอกสัญญาณของโรคเหล่านี้

  • โรคนอนไม่หลับ เมื่อเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ง่วงตลอดเวลา อาจเป็นผลเนื่องมาจากโรคนอนไม่หลับได้ ควรสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองด้วย ว่านอนหลับสนิทดีหรือไม่ มีการสะดุ้งตื่นกลางดึกบ้างหรือไม่ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวันบ่อย ๆ  โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่
  • นอนกรน การกรนจะส่งผลกระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะคนที่นอนกรนมักจะพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่สนิท จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลา
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ ผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังมักรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมักมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืนร่วมด้วย ทำให้ตื่นเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่น และเมื่อง่วงในช่วงกลางวันก็จะหาวบ่อย ๆ ด้วย
  • ภาวะโลหิตจาง ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง หรือผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนมามากผิดปกติอาจรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาได้ เนื่องจากร่างกายเกิดระบบไหลเวียนเลือดไม่สมบูรณ์จนนำมาสู่อาการอ่อนเพลีย เกิดความรู้สึกอยากนอนหลับบ่อยกว่าปกติ 
  • โรคไทรอยด์ โรคไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ หรือเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จึงทำให้ร่างกายแสดงอาการของโรคลักษณะอ่อนเพลีย อาการง่วงนอนบ่อยผิดปกติได้
  • โรคเบาหวาน อาการอ่อนเพลียและง่วงนอน อาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งมักมีอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติ จนทำให้นอนหลับได้ไม่สนิท และมักเกิดอาการร่วมกับ อาการเหนื่อยง่าย หิวน้ำบ่อย กินบ่อยแต่น้ำหนักตัวกลับลดลงเรื่อย ๆ เห็นภาพพร่ามัว แผลหายช้า หรืออาการชาที่ปลายมือและเท้าร่วม
  • โรคเครียด อาการนอนไม่หลับอาจเป็นสัญญาณของโรคเครียด ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดก็จะเกิดผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ของร่างกาย และส่งผลต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้นอนไม่หลับ และอ่อนเพลีย

Drowsiness

สาเหตุที่ทำให้มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา

พฤติกรรมการนอน แน่นอนว่าการนอนดึก จะทำให้เมื่อตื่นเช้าก็จะรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้อยากนอนทั้งวันได้ ซึ่งการนอนดึกตื่นสายก็ไม่สามารถแก้ไขอาการนี้ได้ อยู่ที่ช่วงเวลาที่ใช้ในการนอน ควรทำอย่างเพียงพอ

สุขภาพจิตแย่ เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิต มักเกิดความเบื่อหน่ายกับชีวิต หรือทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลาได้

เกิดจากอาการของโรคบางชนิด ที่ส่งผลกระทบให้รู้สึกอ่อนเพลีย อยากนอนทั้งวัน

  • โรคโลหิตจาง สาเหตุของโรคโลหิตจางคือภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ซึ่งการขาดธาตุเหล็กจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง แพทย์มักวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ เมื่อรู้สึกอ่อนเพลียรุนแรงติดต่อกันมานานต่อเนื่อง 6 เดือน โดยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย
  • โรคเบาหวาน อาการอ่อนเพลียจากโรคเบาหวานมักเกิดเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลสูง จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้

เกิดจากผลข้างเคียงของยา ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้มักมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดผลข้างเคียงเหล่านี้ที่ฉลากยาได้ว่ายาตัวไหนที่มีผลข้างเคียงในลักษณะนี้ การกินยานอนหลับก่อนนอนก็อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ เพราะการเกิดพฤติกรรมการนอนที่ยานอนหลับทำให้ร่างกายไม่ได้หลับพักผ่อนอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อตื่นขึ้นมาจึงรู้สึกไม่สดชื่น

ความผิดปกติของการนอน พฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติเช่น เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เวลานอนเปลี่ยนไป หรือการนอนแปลกที่ ก็เป็นสาเหตุเหตุของอาการง่วงนอนทั้งวันได้ และท่านอนที่ไม่สบายก็อาจทำให้นอนหลับไม่สนิทได้เช่นกัน

การแก้ไขอาการง่วงนอนตลอดเวลา

การนอนหลับสักครู่เมื่อรู้สึกง่วง อาจช่วยบรรเทาอาการง่วงนอนตลอดเวลาได้ แต่ก็เป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วก็จะรู้สึกง่วงนอนอีก ดังนั้นจึงควรแก้ไขที่ต้นเหตุ โดยมีวิธีการดังนี้

ปรับพฤติกรรมการนอนหลับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับให้เหมาะสม จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เมื่อตื่นมาก็จะรู้สึกสดชื่น การปรับพฤติกรรมการนอนได้แก่

  • เคารพนาฬิกาชีวิตให้มากขึ้น นาฬิกาชีวิตคือสิ่งที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่นนอน รวมทั้งสุขภาพโดยรวม หากฝืน และไม่ทำตามเวลาของนาฬิกาสุขภาพ จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ทำได้โดยการพักผ่อนเมื่อรู้สึกเหนื่อย หลีกเลี่ยงการนอนหลับไม่เป็นเวลา หากต้องการงีบหลับระหว่างวันไม่ควรทำในช่วงตอนบ่ายแก่ ๆ ตื่นแต่เช้าเพื่อออกไปรับแสงแดด และทำให้นาฬิกาชีวิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอน สภาพแวดล้อมในห้องนอนที่ดีคือที่นอนที่สบาย มีอุณหภูมิที่พอเหมาะ บรรยากาศในห้องต้องมืดสนิท และเงียบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเสพติด ยานอนหลับหรือสารเสพติดบางชนิด จะทำให้เกิดการนอนหลับไม่สนิมได้ ส่วนสารเสพติดมักกระตุ้นให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น จนเกิดการตื่นตัวและนอนหลับยาก
  • ผ่อนคลายความเครียด ความเครียดคือสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ แต่เมื่อผ่อนคลายความเครียดก็จะทำให้หลับสบายขึ้น ซึ่งทำได้หลากหลายวิธีทั้ง การออกกำลังกายเบา ๆ การทำสมาธิ หรือการนวด ผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำวันละ 30 นาที จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น และยังกระตุ้นระบบเผาผลาญทำให้ร่างกายมีเรี่ยวแรงมากขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น แต่ควรเป็นน้ำเปล่า หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก เพราะแม้จะทำให้สดชื่น แต่ก็ทำให้อ่อนเพลียมากกว่าเดิมได้ในภายหลัง
Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *