แพ้อาหาร (Food Allergies) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แพ้อาหาร (Food Allergies) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.02
2097
0

อาการแพ้อาหาร (Food allergies) คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนบางชนิดในอาหาร เสมือนเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อย่างเช่นแบคทีเรีย ปรสิต หรือไวรัส

Food Allergies

สาเหตุของอาการอาหาร

อาการภูมิแพ้อาหารมักพบได้ในอาหารกลุ่มใหญ่ 8 ชนิดถึง 90% ได้แก่ :

  • ไข่

  • ปลา

  • นม

  • ถั่วจากต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ เฮเซลนัท วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วพิสตาชิโอ

  • ถั่วลิสงหรือถั่วที่ฝักอยู่ในดิน

  • สัตว์น้ำที่มีเปลือก ได้แก่ กุ้ง กุ้งล็อบสเตอร์ และปู

  • ถั่วเหลือง

  • ข้าวสาลี

สารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือนม ไข่ และถั่วลิสง โดยเฉพาะนม ไข่ ถั่วเหลือง และข้าวสาลีพบในเด็กมากถึง 25% และมีแนวโน้มเพิ่มมากกว่าเด็กที่มีอาการแพ้ถั่วลิสง

ประเทศในทวีปยุโรปมีการจัดอาการก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ งา เซเลอรี่ ลูปิน (พืชตระกูลถั่ว) และมัสตาร์ด ทั้งนี้ นม ถั่ว และอาหารทะเล เป็นอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย

ระบบภูมิคุ้มกันในผู้เป็นภูมิแพ้อาหารจะตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารเสมือนเป็นสารอันตรายที่อาจก่อให้เกิดโรค ร่างกายตอบสนองโดยการผลิตแอนติบอดี IgE เพื่อโจมตีโปรตีนนี้ เมื่อผู้ป่วยกินอาหารนั้นเข้าไปจะเกิดปฏิกิริยาทันที

ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการภูมิแพ้อาหาร

ประวัติครอบครัว: การแพ้อาหารสามารถสืบทอดทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ

อาการภูมิแพ้อื่น ๆ : เด็กที่มีอาการแพ้อย่างใดอย่างหนึ่งมักมีอาการภูมิแพ้อาหารร่วมด้วย

การรับสารภูมิแพ้ครั้งแรก: การวิจัยพบว่าทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพ้อาหาร โดยเฉพาะการแพ้ ถั่วลิสง การงดอาหารที่ก่อภูมิแพ้ในช่วงนี้จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้อาหารได้

แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร: งานวิจัยแสดงว่าผู้ที่มีอาการภูมิแพ้มักมีการเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียในลำไส้ โดยเฉพาะระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงขึ้นและระดับเชื้อ Clostridiales กลับลดลง อยู่ระหว่างการทดสอบว่าแบคทีเรียในลำไส้สามารถรักษาหรือป้องกันอาการภูมิแพ้อาหารได้หรือไม่

แนวโน้มโรคภูมิแพ้อาหารเริ่มสูงขึ้น ซึ่งนักวิจัยมีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจาก

อาหาร: พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เช่นการบริโภคไขมันสัตว์ลดลงแต่เพิ่มการบริโภคไขมันพืชแทน

สารต้านอนุมูลอิสระ: การบริโภคผลไม้และผักสดลดลง ซึ่งอาหารเหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายของเซลล์ได้

วิตามินดี: อาการภูมิแพ้อาหารเพิ่มมากในประชากรที่อาศัยในประเทศที่มีแสงแดดน้อย ทำให้สร้างวิตามินดีได้น้อย คาดว่าวิตามินดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิแพ้อาหาร

การรับภูมิต้านทางตั้งแต่เด็ก: มีข้อสังเกตว่าเด็กที่โตในสภาพที่ปลอดเชื้อ และไม่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคเลย และมักใช้ผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อแบคทีเรียปริมาณสูงขึ้น มักเป็นภูมิแพ้อาหาร

การวินิจฉัยอาการแพ้อาหาร

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้อาหารแพทย์ต้องถามผู้ป่วยในข้อมูลที่จำเป็น:

  • อาการที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

  • ใช้เวลานานแค่ไหนจึงเริ่มเกิดอาการ

  • อาหารชนิดใดที่ทำให้แพ้

  • อาหารปรุงสุกชนิดใดที่ทำให้แพ้

  • แหล่งที่มาของอาหาร

แพทย์มักพิจารณาร่วมกับอาการภูมิแพ้สิ่งอื่น ๆ อย่างโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล หรือโรคหอบหืด และประวัติครอบครัวของผู้ป่วย

การทดสอบต่อไปนี้แพทย์จะใช้เพื่อวินิจฉัยอาการแพ้อาหาร:

การทดสอบทิ่ผิวหนัง

 แพทย์จะนำอาหารที่เจือจางแล้ว มาเจาะลงบนผิวหนังที่แขนเบา ๆ เพื่อสังเกตปฏิกิริยา อย่างอาการคัน บวม หรือแดง แสดงว่าผู้รับการทดสอบอาจมีอาการแพ้ และอาจต้องรับการทดสอบซ้ำหลายครั้ง

การตรวจเลือด

 การทดสอบเพื่อหาแอนติบอดีที่จำเพาะกับโปรตีนจากอาหารบางชนิด เพื่อบ่งบอกอาการแพ้อาหารนั้น ๆ

บันทึกการรับประทานอาหาร

 ผู้ป่วยควรบันทึกอาหารทุกอย่างที่กิน และอธิบายอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

การทดสอบแบบไม่ให้ผู้ป่วยรู้ตัวเพื่อลดอาการที่เกิดจากความรู้สึก: เป็นวิธีการทดสอบที่ดีที่สุดมีความแม่นยำสูง  แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในปริมาณควบคุมเพื่อติดตามอาการโดยดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นวิธีแยกอาการป่วยที่เกิดจากการคิดไปเอง

โรคภูมิแพ้กับอาการแพ้อาหาร

ผู้เชี่ยวชาญอาจต้องใช้เวลาในแยกอาการทั้ง 2 พอสมควร

กรณีโรคภูมิแพ้อาหารนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองต่ออาหาร โดยการผลิตแอนติบอดีที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับอาการ (IgE) แต่ในกรณีแพ้อาหารภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะไม่ทำงาน

อาการแพ้อาหารยังมักใช้เวลาในการเกิดปฏิกิริยานานกว่า อาการแพ้อาหารยังมาจากสารอื่น ๆ นอกจากโปรตีน ทั้งสารเคมี หรือคาร์โบไฮเดรตก็ได้ อาจเกิดจากการขาดเอนไซม์ หรือความสามารถในการย่อยอาหารในลำไส้ไม่ดี

ภูมิแพ้อาหารอาการจะเกิดทันที แม้รับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย ก็ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ แต่อาการแพ้อาหาร ผู้ป่วยยังรับประทานอาหารชนิดนั้นในปริมาณไม่มากได้

โรคเซลิแอคได้รับการยกเว้นว่าไม่ใช่ภูมิแพ้อาหาร แม้ว่าร่างกายจะทำปฏิกิริยากับกลูเตนปริมาณเล็กน้อย เพราะแพทย์พิจารณาว่าโรคนี้เป็นภาวะการแพ้ภูมิตัวเองมากกว่า

อาการของโรคที่มักสับสนกับโรคภูมิแพ้อาหาร :

ภาวะการขาดเอนไซม์

 บุคคลที่ไม่มีเอนไซม์หรือมีไม่เพียงพอต่อการย่อยอาหาร ตัวอย่างเช่นกรณีแพ้แลคโตสที่ทำให้เกิดท้องร่วง ก๊าซในกระเพาะ ตะคริว และท้องอืดเนื่องจากร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

โรคลำไส้แปรปรวน เป็นภาวะระยะยาวของอาการท้องเสีย ท้องผูก และปวดท้อง ผู้เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักแพ้คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการหมักแล้ว

ความไวต่อสารเคมีอาหาร

 ตัวกระตุ้นคือซัลไฟต์ที่ใช้ถนอมผลไม้แห้ง หรืออาหารกระป๋อง

ปัจจัยทางจิตวิทยา

 เกิดจากความไม่สบายที่เกิดกับอาหารบางประเภท โดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคเซลิแอค

 เมื่อรับประทานกลูเตนผู้ที่ระบบภูมิต้านทานผิดปกติ จะเกิดอาการท้องร่วง ปวดท้อง และท้องอืด แต่บางรายก็อาจไม่มีอาการ

อาการของโรคภูมิแพ้อาหาร

อาการมีตั้งแต่เล็กน้อยและรุนแรงในแต่ละคนแตกต่างกัน และมีอาการที่แตกต่างกันได้ แต่อาการที่พบบ่อยคือ:

  • รู้สึกเสียวซ่าในปาก

  • รู้สึกแสบร้อนในปากและริมฝีปาก

  • ใบหน้าบวม

  • ผื่นแดงที่ผิวหนัง หรือลมพิษ

  • หายใจไม่ออก

  • คลื่นไส้หรืออาเจียน

  • ท้องร่วง

  • น้ำมูกไหล

  • น้ำตาชื้น

  • อาการต่าง ๆ เหมือนโรคภูมิแพ้

Anaphylaxis

 คืออาการแพ้อย่างรุนแรงและมีอาการอื่น ๆ ร่วม โดยปกติเกิดทันทีที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงในการแสดงอาการ

ลักษณะอาการและปฏิกิริยาของการแพ้อาหารอย่างรุนแรงนั้น รวมถึง:

  • ความดันเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว

  • อาหารหวาดวิตก หรือเป็นกังวล

  • อาการคัน ระคายคอ

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่นหายใจไม่ค่อยออก และมีแนวโน้มว่าอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ

  • อาการคันที่ผิวหนัง หรือเป็นผื่นค่อย ๆ ลามไปตามร่างกายอย่างรวดเร็ว

  • จาม น้ำมูกไหล

  • น้ำมูก และน้ำตาไหล

  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

  • อาการบวมที่คอ ริมฝีปาก ใบหน้าและปากอย่างรวดเร็ว

  • สลบไม่ได้สติ

การรักษาอาการภูมิแพ้อาหาร

วิธีรักษาภูมิแพ้อาหารคือหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา การอ่านฉลากอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าต่าง ๆ ที่มีโอกาสปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้ในอาหารได้

การรักษาด้วยยา ปัจจุบันมีเพียงยา Palforzia ที่ใช้รักษาอาการแพ้ถั่วลิสงที่ได้รับการรับรองให้ใช้งานได้

การกำจัดอาหารก่อภูมิแพ้นั้นรวมถึงการป้องกันไม่ให้สูดดม สัมผัสหรือรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้เลย โดยเฉพาะการปนเปื้อนจากภาชนะ

การรักษาด้วยยาในกรณีฉุกเฉิน

ยาแก้แพ้

 มักอยู่ในรูปของเจล ของเหลวหรือยาเม็ด ใช้ได้ดีในผู้ที่มีอาการแพ้อาหารเล็กน้อยหรือปานกลาง ตัวอย่างการรักษาอาการแพ้ฮิสตามีนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ

อะดรีนาลีน (Epinephrine)

เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิแพ้ อะดรีนาลีนช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยการหดตัวของหลอดเลือด จึงช่วยให้ทางเดินหายใจดีขึ้น ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงขึงควรพกยานี้ติดตัว

สรุปภาพรวมอาการภูมิแพ้อาหาร

การแพ้อาหารมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก  โดยอาการแพ้อาหารที่พบบ่อยคือไข่ นม และถั่วลิสง อาการมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ยังไม่พบวิธีการรักษาภูมิแพ้อาหารแบบดั้งเดิม แต่การหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารก่อภูมิแพ้จะช่วยไม่ให้เจ็บป่วยได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *