- คำเตือนที่สำคัญ:
- ทำไมถึงต้องเป็นยาตามใบแพทย์สั่ง
- ยาฟลูอ๊อกซิทินควรใช้อย่างไร
- ประโยชน์อื่นๆจากยานี้
- ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ควรปฏิบัติตามคืออะไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร
- ผลข้างเคียงจากยาฟลูออกซิทีนคืออะไร
- ในกรณีฉุกเฉิน / รับประทานยาเกินปริมาณ
- ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้
- ชื่อยี่ห้อ
- ชื่อยี่ห้อที่มีร่วมในบางผลิตภัณฑ์
คำเตือนที่สำคัญ:
เด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุมากกว่า24 ปี) ที่รับประทานยาต้านเศร้า เช่น ฟลูออกซิทีน ในระหว่างการศึกษาทางคลีนิค เด็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นที่รับประทานยาต้านเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตใจอื่นๆอาจมีแนวโน้มที่จะเริ่มคิดฆ่าตัวตายได้มากกว่าเด็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นที่ไม่ได้รับประทานยาต้านเศร้าเพื่อรักษาโรคดังกล่าว แต่กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญเองก็ยังไม่แน่ใจว่ามีความเสี่ยงมากแค่ไหนและควรจะพิจารณาตัดสินใจว่าให้เด็กหรือวัยรุ่นรับประทานนาต้านเศร้าหรือไม่อย่างไรดี
คุณควรรู้ว่าสุขภาพทางจิตใจของคุณอาจเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่คาดคิดเมื่อคุณรับประทานฟลูออกซิทีนหรือยาต้านเศร้าอื่นๆแม้ตุณจะเป็นผู้ใหญ่อายุเกิน 24 ปีแล้วก็ตาม คุณอาจเริ่มอยากฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะตอนเริ่มต้นการรักษาและทุกครั้งที่ปริมาณยาเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตัวคุณ ครอบครัวคุณหรือคนดูแลคุณควรโทรหาแพทย์ของคุณทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ : มีอาการซึมเศร้าใหม่หรือแย่ลง คิดแต่เรื่องทำร้ายหรือฆ่าตัวเอง หรือวางแผนหรือพยายามจะทำดังกล่าว มีความกังวลอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย มีความกลัวอย่างรุนแรง นอนหลับยากหรือนอนหลับมากเกิน มีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด การทำต่อไม่คิด กระวนกระวายอย่างรุนแรงและตื่นเต้นอย่างหนัก จงแน่ใจว่าครอบครัวของคุณหรือคนดูแลรับรู้อาการท่อาจรุนแรงเพื่อที่พวกเขาจะสามารถโทรไปหาแพทย์หากคุณไม่สามารถหาทางรักษาตัวเองได้ด้วยตัวเอง
แพทย์จะนัดคุณบ่อยเพื่อติดตามดูอาการของคุณในขณะรับประทานยาฟลูออกซิทีน โดยเฉพาะในช่วงเริ่มการรักษา จงแน่ใจว่าไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง
ไม่สำคัญว่าคุณจะอายุเท่าไร ก่อนคุณรับประทานยาต้านเศร้า ตัวคุณ แพทย์ของคุณหรือคนดูแลคุณควรได้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์จากการรักษา คุณควรรู้ว่าการมีอาการซึมเศร้าหรืออาการเจ็บป่วยทางใจอื่นๆอาจเพิ่มความเสี่ยงสูงขึ้นหากว่าคุณหรือมีใครในครอบครัวคุณมีหรือเคยมีโรคไพโบลาร์ (อารมณ์เปลี่ยนจากซึมเศร้าไปเป็นตื่นเต้นผิดปกติ) หรือเมเนีย (ตื่นเต้นอย่างหนัก) หรือมีความคิดเกี่ยวกับหรือพยายามฆ่าตัวตาย ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรค อาการและประวัติโรคประจำตัวส่วนตัวหรือของครอบครัว คุณและแพทย์ของคุณจะช่วยกันตัดสินมจชนิดของการรักษาที่ถูกและเหมาะกับคุณ
ทำไมถึงต้องเป็นยาตามใบแพทย์สั่ง
ฟลูออกซิทีน (โปรแซก) คือยาที่มักใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำr (มีความคิดน่ารำคาญที่ไม่ยอมหายไปไหนและต้องการททำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา) มีปัญหาด้านการกินบางอย่างและมีความกลัวอย่างรุนแรง (เป็นความกลัวสุดขีดที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนเกิดขึ้นกระทันหันและเป็นกังวลเกี่ยวกับการโดนทำร้าย) ยาฟลูออกซิทีน (ซาราเฟ็ม)คือยาที่มักนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน ซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิด ท้องอืดและคัดหน้าอก มักใช้ร่วมกับยาโอแลนซาปีน (ไซเปร๊กซ่า) เพื่อรักษาซึมเศร้าในคนที่ไม่ตอบสนองต่อยาตัวอื่นๆและระยะซึมเศร้าในคนที่เป็นไพโบลาร์ (โรคอารมณ์สองขั้ว โรคที่เป็นสาเหตุของระยะซึมเศร้า ระยะเมเนียและอารมณ์ผิดปกติอื่นๆ) ฟลูออกซิทีนถูกจัดอยู่ประเภทของยาที่เรียกว่ายาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ ตัวยาจะทำงานโดยไปเพิ่มจำนวนเซโรโทนิน เป็นสารธรรมชาติในสมองที่ช่วยรักษาสมดุลจิตใจ
ยาฟลูอ๊อกซิทินควรใช้อย่างไร
ฟลูอ๊อกซิทีน (โปรแซค) มักมาในรูปแบบของแคปซูล ยาเม็ด ยาแคปซูลปลดปล่อยแบบชะลอ (ยาจะค่อยๆถูกปล่อยในลำไส้) และชนิดสารละลาย (ยาน้ำ)ชนิดรับประทาน ฟลูอ็อกซิทินอาจรับประทานพร้อมหรือไม่พร้อมอาหารก็ได้ ฟลูอ๊อกซิทีน (ซาราเฟ็ม)มักมาในรูปแบบยาเม็ดแคปซูลชนิดรับประทาน ฟลูอ๊อกซิทีน (โปรแซ็ค)มีทั้งชนิดแคปซูล เม้ดและชนิดน้ำ มักรับประทานวันละครั้งในตอนเช้าหรือวันละสองครั้งเช้าและบ่าย ฟลูอ๊อกซิทีนชนิดแคปซูลปลดปล่อยแบบชะลอมักใช้สัปดาห์ละครั้ง ฟลูอ็อกซิทีน(ซาราเฟ็ม)มักรับประทานวันละครั้ง วันเว้นวันเป็นเวลาหนึ่งเดือนหรือเป็นบางวันในหนึ่งเดือน ควรรับประทานฟลูอ๊อกซิทีนในเวลาเดิมทุกวัน ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างระมัดระวัง และปรึกษาแพทย์เพื่อให้อธิบายในส่วนที่คุณยังไม่เข้าใจ รับประทานยาตรงตามแพทย์สั่ง ไม่ควรทานมากไปหรือน้อยไปกว่าที่แพทย์สั่ง
กลืนยาแคปซูลชนิดปลดปล่อยแบบชะลอทั้งเม็ด ห้ามตัด บดหรือเคี้ยวยา
แพทย์อาจเริ่มต้นปริมาณยาฟลูอ๊อกซิทีนในโดสต่ำและค่อยๆเพิ่มโดสทีละน้อย
อาจต้องรับประทาน 4 ถึง 5 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นก่อนที่ได้รับประโยชน์จากฟลูออกซิทินเต็มที่ รับประทานฟลูออกซิทีนต่อเนื่องแม้คุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม ห้ามหยุดยาเองโดยปราศจากคำสั่งจากแพทย์ หากคุณหยุดยากระทันหัน คุณอาจมีอาการเลิกยาเช่น อารมณ์เปลี่ยน หงุดหงิด กระสับกระส่าย เวียนศีรษะ เหน็บช้าหรือรู้สึกเสียวแปลบที่มือหรือเท้า วิตกกังวล เหงื่อออก สับสน ปวดศีรษะ เหนื่อยล้าและนอนไม่หลับหรือหลับนานเกินไป
ประโยชน์อื่นๆจากยานี้
ฟลูออกซิทีนบางครั้งอาจนำมาใช้รักษาโรคติดสุราเรื้อรัง โรคสมาธิสั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคการนอน ปวดศีรษะ อาการป่วยทางจิตใจ ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง โรคทูเร็ตต์ โรคอ้วน มีปัญหาทางเพศและโรคกลัว ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยานี้กับโรคของคุณ
ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ควรปฏิบัติตามคืออะไร?
ก่อนรับประทานยาฟลูออกซิทีน
- แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยาฟลูออกซิทีน ยาชนิดอื่นๆหรือยาทุกชนิดที่มีส่วนประกอบของฟลูออกซิทีน
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังรับประทานยา Pimozide (Orap), Thioridazine, or A monoamine oxidase (MAO) inhibitor เช่น Isocarboxazid (Marplan), Linezolid (Zyvox), Methylene blue, Phenelzine (Nardil), Selegiline (Eldepryl, Emsam, Zelapar) และ Tranylcypromine (Parnate) หรือเพิ่งหยุดยา Monoamine oxidase inhibitor ภายในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์อาจแนะนำว่ายังไม่ควรทานฟลูออกซิทีน หากคุณหยุดยาฟลูออกซิมีนคุณควรคอยอย่างน้อย 5 สัปดาห์ก่อนจึงเริ่มทานยา Thioridazine หรือ Amonoamine oxidase inhibitor.
- แจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังรับประทานยา Pimozide (Orap), Thioridazine, หรือ Amonoamine oxidase (MAO) inhibitor เช่น Isocarboxazid (Marplan), Linezolid (Zyvox), Methylene blue, Phenelzine (Nardil), Selegiline (Eldepryl, Emsam, Zelapar), และ Tranylcypromine (Parnate),
- แจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังรับประทานหรือเตรียมวางแผนจะเริ่มทานยาทั้งชนิดมีใบสั่งแพทย์และไม่มี และวิตามิน โดยเฉพาะยาดังต่อไปนี้
- Alprazolam (Xanax) Amiodarone (Pacerone, Nexterone);
- Certain antibiotics เช่น Erythromycin (E.E.S, Eryc, Ery-tab)
- Gatifloxacin, Moxifloxacin (Avelox) และ Sparfloxacin (Zagam);
- Amphetamines เช่น Amphetamine (in Adderall)
- Dextroamphetamine (Dexedrine, Dextrostat, in Adderall) และ Methamphetamine (Desoxyn)
- Anticoagulants (‘blood thinners’) เช่น Warfarin (Coumadin, Jantoven)
- Antidepressants (Mood elevators) เช่น Amitriptyline (Elavil), Amoxapine, Clomipramine (Anafranil), Desipramine (Norpramin), Doxepin,Imipramine (Tofranil), Nortriptyline (Pamelor), Protriptyline (Vivactil), และ Trimipramine (Surmontil)
- Aspirin และ Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เช่น Ibuprofen (Advil, Motrin) และ Naproxen (Aleve, Naprosyn)
- Buspirone; Clopidogrel (Plavix); Diazepam (Valium); Digoxin (Lanoxin); Diuretics (‘water pills’); Dolasetron (Anzemet); Fentanyl (Duragesic, Lazanda, Subsys, others)
- Flecainide (Tambocor)
- อินซูลินหรือยาเม็ดสำหรับโรคเบาหวาน Lithium (Lithobid)
- ยาสำหรับอาการวิตกกังวลและโรคพาร์กินสัน
- ยาสำหรับอาการป่วยทางจิตใจเช่น Chlorpromazine, Clozapine (Clozaril, Versacloz), Droperidol (Inapsine), Haloperidol (Haldol), Iloperidone (Fanapt),และ Ziprasidone (Geodon); Methadone (Methadose)
- ยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน เช่น Almotriptan (Axert), Eletriptan (Relpax), Frovatriptan (Frova), Naratriptan (Amerge), Rizatriptan (Maxalt), Sumatriptan (Imitrex), และ Zolmitriptan (Zomig)
- รวมทั้งยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่คุณกำลังรับประทาน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีเซนต์จอห์นเวิร์ตหรือทริปโตเฟน
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณหรือคนในครอบครัวคุณเป็น prolonged QT interval (ปัญหาหัวใจที่อาจเป็นสาเหตุทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หน้ามืดหรือเสียชีวิตกระทันหัน) ควรบอกแพทย์หากคุณมีระดับโปรแตสเซียมต่ำหรือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ หรือกำลังรักษาด้วยวิธีการรักษาด้วยไฟฟ้า (เป็นการรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้าอ่อนๆที่สมองเพื่อรักษาอาการป่วยทางจิตใจบางอย่าง)
- แจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณอยู่ในช่วงสองสามเดือนท้ายของการตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ยาฟลูออกซิทีนอาจทำให้มีอาการง่วงนอน ไม่ควรขับรถหรือใช้เครื่องเครื่องจักรจนกว่าจะหมดฤทธิ์ยา
- จำไว้ว่าแอลกอฮอล์อาจไปเพิ่มอาการง่วงเพราะยาได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร
รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามหากใกล้เวลาในมื้อยาถัดไปให้ข้ามมื้อยาที่ลืมไปได้เลย และกลับมาทานยาตามมื้อปกติ ไม่ควรทานยาเพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อชดเชยมื้อที่หายไป
ผลข้างเคียงจากยาฟลูออกซิทีนคืออะไร
ฟลูออกซิทีนอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดผลข้างเคียง บอกแพทย์ให้ทราบหากมีอาการดังต่อไปนี้อย่างรุนแรงหรือไม่หาย:
- ตื่นกลัว
- วิตกกังวล
- นอนหลับยากหรือนอนทั้งวัน
- คลื่นไส้
- ท้องเสีย
- ปากแห้ง
- แสบร้อนกลางอก
- หาวนอน
- อ่อนเพลีย
- ไม่สามารถควบคุมอาการสั่นในบางส่วนของร่างกาย
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- ความสามารถหรือพลังทางเพศมีการเปลี่ยนแปลง
- ปวดศีรษะ สับสน อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ หรือความจำมีปัญหา
ผลข้างเคียบางอย่างอาจมีความรุนแรง หากมีอาการดังต่อไปนี้ที่อาจเป็นสัญญานเตือนที่สำคัญหรือข้อควรระวังเป็นพิเศษ ควรโทรหาแพทย์ฉุกเฉินทันที:
- มีผื่น
- ลมพิษหรือแผลพุพอง
- คัน
- มีไข้
- ปวดข้อ
- มีอาการบวมที่ใบหน้า คอ ลิ้น ริมฝีปาก ตา มือ เท้า ข้อเท้าหรือขาส่วนล่าง
- หายใจหรือการกลืนลำบาก
- กระวนกระวาย มีไข้ เหงื่อออก สับสน หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ ตัวสั่น กล้ามเนื้อแข็งดกร็งอย่างรุนแรงหรือกระตุก เห็นภาพหลอน เสียความสมดุล คลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสีย
- หัวใจเต้นผิดปกติหรือ เต้นเร็วหรือช้า
- หายใจสั้น
- วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืด
- อาการชัก
- มีเลือดออกหรือรอยฟกช้ำผิดปกติ
ฟลูอ๊อกซิทีนอาจไปลดความอยากอาหารและอาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักตัวลดลงในเด็ก แพทย์จึงจำเป็นต้องเฝ้าดูเรื่องการเจริญเติบโตอย่างใกล้ชิด ปรึกษาแพทย์หากคุณเป็นกังวล
ในกรณีฉุกเฉิน / รับประทานยาเกินปริมาณ
ในกรณีที่รับยาเกินปริมาณให้โทรหาแพทย์ฉุกเฉินทันที
อาการของการได้รับยาเกินปริมาณมีดังต่อไปนี้:
- ไม่สามารถทรงตัวได้
- สับสน
- ไม่มีการตอบสนอง
- มีความกังวลใจ
- ไม่สามารถควบคุมการสั่นของร่างกายได้
- วิงเวียนศีรษะ
- หัวใจเต้นแรง ผิดปกติและเร็ว
- เห็นสิ่งต่างๆหรือได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง (ภาพหลอน)
- มีไข้
- หน้ามืด
- โคม่า (หมดสติช่วงขณะ)
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้
ไปตามนัดแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก่อนทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการใดๆ (โดยเฉพาะที่ต้องมี เมทอลีนบลู เป็นส่วนประกอบ) แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่าคุณกำลังรับประทานนาฟลูออกซิทีน
ไม่ควรให้ยาผู้อื่นรับประทาน สิ่งที่สำคัญคือจดรายชื่อยาทั้งแบบมีใบสั่งแพทย์และไม่มีที่คุณกำลังรับประทาน ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่นวิตามินเกลือแร่หรืออาหารเสริมอื่นๆไว้ นำไปให้แพทย์ดูทุกครั้ง
ชื่อยี่ห้อ
- Prozac®
- Prozac® Weekly
- Rapiflux®
- Sarafem®
- Selfemra®
ชื่อยี่ห้อที่มีร่วมในบางผลิตภัณฑ์
- Symbyax® (containing Fluoxetine, Olanzapine)
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/medicines/fluoxetine-prozac/
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/322413
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1774-5095/fluoxetine-oral/fluoxetine-enteric-coated-oral/details
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก