โรคฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B) คือการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจพบอาการได้ในคนทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ดีโรคฮิบสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
สาเหตุของโรคฮิบ
โรคฮิบแพร่ระบาดจากคนสู่คนผ่านทางละอองฝอยที่ออกมาจากทางเดินหายใจซึ่งจะถูกปล่อยออกมาเมื่อไอ หรือจาม โดยปกติแล้วแบคทีเรียฮิบจะอยู่ภายในจมูก และลำคอของผู้ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ แต่ก็มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะแพร่กระจายไปยังปอด หรือกระแสเลือด ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดภาวะติดเชื้อร้ายแรงในกระแสเลือด ข้อต่อ กระดูก หรือหัวใจ
ใคร ๆ ก็สามารถติดเชื้อแบคทีเรียฮิบได้ แต่เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบจะมีความเสี่ยงสูงกว่า
อาการของโรคฮิบ
อาการของโรคฮิบ หรืออาการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับโรคฮิบจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้ โดยอาการไข้จะเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของการติดเชื้อฮิบ แต่ผู้ป่วยอาจแสดงอาการอื่น ๆ ตามตำแหน่งของร่างกายที่เกิดการติดเชื้อ
ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:
- ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
- คอเคล็ด
- ง่วงนอน หรืออ่อนเพลียอย่างรุนแรง
- หายใจลำบาก
- ภาวะหมดสติ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคฮิบ
หากผู้ป่วยเกิดอาการของโรคฮิบตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อฮิบจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยยังเป็นเด็กเล็ก
ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียฮิบ ได้แก่ :
- การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบมักทำให้มีไข้ ปวดศีรษะ คอเคล็ด คลื่นไส้ และหากอาการรุนแรงสมองอาจถูกทำลายอย่างถาวร และถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ปอดบวม เป็นอาการที่ปอดเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการหายใจ
- การติดเชื้ออย่างรุนแรงบริเวณลิ้นปี่ (กระดูกอ่อนยืดหยุ่นที่ใช้ปิดช่องว่างของเส้นเสียงระหว่างกลืนอาหาร) อาจทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บคอ น้ำลายไหล และหากปัญหาการหายใจรุนแรงขึ้น มักทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก และการอุดตันของทางเดินหายใจ
- โรคไขข้ออักเสบเกิดจากการติดเชื้อบริเวณข้อ ทำให้ข้อต่อบวมแดง รู้สึกเจ็บ และทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก
- เลือดเป็นพิษ หรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
การรักษาโรคฮิบ
ขั้นตอนการรักษาโรคฮิบอาจแตกต่างกันไปตามอาการของผู้ป่วย แพทย์มักจะรักษาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะจนกว่าการติดเชื้อจะหมดไป อย่างไรก็ตามส่วนมากผู้ป่วยมักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพการรักษา และจัดการภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดบวม
การวินิจฉัยโรคฮิบ
แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติสุขภาพ และสอบถามอาการของผู้ป่วย ตรวจร่างกาย และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจสอบ การตรวจของเหลวในไขสันหลังด้วยการใช้เข็มดูดน้ำในไขสันหลังออกมาแล้วนำไปตรวจวินิจัยฉัย หรือการเก็บตัวอย่างอื่น ๆ จากร่างกายผู้ป่วย ในตำแหน่งที่สงสัยว่าเกิดการติดเชื้อ ตัวอย่างที่เก็บไปจะตรวจสอบหาเชื้อฮิบเพื่อวินิจฉัยโรค
การป้องกันโรคฮิบ
วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันตัวจากการติดเชื้อฮิบด้วยการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้ใหญ่ที่มีภาวะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
วัคซีนโรคฮิบสามารถรับร่วมกับวัคซีนโรคอื่น ๆ ได้ หรืออาจรวมกัยเป็นวัคซีนชุดเดียวกันได้ อย่างกรณีการรวมวัคซีนป้องกันโรค 5 หรือ 6 อาการไว้ในการฉีดครั้งเดียวมักเรียกวิธีการฉัดวัคซีนนี้ว่าวัคซีน 5-in-1 หรือ 6-in-1
วัคซีน 5-in-1 จะเป็นการฉีดวัคซีนรวมทั้งโรคคอตีบ ไอกรน (การไอที่มีเสียงหายใจลำบาก) บาดทะยัก (DTaP) โปลิโอ และฮิบในการฉีดครั้งเดียว วัคซีน 6-in-1 จะเป็นการฉีดวัคซีน hip รวมทั้งโรคคอตีบ ไอกรน (การไอที่มีเสียงหายใจลำบาก) บาดทะยัก (DTaP) โปลิโอ ฮิบ และไวรัสตับอักเสบบีในการฉีดครั้งเดียว
เด็กที่อายุมากกว่า 5 ขวบ และผู้ใหญ่ที่แข็งแรงไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนฮิบ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/hib.html
- https://www.nhs.uk/conditions/hib/
- https://kidshealth.org/en/parents/hib.html
- https://www.immune.org.nz/diseases/haemophilus-influenzae-type-b
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก