โรคตับโต (Hepatomegaly) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคตับโต (Hepatomegaly) : อาการ สาเหตุ การรักษา

22.02
39922
0

ภาวะตับโต (Hepatonegaly) คือ ภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติ อาการของโรคมักมาจากโรคอื่นมากกว่าอาการจากตับโตเอง ในบางครั้งภาวะตับโตอาจมีอาการร่วมกับโรคอื่นๆได้

ตับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่ขับสารพิษออกจากเลือด เป็นอวัยวะหนึ่งของระบบการย่อยอาหาร และช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนและคอเรสเตอรอล นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ที่จำเป็นอีกมากกว่า 500 อย่าง

สาเหตุของภาวะตับโต

สาเหตุของภาวะตับโตมีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจาก

  • ไวรัสตับอักเสบ: ไวรัสตับอักเสบคือโรคที่ตับเกิดการอักเสบ มาจากการติดเชื้อไวรัสหรือตับถูกทำลายจากการดื่มแอลกอฮอล์มาก โรคอาจเกิดระยะสั้น (ชนิดเฉียบพลัน) หรือระยะยาว (ชนิดเรื้อรัง)

  • โรคตับจากแอลกอฮอล์ (ALD) :การบริโภคแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปสามารถก่อให้เกิดเซลล์ไขมันสะสมในตับ แพทย์เรียกภาวะนี้ว่าโรคไขมันคั่งสะสมในตับ โรคนี้จะไปแทรกแซงความสามารถของตับในการทำหน้าที่ที่สำคัญ ในรายที่เป็นโรครุนแรง โรค ALD อาจนำไปสู่ภาวะตับเป็นแผลเป็นขั้นรุนแรง หรือภาวะตับแข็ง

  • ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (NAFLD) โรคนี้เป็นโรคลักษณะเดียวกับโรคไขมันคั่งสะสมในตับและสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของตับ ต่างจากโรคตับจากแอลกอฮอล์ ชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป แต่โรคนี้เกิดร่วมกับโรคอื่นๆเช่นโรคเบาหวานหรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอลเลสเตอรอลสูง

  • โรคมะเร็งตับ: โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในตับช่วงแรกรู้จักกันดีว่าเป็นมะเร็งตับระยะปฐมภูมิ เมื่อโรคขยายจากตับไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายเราเรียกว่ามะเร็งตับระยะทุติยภูมิ

  • โรคหัวใจล้มเหลว: หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับคือหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่ตับ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดมาจากการไหลเวียนโลหิตมีปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงดันของในหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปสามารถนำไปสู่การขยายโตขึ้นของตับ แพทย์บางท่านอาจอ้างอิงโรคตับจากโรคหัวใจว่าเป็นโรค cardiac liver

อาการตับโต

ภาวะตับโต คือ โรคที่ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น อาการเบื้องต้นของโรคที่เกิดขึ้นมักไม่ได้มาจากตัวโรคเอง

เมื่อตับมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกแน่นบริเวณด้านขวาของร่างกาย หรืออาจรู้สึกไม่สบายตัว ผู้ที่ตับโตอาการอาจจะมีปัญหาดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้

  • เหนื่อยล้า

  • มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • มีไข้สูง

โรคไขมันคั่งสะสมในตับ

โรคไขมันคั่งสะสมในตับ คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในตับพบได้ทั่วไป ปกติแล้วตับไม่ได้เป็นที่เก็บไขมัน แต่ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้

  • โรคอ้วน

  • ไขมันในเลือดสูง

  • มีภาวะต้านอินซูลิน

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • กลุ่มความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุรา

  • โรคตับอักเสบซี (Hepatitis C)

ภาวะคั่งไขมันสะสมในตับมีอยู่ 4 ระดับ แต่ละระดับขึ้นอยู่เปอร์เซ็นต์ของเซลล์ไขมันที่ตับ

แบ่งออกเป็นระดับดังต่อไปนี้:

  • ระดับ 0: มีปริมาณเซลล์ไขมันประกอบรวม 0-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมของตับทั้งหมด

  • ระดับ 1 (เล็กน้อย) มีปริมาณเซลล์ไขมันประกอบรวม 5-33 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมของตับทั้งหมด

  • ระดับ 2 (ปานกลาง) มีปริมาณเซลล์ไขมันประกอบรวม 34-66 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมของตับทั้งหมด

  • ระดับ 3 (รุนแรง)  มีปริมาณเซลล์ไขมันประกอบมากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมของตับทั้งหมด

การวินิจฉัยโรคตับโต

แพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีการเหล่านี้

  • ซักประวัติโรคประจำตัว
  • จับหรือเคาะเบาๆที่หน้าท้อง เพื่อดูขนาดและความแข็งของตับและลองตรวจสอบว่ามีความอ่อนไหวต่อการสัมผัสหรือไม่
  • สั่งตรวจสอบเลือดเพื่อมองหาภาวะการติดเชื้อและเพื่อเช็คระดับเอมไซม์ตับ
  • สั่งตรวจสอบทางภาพถ่ายเช่น ซีทีสแกน อัลตราซาว์น หรือทำMRI
  • นำตัวอย่างหรือตัดชิ้นเนื้อตับส่งตรวจเพื่อนำมาวิเคราะ
Hepatomegaly

การรักษาโรคตับโต

การรักษาโรคตับโตเป็นการรักษาที่สาเหตุพื้นฐาน สาเหตุที่เป็นไปได้มีดังนี้

ไวรัสตับอักเสบ

การรักษาไวรัสตับอักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสตับที่ผู้ป่วยเป็น ตามชนิดและการรักษาที่แตกต่างกัน

  • ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A) : ไม่มีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับไวรัสตับเอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นจะสามารถกลับมาหายเต็มที่ภายในหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

  • ไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B): ไม่มีการรักษาสำหรับไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลัน การรักษาสำหรับไวรัสตับบีเรื้อรังคือการนำยาต้านไวรัสมาใช้เพื่อลดความเสียหายของตับและยืดระยะการอยู่รอดให้เพิ่มขึ้น

  • ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C): การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาที่เรียกว่ายาต้านไวรัสตับอักเสบซี  การรักษารูปแบบนี้ใช้เวลา 12-24 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่าตับมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน

  • ไวรัสตับอักเสบ ดี (Hepatitis D): ผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบดีต้องการการรักษาด้วย pegylated interferon-alpha ยาตัวนี้จะไปช่วยชะลอการดำเนินโรคได้ ซึ่งเมื่อโรคตับมาถึงช่วงระยะสุดท้ายอาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายตับใหม่

โรคตับจากแอลกอร์ฮอล์ ALD

การรักษาสำหรับโรค ALD จะรวมไปถึงการรักษาภาวะกลุ่มความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุราด้วย โดยปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามนี้:

  • ด้วยการล้างพิษ

  • พฤติกรรมลบำบัด เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ

  • บำบัดแบบครอบครัว

  • บำบัดกลุ่ม

  • การรักษาด้วยการพัฒนาการดูแลสุขภาพจิตในผู้ป่วยฝ่ายกาย

ภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์NAFLD

การดูแลสำหรับ NAFLD ขึ้นอยู่กับส่วนที่เป็นสาเหตุของโรค การรักษาที่อาจเป็นไปได้เช่น

  • เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับประทานอาหาร ซึ่งรวมไปถึงการลดการบริโภคอาหารชนิดไขมันและคอเรสเตอรอลลง

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • จัดการโรคที่เป็นอยู่ เช่นกาลลดระดับอินซูลินและโรคเบาหวานประเภท 2

โรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งตับขึ้นอยู่ว่าตอนนี้เป็นมะเร็งในระยะปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ปัจจัยที่ถูกนำเอามาพิจารณารวมไปถึงขนาด และระยะของโรคมะเร็ง ทางเลือกในการรักษาเช่น

  • การทำเคมีบำบัด

  • การฉายรังสี

  • การบำบัดระบบภูมิคุ้มกัน

  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้องอกออก

  • การเปลี่ยนถ่ายตับ

หัวใจล้มเหลว

ถึงแม้จะไม่สามารถรักษาโรคหัวใจล้มเหลวได้ แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมก็จะสามารถช่วยจัดการกับโรคได้ และยังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้โดย

  • เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น:

    • เลิกสูบบุหรี่

    • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

    • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดจำนวนคาเฟอีน

    • ลดความเครียด

    • ลดน้ำหนักหากมีความจำเป็น

    • เริ่มออกกำลังกาย

    • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

  • รับประทานยา เช่น:

    • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม angiotensin-converting enzyme

    • กลุ่มยาต้านตัวรับแองจิโอเทนซิน angiotensin 2 receptor blockers

    • ยาปิดกั้น beta-blockers

    • ยาขับปัสสาวะdiuretics

  • ผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติหรือหลอดเลือดอุดตัน

ภาวะตับโตในหญิงตั้งครรภ์

ผู้หญิงบางรายอาจประสบโรคตับโตในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุของตับโตในระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อย่างรุนแรงได้

ในทารกแรกเกิด หากเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจทำให้มีความรุนแรงหรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ พบว่าราวๆ 90 เปอร์เซ็นต์ของหญิงที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลันจะส่งเชื้อต่อสู่ทารก แต่ความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อจะต่ำหากเป็นไวรัสอักเสบบีแบบเรื้อรัง พบว่ามีเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะส่งเชื้อต่อสู่ทารก

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ ALD หรือ NAFLD จะมีความเสียงเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาโรคตับโต และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

ภาวะตับโตในเด็ก

เด็กจะมีภาวะโรคตับโตได้ต้องเป็นผลมาจากตับโตแบบ NAFLD หรือโรคไขมันคั่งในตับแบบไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

เด็กที่เป็นโรคดังกล่าวมักไม่ค่อยปรากฏอาการใดๆ เมื่ออาการแสดงขึ้นมาเด็กจะรู้สึกเหนื่อยล้า และรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณช่องท้องส่วนบนด้านขวา

ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดสำหรับโรค NAFLD ในเด็ก แต่อย่างไรก็ตามอาจเกิดโรคดังกล่าวในเด็กตามมาเช่น

  • โรคอ้วน

  • โรค high lipid disorder

  • เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน

  • โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หรือ ภาวะก่อนเบาหวาน

  • ไวรัสตับอักเสบซี

ภาวะตับโตควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ภาวะตับโตมักไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ โรคตับอาจนำไปสู่ภาวะตับโตที่สามารถดำเนินโรคไปได้โดยไม่มีอาการใดๆแสดงให้เห็น

ควรพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกถึงอาการที่ตับโตขึ้น

  • มีโรคประจำตัวที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาโรคตับ

การเฝ้าระวังโรคตับโต

การเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะตับโตจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของตับโต และความเสียหายของตับ

ผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันมักสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

ผู้ป่วยที่เป็นโรค NAFLD ในระยะแรกเริ่ม อาจเฝ้าระวังได้ ตับที่ถูกทำลายไม่มากจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หากผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่

ผู้ป่วยที่ตับเสียหายจากรูปแบบอื่นๆ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเฝ้าระวังโดยเฉพาะ

การป้องกันภาวะตับโต

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะตับโต คือ การดูแลตับของตนเอง สามารถปฏิบัติตามได้ดังต่อไปนี้

  • ใช้ยาเท่าที่มีความจำเป็น และไม่ใช่ยาสลับไปมาเองเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

  • ควรบริโภคแอลกอฮฮล์ให้น้อยหรือเลิกดื่ม

  • จำกัดการสัมผัสสารพิษ เช่น สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และสี

  • ไม่ใช้อุปกรณ์ตัดผมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกนหรือแหนบ

  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยาง

  • รับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ ลดไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

บทสรุป

ภาวะตับโตเป็นโรคที่ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น มีอาการจากโรคแต่ไม่ใช่อาการของตัวโรคเอง

บางโรคสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะตับโตขึ้น รวมไปถึงโรคไขมันในตับ โรคมีปัญหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ โรคไวรัสตับอักเสบ และโรคมะเร็ง

ผู้ป่วยอาจมีภาวะตับโต และไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามหากพบว่า ตับมีการโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยจะต้องมีอาการไม่สบายตัว หรือแน่นบริเวณช่องท้องส่วนบนด้านขวา

โรคตับบางชนิดสามารถรักษาหายได้หากมีการตรวจพบ และทำการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น หากรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตับ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และได้รับการรักษาที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *