- โรคไวรัสตับอักเสบ บีคืออะไร
- สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบ บี
- อาการไวรัสตับอักเสบบี
- การแพร่เชื้อ
- โรคไวรัสตับอักเสบ บี รักษาได้ไหม
- การรักษาไวรัสตับอักเสบ บี
- การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบ บี
- ไวรัสตับอักเสบ บีและไวรัสตับอักเสบ ซี
- ไวรัสตับอักเสบ บี ในระหว่างตั้งครรภ์
- ปัจจัยเสี่ยง
- การป้องกัน
- วัคซีน
- ภาวะอันตราย
- นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
โรคไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B) คือโรคที่มีการติดเชื้อของตับ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) สามารถเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่บางแบบก็เป็นชนิดเรื้อรัง ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็งและมะเร็งตับ
ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นโรคที่เป็นที่เป็นห่วงมากที่สุดโรคหนึ่ง ในปี 2015 มีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคตับราวๆ 887,000 รายทั่วโลก
สำหรับผู้ใหญ่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีคือโรคระยะสั้นที่ไม่สร้างความเสียหายแบบถาวร แต่กระนั้้นก็พบว่ามีผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีราว 2-6 เปอร์เซ็นต์ที่เชื้อสามารถพัฒนาเป็นการติดเชื้อชนิดเรื้อรัง และมีโอกาสทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้ในเวลาต่อมา
เด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อไวรัสราว 90 เปอร์เซ็นต์มีโอกาสที่เชื้อจะพัฒนาไปสู่การติดเชื้อชนิดเรื้อรัง
โรคไวรัสตับอักเสบ บีคืออะไร
โรค HBV มีสาเหตุจากการติดเชื้อและเกิดการอักเสบที่ตับ คนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีสามารถแพร่เชื้อไวรัสให้กับคนอื่นได้โดยที่บางทีตัวเองยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีเชื้อด้วยซ้ำไป
บางรายที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ บางรายติดเชื้อแล้วจากนั้นก็หายเองได้ ต่างจากชนิดเรื้อรัง ในรายที่เป็นแบบเรื้อรัง เชื้อไวรัสจะยังคงโจมตีตับอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่สามารถตรวจพบ ส่งผลให้ตับเสียหายแบบไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้
ในปี 2017 มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อ HBV ประมาณ 3,407 ราย โดยยังไม่รวมคนที่ไม่ได้รายงานว่ามีการติดเชื้อ จึงคาดว่าจะมีคนที่ติดเชื้อ HBV แบบเฉียบพลันน่าจะใกล้ๆ 22,100 ราย
สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบ บี
สาเหตุของโรค HBV คือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในร่างกาย
เชื้อไวรัสเกิดขึ้นในเลือดหรือของเหลวในร่างกาย โรค HBV สามารถแพร่เชื้อได้ผ่านน้ำอสุจิ, ของเหลวในช่องคลอดและเลือด และยังสามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกได้ในระหว่างคลอด จากการใช้เข็มร่วมกัน และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันยิ่งเพิ่มความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ
คนที่แพร่เชื้อไวรัสอาจยังไม่รู้ตัวเอง เพราะยังไม่มีอาการใดๆปรากฏให้เห็น
อาการไวรัสตับอักเสบบี
การติดเชื้อ HBV บ่อยครั้งมักเกิดขึ้นในกับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก เป็นเพราะมารดาเป็นคนส่งต่อเชื้อ HBV ให้กับลูกตัวเองในระหว่างการคลอด
อาการของการติดเชื้อ HBV ใหม่ๆอาจยังไม่มีอาการชัดเจนให้เห็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ หรือในผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันกดอยู่ พบว่าประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุระหว่าง 5 ขวบหรือมากกว่านั้นถึงจะเริ่มแสดงสัญญานและอาการออกมาให้เห็น
อาการเฉียบพลันจะเริ่มปรากฎให้เห็นประมาณ 60-150 วันหลังจากสัมผัสเชื้อไวรัส และยังคงมีอาการต่อไปอีกหลายสัปดาห์หรือนานถึง 6 เดือน
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีชนิดเรื้อรังอาจมีอาการปวดท้อง, เหนื่อยล้าตลอดเวลาและปวดข้อต่อยาวนานต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
อาการเบื้องต้น
อาการเบื้องต้นของโรค HBV คือ:
- มีไข้
- ปวดข้อ
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- หมดความอยากอาหาร
- ปวดท้อง
- ปัสสาวะมีสีเข้ม
- อุจจาระมีสีเหมือนดินเหนียว
- เป็นดีซ่าน หรือตาขาวและผิวเป็นสีเหลือง
การแพร่เชื้อ
โรค HBV สามารถแพร่เชื้อผ่านเลือด น้ำอสุจิ หรือของเหลวอื่นๆของร่างกายจากคนที่มีเชื้อไวรัสแล้วแพร่ต่อสู่คนที่ไม่เคยมีเชื้อมาก่อน
การติดเชื้อมักเกิดขึ้นจาก:
- เมื่อมารดาที่มีเชื้อ HBV ให้กำเนิดบุตร
- เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์
- จากการใช้เข็มฉีดยาหรือใช้อุปกรณ์ในการฉีดยาอื่นๆร่วมกัน
- จากการสักลายแท็ตทูที่ไม่มีความปลอดภัย
- จากการใช้อุปกรณ์ด้านสุขอนามัยร่วมกัน เช่นมีดโกนและแปรงสีฟัน
โรค HBV ไม่สามารถแพร่กระจายผ่าน:
- อาหารหรือน้ำ
- การใช้เครื่องใช้ในครัวร่วมกัน
- การให้นมบุตร
- การกอด
- การจูบ
- การจับมือ
- การไอ
- จาม
- แมลงกัดต่อย
เชื้อไวรัสสามารถมีชีวิตรอดอยู่นอกร่างกายได้นานไม่ต่ำกว่า 7 วัน ในช่วงระหว่างนี้หากเข้าสู่ร่างกายของคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันมาก่อนก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้อยู่
โรคไวรัสตับอักเสบ บี รักษาได้ไหม
โรค HBV ไม่สามารถรักษาได้ แต่การได้รับวัคซีนจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
ยาต้านไวรัสสามารถนำมารักษาการติดเชื้อชนิดเรื้อรังได้ หากโรคไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรังเป็นสาเหตุทำให้ตับเสียหายถาวร การปลูกถ่ายตับสามารถช่วยทำให้มีชีวิตได้ยืนยาวมากขึ้น
การรักษาไวรัสตับอักเสบ บี
ไม่มีการรักษาชนิดเจาะจง หรือมียารักษาสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเฉียบพลัน การดูแลจะขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น
การรักษาสำหรับคนที่ถูกสงสัยว่าจะได้รับเชื้อ
ทุกคนที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับเชื้อ HBV มา สามารถใช้มาตรการการป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัสได้
ด้วยการฉีดวัคซีน HBV และ hepatitis B immunoglobin (HBIG) ร่วมกัน โดยแพทย์จะให้เพื่อป้องกันโรคหลังจากการสัมผัสเชื้อมา และให้ก่อนที่จะเกิดการติดเชื้อชนิดเฉียบพลันขึ้น
วิธีนี้ไม่ใช่การรักษาการติดเชื้อที่เป็นมาก่อนแล้ว มาตรการนี้สามารถช่วยลดอัตราการติดเชื้อแบบเฉียบพลันลงได้
การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีชนิดเรื้อรัง
ผู้ที่ป่วยโรคติดเขื้อ HBV ชนิดเรื้อรัง สามารถนำยาต้านไวรัสมาช่วยในการรักษาได้ผลดี
แต่ยาที่ใช้ไม่ได้มีไว้เพื่อการรักษา แต่มีไว้เพื่อหยุดการเกิดซ้ำของไวรัสและเพื่อป้องกันกระบวนการพัฒนาไปสู่โรคตับ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ HBV ชนิดเรื้อรัง โรคสามารถพัฒนาต่อไปเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้อย่างรวดเร็วและไม่มีการเตือนล่วงหน้า และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม โรคมะเร็งตับสามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่เดือนหลังการตรวจพบ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ HBV ชนิดเรื้อรังมีความจำเป็นต้องประเมินผลการรักษาและตรวจอัลตราซาว์นตับทุกๆ 6-12 เดือน การเฝ้าติดตามผลจะช่วยทำให้แพทย์ประเมินได้ว่าตับเสียหายไปถึงขั้นไหนแล้วหรืออาการของโรคจะเริ่มแย่ลงหรือไม่
การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบ บี
คนมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HBVหรือมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องมาจากการติดเชื้อที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย การตรวจคัดกรองเป็นสิ่งที่ควรทำ สำหรับคนที่ติดเชื้อ HBV แล้ว แพทย์อาจจะต้องทำการประเมินความเสียหายของตับ
การตรวจไวรัสตับอักเสบ บี
การตรวจเลือดสามารถช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นการติดเชื้อแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้
หากผลการตรวจพบยืนยันว่ามีการติดเชื้อ HBV จริง แพทย์อาจจะขอตรวจเลือดเพิ่มเพื่อให้แน่ใจในเรื่องดังต่อไปนี้:
- เพื่อดูว่าเป็นการติดเชื้อ HBV เป็นชนิดเฉียบพลันหรือเป็นชนิดเรื้อรังขั้นไหน
- ดูความเสี่ยงต่อการเสียหายของตับ
- มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่
แพทย์จะนัดผู้ป่วยที่เป็นโรค HBV ชนิดเรื้อรังมารับการตรวจเป็นระยะๆ ว่าโรคดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้ว เพราะตัวโรคสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
ไวรัสตับอักเสบ บีและไวรัสตับอักเสบ ซี
ไวรัสตับอักเสบมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละแบบ โรค HBV และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) ต่างมีทั้งแบบชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังเหมือนกันทั้งสองโรค
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างโรค HBV กับ โรค HCV หลักๆคือวิธีการแพร่เชื้อจากคนสู่คน ถึงแม้จะพบว่าโรค HCV สามารถแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ก็จริงแต่พบได้น้อยมาก โรค HCV มักแพร่เชื้อผ่านเลือดที่ติดเชื้อมาสัมผัสกับเลือดที่ยังไม่มีการติดเชื้อมากกว่า
ไวรัสตับอักเสบ บี ในระหว่างตั้งครรภ์
หากหญิงที่เป็นโรค HBVเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น พวกเขาจะสามารถส่งต่อเชื้อไปยังลูกได้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
เด็กแรกเกิดควรได้รับการฉีดวัคซีน HBV และ HBIG ภายใน12-24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค HBV
การฉีดวัคซีค HBV มีความปลอดภัยสำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
ปัจจัยเสี่ยง
คนที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค:
- เด็กทารกที่เกิดจากแม่ที่ตืดเชื้อ HBV
- คู่นอนมีเชื้อ HBV
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันและเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกันเอง
- ผู้ที่ฉีดยาเสพติด
- ผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ที่ติดเชื้อ HBV ชนิดเรื้อรัง
- ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากร่างกาย
- ผู้ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการรักษาโรคไต
- ผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่นผู้ที่รับการรักษาเคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง
- ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเอดส์
- ผู้หญิงทุกคนในระหว่างตั้งครรภ์
การป้องกัน
เราสามารถป้องกันการติดเชื้อ HBV ได้โดย:
- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องทำงานในสถานที่ดูแลผู้ป่วย
- ไม่ใช่เข็มฉีดยาร่วมกัน
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
- ทำความสะอาดบริเวณที่เลือดหยด หก หรือเลือดแห้งด้วยการสวมถุงมือยางทุกครั้ง
วัคซีน
วัคซีนต้านเชื้อ HBV มีมาตั้งแต่ปี 1982
ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนคือ:
- เด็กแรกเกิดทุกคน เด็กและเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
- ผู้ที่ต้องทำงานดูแลใกล้ชิดผู้ป่วย
- คนที่มีโอกาสสัมผัสเลือดและผลิตภัณฑ์เลือดผ่านการทำงานหรือการดูแล
- ผู้ที่ต้องมีการฟอกเลือดและมีการปลูกถ่ายอวัยวะ
- คนที่ต้องใช้เข็มฉีดยา
- ผู้ที่ต้องอยู่ร่วมหรือต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HBV ชนิดเรื้อรัง
- คนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบเชื้อ HBV ได้ทั่วไป
ตารางการฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีน HBV จะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม เข็มแรกสามารถรับเมื่ออายุเท่าไรก็ได้ แต่สำหรับทารกจะได้รับการฉีดเข็มแรกทันทีหลังคลอด เข็มที่สองควรห่างอย่างน้อย 1 เดือนหลังจากฉีดเข็มแรก
สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดเข็มที่ 3 หลังจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ และ 16 สัปดาห์หลังจากเข็มแรก ส่วนเด็กแรกเกิดไม่ควรได้รับเข็มที่ 3 ก่อนอายุครบ 24 อาทิตย์
ผลข้างเคียง
คนส่วนใหญ่มักมีความสามารถทนต่อวัคซีนได้ดี
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการฉีดวัคซีน HBV คือมีไข้ และเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีน บางรายอาจมีอาการบวม มีรอยแดงและผิวบริเวณที่ฉีดมีความแข็ง
การฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงที่เรียกว่าภาวะแพ้ชนิดรุนแรง ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก
ภาวะอันตราย
การติดเชื้อ HBV ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่น:
- โรคตับแข็ง มีสาเหตุมาจากการเกิดแผลที่ตับและการทำงานของตับถูกยับยั้ง นำไปสู่ภาวะตับวาย
- ตับวาย เป็นภาวะโรคตับขั้นสุดท้าย เป็นขั้นที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีระยะเวลายาวก็ได้ เป็นขั้นที่ตับจะไม่สามารถทำงานได้อีกแล้ว
- มะเร็งตับ การติดเชื้อ HBV ชนิดเรื้อรังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งตับ
ถึงแม้ว่า โรค HBV จะเป็นโรคที่น่ากังวลสำหรับทั่วโลก แต่การได้รับวัคซีนก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิผล
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-b/symptoms-causes/syc-20366802
- https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/bfaq.htm
- https://www.healthline.com/health/hepatitis-b
- https://www.webmd.com/hepatitis/digestive-diseases-hepatitis-b
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก