- สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- ประเภทของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่
- อาการของโรคกระเพาะอาหาร
- ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- การทดสอบและการวินิจฉัย
- การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- การป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- บทสรุปของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- แหล่งที่มาของบทความของเรา
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร และปัญหาอื่น ๆ เช่น การทานยา การเปลี่ยนแปลงอาหาร และอื่น ๆ แต่อย่างไรก็สามารถรักษาให้หายได้ โรคกระเพาะอาหารอักเสบสามารถเกิดขึ้นทันที ทำให้เกิดอาการที่สังเกตได้ อาจหายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่ถ้าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Chronic gastritis) จะไม่สามารถสังเกตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะที่พบได้บ่อยทั่วโลก ในกรณีอื่น ๆ การอักเสบเป็นผลมาจากการระคายเคือง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากบริโภคแอลกอฮอล์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Chronic gastritis) เป็นโรคที่พบบ่อยและคาดว่าประชากรทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 50 มีอาการของโรคนี้ ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนเช่น แผลในกระเพาะอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร
ดังนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงอาการ สาเหตุและการรักษาโรค นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่ควรกินและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคได้
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคกระเพาะอาหารอักเสบเกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุที่ทำหน้าที่ป้องกันกระเพาะอาหารอ่อนตัวลงทำให้น้ำย่อยในกระเพราะอาหารถูกทำลาย จะนำไปสู่การอักเสบกลายเป็นเรื้อรัง ค่อยๆเกิดอาการ หรือเกิดขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้
ประเภทของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่
- กระเพาะอาหารอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน ( Erosive gastritis) เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบระดับรุนแรงและทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารสึกหรอลง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
- กระเพาะอาหารอักเสบชนิดเรื้อรัง (Nonerosive gastritis) เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุกระเพาะอาหารมากกว่าการสึกหรอ
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ตัวอย่างเช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความเจ็บป่วยขั้นวิกฤต
สาเหตุอื่น ๆ ของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น
- Pylori bacteria โรคกระเพาะส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย H. pylori
- สารระคายเคือง โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากสารระคายเคืองทำให้เกิดการระคายเคืองสามารถพบได้บ่อยเช่นกัน การรับประทานในกลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) เช่น ibuprofen (Advil) และยาอื่น ๆ ที่ใช้บรรเทาอาการปวดอาจเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ นอกจากนี้การใช้ NSAIDs ยังบ่งบอกถึงสาเหตุที่ไม่เกิดการติดเชื้อของแผลในกระเพาะอาหาร
สารระคายเคืองอื่น ๆ ที่มีผล ได้แก่ แอลกอฮอล์และน้ำดี
- สภาวะแพ้ภูมิตัวเองความผิดปกติของการทำงานของระบบภูมิต้านทานที่ผิดปกติ สามารถนำไปสู่โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ตัวอย่างเช่นในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่มีภาวะแพ้ภูมิตัวเอง ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีการทำงานของเยื่อบุกระเพาะอาหาร
- การเกิดการบาดเจ็บในกระเพาะอาหาร การบาดเจ็บทางร่างกายหรือต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ยกตัวอย่างผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอาส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารออก อาจเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หลังการผ่าตัดซึ่งทำให้เยื่อบุกระเพาะเสื่อม กลไกของโรคนี้ยังไม่ชัดเจน แต่สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบหลังผ่าตัดอาจเกิดจากกรดไหลย้อนที่เพิ่มขึ้นปฏิกิริยาจาก vagal nerve หรือการลดจำนวนกรดที่กระตุ้นโดยฮอร์โมน
ปัจจัยด้านอาหารมักไม่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ แต่การแพ้อาหารและโรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) อาจมีส่วนทำให้เกิดโรคนี้ได้
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ติดเชื้อที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อ H. pylori: ไวรัสและเชื้อราอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติหรือเจ็บป่วยในระยะยาว
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบจากรังสี: เมื่อช่องท้องได้รับรังสีอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองได้
- โรคหลอดอาหารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิล (Eosinophilic): อาจเป็นผลมาจากอาการแพ้
- โรคเนื้องอกในกระเพาะอาหาร (Ménétrier disease): พบได้น้อยและเกี่ยวข้องกับการเกิดรอยพับและซีสต์บนผนังกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยบางคนที่เป็นโรคกระเพาะอาจไม่มีอาการให้เห็น ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะบอกว่ารู้สึกปวดหรือแสบร้อนบริเวณกลางส่วนบนหรือช่องท้องด้านซ้าย แล้วแผ่ความปวดไปทางด้านหลัง ส่วนอาการอื่น ๆ ทั่วไป ได้แก่ ท้องอืดและคลื่นไส้ และเมื่ออาเจียน ลักษณะของอาเจียน อาจเป็นสีใส สีเหลืองหรือสีเขียว
อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบรุนแรง ได้แก่ :
- หายใจถี่ๆ
- เจ็บหน้าอก
- อาเจียนมีเลือดปน
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- การเรอที่มีกลิ่นเหม็น
หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน:
- หัวใจเต้นเร็ว
- เหงื่อออกมากเกินไป
- หายใจถี่
- ปวดท้องและมีอาการไข้ร่วมด้วย
- อาเจียนมีเลือดปน
- อาเจียนมีสีเขียวและสีเหลือง
- อุจจาระเป็นสีดำหรือมีเลือดปน
- เวียนศีรษะและเป็นลม
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคกระเพาะเรื้อรังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทางเดินอาหารอื่น ๆ รวมถึงแผลในกระเพาะอาหารหรือที่เรียกว่า peptic ulcers และเลือดออกในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ บางประเภทรวมถึงโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเองและโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่เกิดจากเชื้อ H. pylori สามารถลดความสามารถในการดูดซึมธาตุเหล็กจากเลือด โรคกระเพาะอาหารอักเสบที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเองอาจส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 ซึ่งอาจนำไปสู่โรคโลหิตจาง นอกจากนี้โรคกระเพาะอาหารอักเสบที่เกิดจากเชื้อ H. pylori อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ในบางรายรวมถึงผู้สูงอายุและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ปัญหาและปัจจัยด้านสุขภาพหลายอย่างเช่นการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบมีดังต่อไปนี้:
- การสูบบุหรี่
- ความเครียด
- การใช้แอลกอฮอล์หรือโคเคนมากเกินไป
- กลืนสารกัดกร่อนหรือวัตถุแปลกปลอม
- มีประวัติอาเจียนเรื้อรัง
- การขาดวิตามินบี 12
- การใช้ NSAID เป็นประจำ
- การใช้สเตียรอยด์ตามใบสั่งแพทย์ เคมีบำบัด (Chemotherapy) อาหารเสริมโพแทสเซียมหรือธาตุเหล็กเป็นประจำ
- การสัมผัสกับรังสีไม่ว่าจะเป็นการรักษาหรือโดยการปนเปื้อน
- น้ำดีไหลย้อนหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- แพ้ภูมิตัวเองเช่นไทรอยด์อักเสบของ (Hashimoto’s thyroiditis) หรือโรคเบาหวานประเภท 1
- โรคเอดส์
- โรคโครห์น (Crohn’s Disease)
- การติดเชื้ออื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่ วัณโรคและซิฟิลิส
- การติดเชื้อ H. pylori จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งและการปนเปื้อนอาหาร น้ำหรือช้อนส้อม
การทดสอบและการวินิจฉัย
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้จากสิ่งต่อไปนี้:
- การตรวจร่างกาย
- ประวัติทางการแพทย์และอาการปัจจุบัน
- ตรวจหาเชื้อ H. pylori โดยตรวจเลือด การหายใจหรือการตรวจอุจจาระ
- การส่องกล้อง
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography:)
ในบางกรณีแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ด้วยรังสีเอ็กซ์ของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ซึ่งหมายถึงการตรวจทางเดินอาหารส่วนบนหรือการตรวจหลอดอาหาร (Barium Swallowing)
แพทย์อาจจะขอตรวจเพิ่มเติมตามรายการดังต่อไปนี้:
- การประเมินการทำงานของไตและตับ
- การทดสอบโรคโลหิตจาง
- การทดสอบการทำงานของถุงน้ำดีและตับอ่อน
- การทดสอบการตั้งครรภ์
หากยังสรุปไม่ได้แพทย์อาจทำการส่องกล้องส่วนบน เกี่ยวข้องกับการสอดท่อที่บางและยืดหยุ่นลงทางปากและลำคอและเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อทำการตรวจด้วยสายตา
อาหาร
ในขณะที่อาหารและโภชนาการอาจจะไม่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แอลกอฮอล์ การแพ้อาหารและอาหารเสริมบางชนิดสามารถมีส่วนช่วยได้ การเปลี่ยนแปลงอาหารไม่ใช่วิธีการรักษาโรคกระเพาะหลักยกเว้นเมื่อโรคกระเพาะเกิดจากการแพ้กลูเตน หรือการแพ้อาหาร บางคนพบว่าการรับประทานอาหารบางชนิดช่วยทำได้ และการทำเช่นนั้นอาจช่วยให้ร่างกายกำจัดแบคทีเรีย H. pylori
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
การรับประทานอาหารที่อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยลง เช่น อาหารรสเผ็ด เปรี้ยว หรือของทอด อาจช่วยจัดการกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ได้ เช่นเดียวกับการแบ่งการทานอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อยขึ้น
การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
แนวทางการรักษาที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการและไม่ว่าจะเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง การรักษาอาจเกี่ยวข้องกับยาหลายชนิดเช่น:
- ยาปฏิชีวนะ: สามารถรักษา H. pylori ได้โดยตรง แพทย์อาจสั่งยาคลาริโทรมัยซิน (Biaxin) และเมโทรนิดาโซล (Flagyl)
- สารยับยั้งการปั๊มโปรตอน: Omeprazole (Prilosec) หรือ lansoprazole (Prevacid) สามารถขัดขวางการผลิตกรดและช่วยในการรักษาได้
- H2 blockers: ยาเหล่านี้เช่น famotidine (Pepcid) สามารถลดการผลิตกรดได้ มีจำหน่ายทางออนไลน์
- ยาลดกรด: สามารถทำให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลาง
- สารเคลือบผิว: Sucralfate (Carafate) หรือ misoprostol (Cytotec) สามารถเคลือบและปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร
- ยาต้านอาการคลื่นไส้: มีจำหน่ายทางออนไลน์
วิธีที่แนะนำ คือ การใช้ยาที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอาหาร สามารถจัดการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
การป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้สำรวจปัญหาที่อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบมากนักและยังไม่ทราบสาเหตุบางอย่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะป้องกันปัญหานี้ได้ อย่างไรก็ตามสามารถลดความเสี่ยงได้โดย::
- มีสุขอนามัยและรับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- หลีกเลี่ยงยาที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
บทสรุปของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารและการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลในกระเพาะอาหารหรือการขาดวิตามิน โรคกระเพาะอาหารอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของการอักเสบไม่ว่าจะเป็นเฉียบพลันหรือเรื้อรัง การรักษาอาจเกี่ยวข้องกับ การซื้อยาด้วยตนเองโดยไม่ผ่านการแนะนำของแพทย์ หรือซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ ยาปฏิชีวนะและการเปลี่ยนอาหาร
แหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/gastritis
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gastritis/symptoms-causes/syc-20355807
- https://www.nhs.uk/conditions/gastritis/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก